(0)
วัดใจ เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. ปี 2530 เนื้อกะหลั่ยทอง






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. ปี 2530 เนื้อกะหลั่ยทอง
รายละเอียดเหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"
เหรียญพระชัยหลังช้าง เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532 และ เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์ แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม
ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง นี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป
พระเครื่องและเหรียญที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 เหรียญพระชัยหลังช้าง มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์ ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วย เหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน
พุทธาภิเษกใหญ่ ครั้งแรก วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๓๐ เวลา ๑๓ .๑๙ น.
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้ว โดยมี ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานดับเทียนชัย มีพระภาวนาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน ๕๙ รูป นั่งปรกบริกรรมพระคาถา และเจริญสมาธิภาวนาเป็นเวลาติดต่อกันกว่า ๕ ชั่วโมง
ประธานจุดเทียนชัย สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตรฯ กรุงเทพฯ
ประธานดับเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจริญพระพุทธมนต์
สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ( กรุงเทพฯ )
สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร ( กรุงเทพฯ )
สมเด็จพระธีรญานมุนี วัดปทุมคงคา ( กรุงเทพฯ )
พระวิสุทธาบดี วัดไตรมิตรวิทยาราม ( กรุงเทพฯ )
พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดราชบพิตรฯ ( กรุงเทพฯ )
พระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิตร ( กรุงเทพฯ )
พระพรหมคุณาภรณ์ วัดสระเกศฯ ( กรุงเทพฯ )
พระพรหมมุณี วัดนรนาถฯ ( กรุงเทพฯ )
พระธรรมปิฎก วัดชนะสงคราม ( กรุงเทพฯ )
พระธรรมดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร ( กรุงเทพฯ )
พระมหานาค ๔ รูปสวดพุทธาภิเษก
พระครูพิทักษ์ธุรกิจ วัดบวรนิเวศวิหาร ( กรุงเทพฯ )
พระมหาถาวร วัดบวรนิเวศวิหาร ( กรุงเทพฯ )
พระมหาแสวง วัดบวรนิเวศวิหาร ( กรุงเทพฯ )
พระอาจารย์เสน่ห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ( กรุงเทพฯ )
พระมหานาค ๔ รูป สวดภาณวาร สวดจตุเวสทิพยมนต์
พระครูศรีชยาภรณ์ วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระครูศัพทสุนทร วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระมหานิพนธ์ ( เขมโก ) วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระมหาสุนทร ( ญานสุนทโร ) วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระนั่งภาวนาจารย์ สวดบริกรรม
พระญานโพธิ ( เข็ม ) วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระครูอมรโฆษิต ( จันทร์) วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศน์ฯ ( กรุงเทพฯ )
พระโพธิญานเถระ วัดโพธินิมิตร ( กรุงเทพฯ )
พระเทพศีลวิสุทธ์ วัดอรุณฯ ( กรุงเทพฯ )
พระโสภณวราภรณ์ วัดอรุณฯ ( กรุงเทพฯ )
พระญานสมโพธิ์ ( ขวัญ ) วัดอรุณฯ ( กรุงเทพฯ )
พระอาจารย์เพิ่ม ( สุวโจ ) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ( กรุงเทพฯ )
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน ( กรุงเทพฯ )
พระครูปริยัติคุณาธาร ( อัมพร ) วัดชนะสงคราม ( กรุงเทพฯ )
พระปริยัติมุนี ( ชูศักดิ์ ) วัดหงส์รัตนาราม ( กรุงเทพฯ )
พระสิริวัฒน์วิสุทธิ์ วัดราชผาติการาม ( กรุงเทพฯ )
พระครูภาวนานุวัตร วัดปากน้ำ ( กรุงเทพฯ )
พระวัชรธรรมาภรณ์ วัดตรีทศเทพฯ ( กรุงเทพฯ )
พระครูสันติวรญาน ( สิม ) วัดถ้ำผาปล่อง ( เชียงใหม่ )
พระครูพนมสมณกิจ ( บัว ) วัดหลักศิลา ( นครพนม )
พระครูธรรมกิจโกศล ( นอง ) วัดทรายขาว ( ปัตตานี )
พระครูปลัดสัมพิพัททตญาณาจารย์ วัดรัตนวราราม ( พะเยา )
พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วัดป่าอุดมสมพร
พระครูกิตติวัฒนคุณ ( เพิ่ม ) วัดวชิราลงกรณ์ฯ ( นครราชสีมา )
พระอุดมสังวรเถร ( อุตตะมะ ) วัดวังค์วิเวการาม ( กาญจนบุรี )
พระครูญานวรกิจ ( กล้วย ) วัดหมูคุต ( จันทบุรี )
หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ( ฉะเชิงเทรา )
หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ( ฉะเชิงเทรา )
หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ( ชลบุรี )
หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ( ชลบุรี )
หลวงปู่ทองอินทร์ วัดหนองเกตุใหญ่ ( ชลบุรี )
พระครูนนทวรคุณ ( เกิน ) วัดบางค้อ ( นนทบุรี )
พระครูนนทนสมณวัตร ( เหรียญ ) วัดบางระหง ( นนทบุรี )
พระเทพญานกวี วัดเขมาภิรตาราม ( นนทบุรี )
พระราชโมลี วัดทินกรนิมิต ( นนทบุรี )
พระครูนนทวัตรวิบูลย์ วัดบางอ้อยช้าง ( นนทบุรี )
พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย ( นนทบุรี )
พระครูฐาปนกิจสุนทร ( เปิ่น ) วัดบางพระ ( นครปฐม )
พระครูเกษมนวกิจ ( เต้า ) วัดเกาะวังไทร ( นครปฐม )
พระครูปริมานุรักษ์ วัดไผ่ล้อม ( นครปฐม )
พระครูเกษมธรรมนันท์ ( แช่ม ) วัดดอนยายหอม ( นครปฐม )
พระครูสาธุกิจวิมล ( เล็ก ) วัดหนองดินแดง ( นครปฐม )
หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ( นครปฐม )
พระครูวิเศษภัทรกิจ ( ทองใบ ) วัดสายไหม ( นครปฐม )
พระครูสาธรพัฒนกิจ ( ลมูล ) วัดเสด็จ ( ปทุมธานี )
พระวินัยโสภณ วัดจันทรกระพ้อ ( ปทุมธานี )
พระอาจารย์ชื้น พุทธสาโร วัดญานเสน ( อยุธยา )
พระอดุลธรรมเวที วัดบรมวงศ์ ( อยุธยา )
พระครูสิริปุญญาทร วัดตูม ( อยุธยา )
พระครูสังฆรักษ์ ( เฉลิม ) วัดพระญาติฯ ( อยุธยา )
พระราชวรานุวัตร วัดนิเวศธรรมประวัติ ( อยุธยา )
พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ ( อยุธยา )
พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ ( ทองอยู่ ) วัดท่าเสา ( สมุทรสาคร )
พระครูโกวิทสมุทรคุณ วัดจุฬมณี ( สมุทรสงคราม )
พระครูสมุทรวิจารย์ ( คลี่ ) วัดประชาโฆษิตาราม( สมุทรสงคราม )
พระครูสมุทรธรรมกิจ ( หยอด ) วัดแก้วเจริญ ( สมุทรสงคราม )
พระครูภาวนาวิสุทธิ์ วัดอัมพวัน ( สิงห์บุรี )
หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกระเฌอ ( ชลบุรี ) ◄
► พุทธาภิเษกใหญ่ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๐
มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร
สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์
หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง
หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง
หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง
พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี
พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม
หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี
พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม
พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน120 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ก.ย. 2560 - 00:40:29 น.
วันปิดประมูล - 12 ก.ย. 2560 - 22:18:10 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลseenuanchai (1.2K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     120 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    top99 (274)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1