(0)
เหรียญนั่งพาน ยันต์เกาะเพชร หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ปี2537 ไม่ทราบเนื้อ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญนั่งพาน ยันต์เกาะเพชร หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ปี2537 ไม่ทราบเนื้อ
รายละเอียดหลวงพ่อมี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ. อยุธยา

ท่านพระครูเกษมคณาภิบาล หรือหลวงพ่อมี เขมธัมโม มีชื่อเดิมเต็ม ๆ ว่า “บุญมี” ถือกำเนิดในตระกูล “ธนสนธิ์” ชื่อของท่านโยมบิดามารดาสมมตินามขึ้นเพื่อเรียกขาน อันมีความหมายถึง “การมีกุศลแห่งความสุข ที่ร่ำรวยมีอันจะกินมิได้ขาด” มาปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกนามองค์ท่านแบบสั้น ๆ ว่า “หลวงพ่อมี” จนติดปากกันมาจวบปัจจุบัน ถือเป็นมงคลนามอย่างใหญ่หลวง เมื่อองค์ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บำเพ็ญบารมีธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนนามกระเดื่องประกาศกิตติคุณให้สานุศิษย์และชนชาวไทยทั่วแคว้นได้ประจักษ์โดยถ้วนทั่วกัน
โยมบิดานาม นายโหมด
โยมมารดานาม นางพุฒ
หลวงพ่อมี ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน ณ หมู่บ้านขนมจีน ข้างวัดมารวิชัยตอนใต้ หลวงพ่อมีเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องท้องเดียวกัน 5 คนดังนี้
1. หมอแบน
2. นายจุ่น
3. นางสำลี
4. หลวงพ่อมี เขมธัมโม
5. นายสำแล
เมื่อปฐมวัย
ในวัยเด็ก หลวงพ่อมี เป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก ท่านมีโรคประจำตัวเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ เรียกว่า สามวันดีสี่วันไข้ไม่ว่าอากาศจะร้อนนิดหนาวหน่อยก็ป่วย ถ้าอากาศร้อนขึ้นก็จะเกิดอาการชักขนาดถูกแมวหรือสุนัขชนถูกตัวเท่านั้นก็ชักแล้ว ดังนั้น หลวงพ่อมี จึงเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอมโซ แบบเด็กพุงโรก้นปอด เหมือนเป็นตาลขโมยไม่มีผิด ลักษณะเซื่อง ๆ ซึม ๆ ขี้อาย ไม่ช่างพูดและไม่เล่นหัวเหมือนกับเด็กชาวบ้านโดยทั่วไป คล้าย ๆ กับเป็นเสมือนปัญญาอ่อน เหล่านี้คือบุคลิกของหลวงพ่อมีในวัยเด็ก ซึ่งปราศจากวี่แววแห่งความรุ่งโรจน์ของชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะมองไปในแง่ใด ตามสายตาที่แสดงความเป็นห่วงของญาติผู้ใหญ่และชาวบ้านข้างเคียงทั้งปวง

คุณสมบัติพิเศษ
ธรรมชาติสร้างสรรค์มนุษย์ให้เกิดมา ถ้าจะว่ากันแล้วก็ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม มีดีก็มีชั่ว มีขาดต้องมีเกิน เหมือนดังตัวอย่างในวัยเด็กของหลวงพ่อมี ที่ไม่มีผู้ใดสามารถคาดการณ์อนาคตของท่านว่าจะเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้กล่าวคือ หลวงพ่อมี มีคุณสมบัติพิเศษที่ผิดแปลกไปจากเด็กชาวบ้านธรรมดา ๆ ตรงที่ท่านเป็นเด็กที่มีใจบุญสุนทาน ชอบติดตามบิดามารดาเข้าวัด ถ้าถูกห้ามปรามไม่ให้ตามไปด้วยจะต้องร้องไห้คร่ำครวญจนถึงกับชักตาตั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องอัศจรรย์อยู่ไม่น้อยที่เด็กเซื่องซึมคล้ายปัญญาอ่อนจะมีความกระตือรือร้นในการไปวัด อันเป็นการส่อแววการเป็นเกจิอาจารย์ของหลวงพ่อมีมาแล้วตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ดังนั้น เมื่อพี่ชายคนโต คือ หมอแบนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมี ขณะนั้นมีอายุเพียง 12 ปี จึงขอบิดามารดาติดตามพระพี่ชายมาอยู่ด้วยทันที (ภายหลัง พระพี่ชายลาสิกขาแล้ว ได้เป็นแพทย์ประจำตำบล ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หมอแบน”) ในตอนแรกบรรดาญาติผู้ใหญ่ไม่มีผู้ใดยอมให้หลวงพ่อมีที่มีลักษณะปัญญาอ่อนไปอยู่ด้วย เพราะเกรงจะเป็นภาระให้กับพระพี่ชายที่เพิ่งอุปสมบทใหม่ ๆ
หลวงพ่อมีจึงร้องไห้และเกิดชักขึ้น จนทุกคนต้องตามใจให้ไปอยู่กับพระแบนที่วัดมารวิชัย ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี บัดนั้นเป็นต้นมา
สติปัญญากลับปราดเปรื่อง
เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากจริง ๆ ตั้งแต่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดมารวิชัยแล้ว ลักษณะอาการที่โง่งมประดุจเด็กปัญญาอ่อนและขี้โรค กลับกลายเป็นตรงกันข้าม อาการขี้โรคต่าง ๆ หายดังปลิดทิ้งไม่เคยมีอาการชักอีกเลย สติปัญญาที่ใคร ๆ มองกันว่าทึบ ก็กลับปราดเปรื่องสามารถศึกษาอักขระสมัย ทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับหลวงพี่แบนและได้รับการแนะนำสั่งสอนจากครูเยื้อน ซึ่งเป็นบุตรของอา จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน จนหลวงพ่อมีสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว นั่นเป็นที่แปลกใจของญาติสนิททั้งปวง และเริ่มมองเห็นแววแห่งอัจฉริยะฉายขึ้นในตัวเด็กชายบุญมีคนนี้
วัยหนุ่มอันบริสุทธิ์
ชีวิตในวัยเด็กจนถึงรุ่นหนุ่มก่อนอุปสมบทของหลวงพ่อมี ก็เป็นไปเหมือนกับชาวบ้านธรรมดา เพราะครอบครัวยากจนและมีอาชีพเป็นชาวนา ต้องคอยช่วยพ่อแม่ทำไร่ไถนาตามประสาไปวัน ๆ โดยไม่มีการผาดโผนอันน่าตื่นเต้นใด ๆ
เนื่องจากท่านเป็นคนใจบุญชอบทำทานเข้าวัดวาฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว เหล้ายาปาปิ้ง การพนันขันต่อ หรือการเที่ยวเตร่ต่าง ๆ เยี่ยงหนุ่มลูกทุ่งทั้งหลายนั้นท่านไม่เคยผ่านมาก่อนเลยทั้งสิ้น จากการที่หลวงพ่อมี มีความขยันขันแข็งในการทำงาน จึงมีหญิงมาชอบพอกับท่านคนหนึ่ง แต่ติดที่ท่านเป็นคนขี้อาย ไม่ช่างพูดประกอบกับหญิงนั้นเป็นคนที่งามจึงไม่เคยชวนกันไปเที่ยวไหน 2 ต่อ 2 เหมือนหนุ่มสาวคู่อื่น ๆ เลย ภายหลังเมื่อท่านมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ผัดผ่อนการหมั้นหมายเรื่อยมา สตรีนั้นเห็นว่า ท่านไม่ถึงแน่แล้วก็เลยไม่ได้ติดต่อกันอีก ปัจจุบันก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังครองตัวเป็นโสดมาถึงบัดนี้ นับว่า สตรีท่านนี้เป็นหญิงที่มีความมั่นคงในความรักอันน่ายกย่องสรรเสริญยิ่งทีเดียว

เริ่มเล่นแร่
ในวัยเด็กนี่เองที่องค์ท่านหลวงพ่อมี เขมธัมโม ได้ไปเยี่ยมหลวงน้าที่วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี โดยติดตามโยมคุณแม่ไป หลวงน้าคือ “หลวงพ่อเขียน โชติสโร” ในเวลานั้นกำลังเล่นแร่แปรธาตุ (เหมือนกับหลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี) ถือเป็น โอกาสของเด็กชายบุญมี ที่ได้สัมผัสกับสายวิชาเร้นลับนี้ เป็นการหล่อหลอมธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีหน้าที่เติมฟืนช่วยสูบลมให้ไฟร้อนจัดตลอดเวลา ถือว่าเป็นการเริ่มการศึกษาด้วยตนเองในสายวิชา “เล่นแร่แปรธาตุ” มาตั้งแต่บัดนั้น หลวงพ่อมีเคยเล่าว่า “เหนื่อยมากเพราะกว่าจะหลอมธาตุแปรธาตุได้ หลวงพ่อเขียนท่านต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ร่างกายสกปรกไปหมด ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นเวลานานกว่าจะเสร็จ” “ส่วนวิชาทำตะกั่วให้เป็นเงิน ทำเงินให้เป็นทองคำนั้น หลวงพ่อเขียนท่านหวงมาก ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครง่าย ๆ ในสมัยนั้น เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย” หลวงพ่อมีท่านเคยถามถึงการที่อยากจะศึกษาสายวิชานี้ แต่หลวงน้าหลวงพ่อเขียน กล่าวว่า “จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระ” ตั้งแต่วันนั้นเด็กชายมีก็เฝ้ารอเพื่อถึงอายุเวลาอุปสมบท

บรรพชาอุปสมบท
หลวงพ่อมี เขมธัมโม มีใจฝักใฝ่ใคร่จะบรรพชาเป็นสามเณรมานานแล้ว แต่ติดขัดที่มีภาระช่วยโยมบิดา มารดา ทำไร่ไถนา จึงต้องคอยให้มีอายุครบบวชเสียก่อนจึงจะได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุตามประเพณีนิยม ซึ่งบรรดาชายทั้งหลายกระทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อมีอายุ 21 ปี อายุครบเกณฑ์ทหารต้องถูกคัดเลือกเข้าประจำการเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ ท่านจึงตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่ถูกทหารจะบวชทดแทนคุณพ่อแม่ทันที แล้วหลวงพ่อมีก็สมความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ เมื่อท่านจับได้สลากใบดำไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสมดังใจ ณ พัทธสีมา วัดมารวิชัย ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระครูอดุลวุฒิกร หลวงพ่อพิน จันทโชโต วัดช่างเหล็ก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อเขียน โชติสโร วัดบ้านพร้าวนอก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลวงน้า คือเป็นน้องโยม มารดาของหลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเกลี้ยง อินทโชติ วัดมารวิชัย ซึ่งภายหลังไปเป็นเจ้าอาวาส วัดสามตุ่ม ในเขตอำเภอเสนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทน หลวงพ่อคล้าย เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยขณะนั้น ซึ่งเกิดอาพาธพอดี
หลวงพ่อมี ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลี จากหลวงพ่อพินผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ว่า “เขมธัมโม” แปลว่า “ผู้มีธัมมะอันเกษม”
การศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นขององค์ท่านหลวงพ่อมี ท่านได้เรียนรู้จาก หลวงพี่แบน ซึ่งเป็นพระพี่ชาย ต่อมาได้เข้าศึกษาทั้งภาษาไทยและ ภาษาขอมกับครูเยื้อน บุตรของอา จนพอจะมีพื้นฐานอ่านออกเขียนได้ หลังจากนั้นท่านจึงศึกษาด้วยตนเอง และเมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จึงไปศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่คล้าย พลายแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ในขณะนั้นถือเป็นรากฐานอันมั่นคงในการสืบสานพุทธศาสนาต่อไป “ในช่วงที่อาตมาบวชอยู่ที่วัดมารวิชัยนั้น เป็นจังหวะที่ได้ศึกษาเล่าเรียนในทางปริยัติธรรมด้วย เพราะขณะนั้นกำลังเจริญอย่างเต็มที่”

ศึกษาพระธรรมวินัย
เวลาส่วนใหญ่หลวงพ่อมีท่านจะศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยตนเอง ไม่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนจากสำนักใด ๆ แต่ท่านสอบได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ไล่มาเป็นลำดับ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ผสานความมีมานะพากเพียรที่มีอยู่ในองค์ท่าน ในภายหลังเมื่อท่านอายุมากขึ้นแล้ว ได้เข้าศึกษาหาความรู้ในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนสำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อมี นำความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมที่ท่านร่ำเรียนมาสอนพระภิกษุสามเณรภายในวัดมารวิชัยตั้งแต่ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส และเมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ทำการสอนนักธรรมด้วยตัวของท่านเอง ในระหว่างเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน จนพระภิกษุสามเณรทั้งหลายมีความรู้ความสามารถสอบเปรียญธรรมขั้นสูงได้ปีละหลายสิบรูป จวบจนปัจจุบันนี้ หลวงพ่อมียังคงทำการสอนนักธรรมด้วยตนเองทุกปี โดยไม่ได้นิมนต์พระภิกษุจากสำนักอื่น ๆ มาทำการสอนเลย

ผลงานการก่อสร้าง
จากการที่หลวงพ่อมี ได้รับการอบรมบ่มจิตจากหลวงพ่อปานในการปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ยกเอานิมิตมาพิจารณาจนกลายมาเป็นวิปัสสนาญาณ บังเกิดมี ศีล สมาธิ ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกข์ขัง ความเป็นทุกข์และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน มีอารมณ์จิตเบื่อหน่ายสภาพความเป็นอยู่ของร่างกายตนเองและผู้อื่น จิตใจจึงระลึกนึกถึง พระนิพพานเป็นปกติ จนสามารถบรรเทาอารมณ์รัก โลภ โกรธ และหลง หรือความพอใจใด ๆ ทั้งสิ้นนั้น แทบจะถูกขจัดออกไปจากจิตใจของหลวงพ่อมี อย่างสิ้นเชิง
เมื่อหลวงพ่อมี ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ท่านจึงสามารถตัดใจได้ทุกอย่าง โดยมีสัญญากับพระลูกวัดอีก 6 คน คือ พระอาจารย์ครอบ, พระอาจารย์สาย ซึ่งเป็นพระอาวุโส และพระเย็น, พระเสริฐ, พระหนอม และพระโกยว่า “พระทุกองค์ห้ามสึก จนกว่าจะตายหรือสร้างอุโบสถให้สำเร็จเสียก่อน จึงสึกได้” พระภิกษุผู้รักษาสัจจะทั้ง 7 องค์ ต่างช่วยกันบูรณะอุโบสถวัดมารวิชัย จนเสร็จและยังช่วยทำนุบำรุงจนมีความเจริญถาวรสืบต่อมา แต่ด้วยเหตุที่เจ้าอาวาสคือหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ผู้ถือสมถะทั้งยังมักน้อย บรรดาเสนาสนะต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จะสร้างเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ หรือสร้างแบบง่าย ๆ อย่างพออาศัยอยู่ได้เท่านั้น และเมื่อเกิดชำรุดทรุดโทรม ก็ทำการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้สร้างให้ถาวรใหญ่โตและสวยงามเหมือนกับวัดอื่น ๆ ทั่วไป

เพราะเหตุที่หลวงพ่อมีเป็นพระสมถะ รักสันโดษและมักน้อยนั่นเอง อุโบสถวัดมารวิชัยได้รับการบูรณะจนพระภิกษุสงฆ์ สามารถประกอบสังฆกรรมได้แล้ว ต่อมาจึงได้สร้างหน้าบันเพิ่มเติม พร้อมกับทำพิธียกช่อฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2491 ในขณะที่ทำการบูรณะอุโบสถอยู่นั้น ตรงกับปี พ.ศ. 2485 ได้รื้อกุฏิริมคลองย้ายขึ้นมาปลูกในบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อหนีน้ำที่หน้าน้ำท่วมสูงขึ้นทุกปี ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่จะต้องหาทุนมาสร้างกุฏิใหม่อีกด้วย
ต่อมาปี พ.ศ. 2501 หลวงพ่อมี ได้สร้างศาลาเรียงล้อมศาลาการเปรียญ หลังใหญ่ที่ หลวงพ่อปาน มาสร้างไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วสร้างหอระฆังและกุฏิอีก 3 หลัง ปัจจัยที่มีอยู่ทั้งหมดไปสมทบทุนกับทางราชการสร้างโรงเรียน 2 แห่ง คือโรงเรียนวัดมารวิชัย และโรงเรียนจุฬาราษฎร์วิทยา ในเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2509 และยังได้สร้างสถานีอนามัย เนื้อที่ 7 ไร่ กับสำนักงานผดุงครรภ์ประจำตำบลบางนมโค ในเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน อีกด้วย
สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่วนใหญ่เป็นที่ดินของบรรพบุรุษที่ตกทอดมาถึงหลวงพ่อมี แล้วท่านนำมาบริจาคต่อ ทั้งยังขายที่ดินอีกบางส่วนไป เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุนในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สร้างฌาปนสถาน พ.ศ. 2510 สร้างกำแพงรอบอุโบสถเพื่อความเป็นสัดส่วน พ.ศ. 2512 และสิ่งที่ชาวบ้านทั้งหลายมีความประทับใจในตัวหลวงพ่อมีอย่างไม่รู้ลืมอยู่ทุกวันนี้ คือ หลวงพ่อมี เป็นผู้ขอไฟฟ้าโดยเริ่มปักเสาจากปากทางถนนสาคลี ผ่านหน้าวัดมารวิชัยเรื่อยไป ถึงตลาดสาคลี เป็นระยะทางประมาณ 7 ก.ม. ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของหลวงพ่อมีทั้งสิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2514 นอกจากนี้หลวงพ่อมียังได้สร้างแท้งน้ำ เครื่องสูบน้ำสำหรับพระและชาวบ้านได้ใช้ดื่มน้ำที่สะอาด สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างหอสวดมนต์ในปี พ.ศ. 2521 ฯลฯ นับว่าหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ที่มีความมุมานะ พยายามสูงในการสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นอย่างมากองค์หนึ่ง

ศึกษาวิทยาคม
หลวงพ่อมี ได้เล่าให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งฟังว่า ยุคที่ท่านเป็นพระหนุ่มนั้น วิชาด้านคาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่นิยมเรียนกันมาก ชาวอยุธยาแทบทุกคนที่เป็นชายก็ล้วนแต่มีผู้สนใจเรียนกันมากเป็นพิเศษ เพราะคนหนุ่มในยุคนั้นต้องการของจริงมาทดลองกัน คือ ใครมีอะไรดีก็มาอวดต่อหน้าสาว ๆ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ สำหรับหลวงพ่อมีนั้น เมื่อท่านบวชได้พรรษาแรก ท่านก็ได้เรียนภาษามคธ และทางปริยัติควบคู่กันไป ในตอนหัวค่ำ หลวงพ่อมีและพระเณรรุ่นหนุ่ม ๆ ก็มักจะจับกลุ่มกันเรียนคาถาอาคมอย่างขะมักเขม้น คือเรียนทั้งจากตำราสมุดข่อย และจากหลวงตาที่บวชเรียนมาหลายพรรษาในวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาถาเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ นั้น หลวงพ่อมีท่านได้เรียนอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เช่น คาถาหัวใจหนุมาน หัวใจเสือ หัวใจราชสีห์ และหัวใจลิงลม เป็นต้น
หลวงพ่อมี เมื่อได้พระอาจารย์ดี ท่านก็ตั้งใจในการเรียนอย่างเต็มที่ เพราะหลวงตาผู้สอนท่านจะคอยกำกับโดยให้ผู้เรียนนั่งสมาธิพนมมือ และหลับตาภาวนาหัวใจของคาถาต่าง ๆ ไปด้วย ในระหว่างการเรียนจะเงียบสงบ เพราะต้องการให้เกิดสมาธิเร็วขึ้นเป็นเอกัคตา คือเป็นหนึ่งตลอด เรียกว่าผู้เรียนคาถาต่าง ๆ ต้องมีสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสมัยหลวงพ่อมีนั้น จะมีพระเณรเรียนในทางวิชาอาคมกันมาก เพราะมีพระอาจารย์คอยสอนให้อยู่อย่างมากมายนั่นเอง“เพื่อเห็นแก่อนาคตก็ต้องเรียนไว้ เพราะต่อไปจะหาไม่มีอีกแล้ว ที่จะมีอาจารย์ผู้เก่งกล้าสามารถเช่นสมัยนั้น”

ไม่คิดลาสิกขา
ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากหลวงพ่อมีท่านบวชได้ 1 พรรษา และท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้ใหม่ ๆ ท่านไม่คิดที่จะลาสิกขาบท ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา แต่ท่านกลับอยากจะบวชเพื่อศึกษาต่อเพราะท่านชอบศึกษาเล่าเรียนมาก หลวงพ่อมีท่านได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า จะขอบวชและศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาตลอดไป ซึ่งหลวงพ่อมีกล่าวว่า “การได้เข้ามาศึกษาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนานั้น เป็นของยากเพราะทุกคนต้องพร้อมที่จะเสียสละความสุขสบายในโลกภายนอกทุกอย่าง แต่ถ้าได้อยู่ศึกษาจนถ่องแท้แล้ว ก็ไม่อยากจะสึกออกไปอีก”
ในสมัยหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างใน น้องชายคู่บารมีขององค์ท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนกอก เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ได้กล่าวคำทำนายอนาคตของหลวงพ่อมีต่อหน้าองค์ท่านหลวงพ่อจงไว้ว่า “หลวงพ่อมี จะมีชื่อเสียงเมื่ออายุมากแล้ว แต่จะค่อย ๆ มีชื่อเสียงเหมือนกับหลวงพ่อจง ไม่โด่งดังตูมตามเหมือนกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค” การที่หลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างในกล่าวคำเปรียบเทียบหลวงพ่อมีดังนี้ เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ชื่อเสียงกิตติคุณขององค์ท่านหลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค โด่งดังมากกว่าหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อีกทั้งยังมีลูกศิษย์ลูกหาหลัก ๆ มากกว่าหลวงพ่อจงเสียอีกด้วย สังเกตได้จากวิชาอาคมที่องค์ท่านหลวงพ่อมี นำมาใช้จึงมักจะเป็นวิชาจากหลวงพ่อปาน ส่วนพระเลขพระยันต์ ที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เป็นยันต์หลักประจำตัวตลอดมานั้น ท่านใช้ยันต์พระพรหม 4 หน้า ของหลวงพ่อเขียน พระอาจารย์หลวงน้า วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานีผู้เรืองวิชา
มาบัดนี้ หลวงพ่อมีท่านมีสิริอายุ 87 พรรษา คำทำนายของหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างนอกในครั้งกระนั้นตรง ๆ จะ ๆ เมื่อเหตุการณ์และสานุศิษย์ ต่างได้เห็นในพลังคุณ ในพุทธคุณที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เวลาผ่านมาในพรรษาถึง 65 พรรษา ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วแคว้นในปัจจุบัน ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางเข้าขอพร ขอของดีกับหลวงพ่อมี ที่วัดมารวิชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังเกตได้จาก ไม่ว่าหลวงพ่อมี ท่านสร้างและปลุกเสกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใด ๆ ออกมา ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมชมชอบจากพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง กาลเวลาที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์แล้วว่า ชื่อเสียงขององค์ท่านหลวงพ่อมี โด่งดังมาได้อย่างไร ท่านผู้อ่านที่ติดตามมาถึงบรรทัดนี้ คงไม่แปลกใจเพราะได้ทราบในปฏิปทาและศีลาจารวัตร ตลอดถึงเรื่องเวทวิทยาคมที่องค์ท่านศึกษา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วมากล้นด้วยความเพียบพร้อม คือเป็นประกาศกิตติคุณมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นก็ว่าได้
ด้านพระเวทวิทยาคม หลวงพ่อมี
ได้เล่าเรียนพุทธาคมกับ หลวงพ่อเขียน วัดบ้านพร้าวนอกผู้มีศักดิ์เป็นหลวงน้าแท้ๆโดยได้รับการถ่ายทอดวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ และการสร้างวัตถุมงคลเนื้อเมฆพัต นอกจากนี้ยังได้ศึกษาพระเวทวิทยาคม และกรรมฐานจากพระอาจารย์ผู้เรืองนามอีกหลายรูปอาทิเช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค โดยอยู่ช่วยหลวงพ่อปานสร้างพระอยู่ 3ปี จนสำเร็จอสุภกรรมฐาน นอกจากนี้ยังสำเร็จเดโชกสิณกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ซึ่งหลวงพ่อจงองค์นี้ หลวงพ่อมีได้อยู่ศึกษาวิชากับท่านมากที่สุดใช้เวลานานเกือบ 30 ปีทีเดียว โดยท่านได้เดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างวัดหน้าต่างนอก และวัดมารวิชัย อยู่เสมอๆ
ทั้งยังได้ร่วมงานกับหลวงพ่อจงอย่างใกล้ชิดอยู่บ่อยครั้ง ได้ปฏิบัติดูแลหลวงพ่อจงตราบจนหลวงพ่อจงท่านสิ้นลมหายใจ
หลวงพ่อมีท่าน ได้รับสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย
พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะตำบลบางนมโค และพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2507 ได้รับสมณศักดิ์ชั้นตรีที่ #พระครูเกษมคณาภิบาล
พ.ศ. 2510 ได้รับสมณศักดิ์ชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2514 ได้รับสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม
ก่อนที่หลวงพ่อมี จะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัยนั้น วัดนี้มีชื่อ ว่าวัดผจญมาร ต่อมาเมื่อหลวงพ่อมีได้เป็นเจ้าอาวาสแทน หลวงพ่อคล้ายที่ลาสิกขาไปแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่าชื่อ วัดผจญมาร เป็นชื่อที่ไม่เป็นสิริมงคลทำให้ต้องพบพานแต่มาร ต้องผจญมารกันอยู่เรื่อย สร้างความอัปมงคลตลอดมา เพราะเจ้าอาวาสองค์ก่อนๆมีอยู่องค์หนึ่งมรณภาพในผ้าเหลือง และเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมาอีก 8 รูปก็ลาสิกขากันทั้งสิ้นรวมทั้งหลวงพ่อคล้ายเจ้าอาวาสองค์ก่อนหลวงพ่อมีด้วยท่านจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดมารวิชัย หมายถึงมีชัยชนะเหนือมารทั้งปวง นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อมีพระอาจารย์จอมขมังเวทย์ผู้มีชัยชนะมาร ก็เป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 11 สามารถปกครองวัดมารวิชัยไม่เคยลาสิกขาเลย
หลวงปู่มี เขมธัมโม วัดมารวิชัย ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคม และพลังจิตสูง และมีลูกศิษย์ลูกหา มากมาย มีกิจนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกทั่วประเทศด้วยการตรากตรำงานมานานสังขารของหลวงปู่จึงทรุดโทรม ทำให้ท่านอาพาธล้มป่วยลง จนกระทั่งวันที่ 26 มกราคม 2543 หลวงปู่มี เขมธัมโม ได้ละสังขารมรณภาพอย่างสงบ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://www.itti-patihan.com
เพจ “พระเกจิอาจารย์ดังศรีอยุธยา โดยใหญ่ อยุธยา”
ราคาเปิดประมูล280 บาท
ราคาปัจจุบัน460 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 22 มิ.ย. 2561 - 15:45:55 น.
วันปิดประมูล - 23 มิ.ย. 2561 - 17:17:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkaset (2.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 มิ.ย. 2561 - 15:46:10 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     460 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Natty56 (72)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM