ชื่อพระเครื่อง | พระนางพิชัย กรุบึงสามพัน จ.อุตรดิตถ์ |
รายละเอียด | เมืองพิชัยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายาวนานซื่งปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยได้มีการบันทึกไว้ว่าเมืองพิชัยเป็น 1 ใน 16 หัวเมืองตั้งแต่ครั้งสถาปนากรุงศรีอยุธยา ก็แสดงว่าเมืองพิชัยจะต้องมีชุมชนในระดับหมู่บ้าน จนขยายเป็นชุมชนเมืองไปทางทิศตะวันออกของที่ตั้งชุมชนเดิมตั้งแต่ก่อนการสร้างกําแพงเมืองพิชัยในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่3 ถึงแม้ว่าหลักฐานที่เป็นโบราณสถานในตัวเมืองพิชัยเดิมจะไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบได้อย่างแน่ชัด แต่ก็ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบศิลปะของอยุธยาที่แผ่อิทธิพลมายังเมืองพิชัย เช่น เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองของวัดมหาธาตุ โดยหากพิจารณาจากรูปแบบศิลปะ จะเห็นได้ถึงศิลปะอยุธยาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 - 24 อีกทั้งพระพิมพ์ดุนทอง(พระพิมพ์ขนาดต่างๆ ที่มีแผ่นทองดุนนูนเป็นลวดลายทางพุทธศิลปะ)ที่พบในบริเวณวัดหน้าพระธาตุ ก็แสดงถึงศิลปะอู่ทองในยุตต่อมา ถึงแม้ว่าจะรับอิทธิพลจากฝีมือช่างท้องถิ่นแต่ลักษณะทางประติมาณวิทยาก็มีลักษณะที่แสดงถึงศิลปะแบบอู่ทองของอยุธยาได้ค่อนข้างชัดเจน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองพิชัยเป็นเมืองที่มีความสําคัญในฐานะที่เมืองพิชัยเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองพระพิษณุโลกสองแคว ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นราชธานีอีกเมืองหนึ่งในฝ่ายเหนือ โดยมีหลักฐานระบุไว้ในพระอัยการตําแหน่งนาหัวเมือง เมืองพิชัยจัดเป็นเมืองชั้นตรี มีศักด์ศรีและสิทธิเทียบเท่ากันกับเมืองพิจิตร เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ มีออกญาพิชัยเป็นเจ้าเมือง มีเมืองขึ้น หรือเมืองบริวารคือเมืองฝาง และเมืองบกโพหรือตัวอําเภอเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน
ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 บกโพท่าอิฐเป็นทำเลการค้าที่รุ่งเรือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นกับเมืองพิชัย หลังจากนั้นเป็นต้นมาราษฎรได้อพยพจากเมืองพิชัยมาค้าขายที่เมืองอุตรดิตถ์มากขึ้น จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก ทั้งให้รวมเมืองพิจิตร และเมืองอุตรดิตถ์ มาขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมื่อราษฎรย้ายจากเมืองพิชัยมามาก รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพิชัยมาอยู่ที่เมืองบกโพท่าอิฐ ริมน้ำน่าน และให้เรียกว่าเมืองพิชัย ต่อมาพิชัยเดิมถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ และขนานนามเมืองพิชัยใหม่ว่า "อุตรดิตถ์" จนถึงทุกวันนี้
พระเครื่องที่พบจากกรุในบริเวณเมืองพิชัยนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่บ้านโคน อำเภอพิชัยในปัจุบัน เป็นพระเนื้อดิน เนื้อค่อนข้างละเอียดแห้งผากและค่อนข้างแกร่ง ส่วนมากแทบไม่มีกรวดในเนื้อพระ ที่มีและเคยพบค่อนข้างน้อย บางองค์มีคราบรารักจากความชื้นในกรุ แต่หากผิวพระถูกสัมผัสจับต้อง หรือผ่าการอาราธนา ใช้มาแบบโชกโชน แบบถึงเนื้อถึงหนังแล้ว เนื้อหาจะจัดหนึกนุ่มเป็นมันวาว คล้ายคลึงกับพระเนื้อดินของเมืองกำแพงเพชรชากังราวยังไงยังนั้น จนมีหนังสือพระรุ่นเก่าเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว เคยลงพระบางพิมพ์ของกรุนี้เป็นพระกำแพงมาแล้ว หนึ่งในพระพิมพ์ยอดนิยมที่มีชื่อเสียงมานาน นอกเหนือจากพระพิมพ์ชินราช ที่เรียกกันทั่วไปพระชินราชบึงสามพัน พระพิมพ์พระสาม และพืมพ์พุทธลีลาแล้ว เห็นจะเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกจากพระพิมพ์นางพญา อันเป็นรูปพระพิมพ์ขนาดเล็ก แสดงพุทธกิริยาปางมารวิชัย ในกรอบรูปสามเหลี่ยมที่เรียกกันว่า พระนางพิชัย หรือ พระนางพญา กรุเมืองพิชัย นั่นเองพระนางพิชัยนี้ แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ ได้แก่พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ที่มีพุทธลักษณะและเนื้อหาใกล้เคียงกันทุกประการหากแตกต่างเล็กน้อยกันที่ขนาดของกรอบสามเหลี่ยม และขนาดขององค์พระเท่านั้น แต่พระพิมพ์เล็กมีขึ้นจากกรุน้อยกว่าพระพิมพ์ใหญ่มาก
พระนางพิชัย หรือ พระนางพญา กรุเมืองพิชัย จากหลักฐานที่พอสืบค้นได้เชื่อว่าแตกกรุ จากสถานที่ 3 แห่งใหญ่ ๆ ด้วยกัน อันได้แก่ บริเวณวัดพญาแมน กรุบึงสามพัน และในใต้ฐานชุกชีของ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านประจำเมืองภายในอำเภอพิชัยนั่นเอง พระทั้ง 3 กรุนี้ เชื่อว่าสร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกัน คือร่วมสมัยเดียวกันกับพระนางพญาแห่งเมืองพิษณุโลกในยุคอยุธยาแต่แยกกันบรรจุกรุกันต่างสถานที่ ด้วยพุทธศิลป์และพุทธลักษณะที่ใกล้เคียงตล้ายคลึงกัน ทั้งพุทธคุณที่มีทั้งคงกระพัน มหาอำนาจ เมตตามหานิยมแบบเดียวกันพระนางพญาแห่งเมืองสองแควทุกประการ |
ราคาเปิดประมูล | 800 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 830 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 30 บาท |
วันเปิดประมูล | - 06 พ.ย. 2560 - 14:07:21 น. |
วันปิดประมูล | - 08 พ.ย. 2560 - 18:45:07 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | นครเมืองเก่า (1.6K)
|