(0)
สมเด็จระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น ครับ ตัดหัวท้าย ตลับทอง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น ครับ ตัดหัวท้าย ตลับทอง
รายละเอียดพระสมเด็จ วัดระฆัง หลังฆ้อน เป็นพระเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๒ ซม. สูงประมาณ ๒.๐ ซม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของ หม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชสกุล 'อิศรางกูรฯ') ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง รูปที่ ๘ ท่านได้สร้าง พระสมเด็จ วัดระฆัง หลังฆ้อน รุ่นนี้ขึ้นเมื่อปี ๒๔๕๓-๒๔๕๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ที่ 'สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์' เมื่อปี ๒๔๖๔) ต่อมาท่านได้สร้างพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันนี้ อีกครั้งช่วงปี ๒๔๕๘-๒๔๗๐ โดยได้นำแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่างๆ ได้ลงอักขระมาหลอมหล่อรวมกับชิ้นส่วนโลหะที่เหลือจากการตกแต่งพระพุทธชินราช (จำลอง) ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นชนวนมวลสารมงคลในการสร้าง พระสมเด็จวัดระฆัง หลังฆ้อน พิมพ์นี้ พระที่สร้างในคราวแรกมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ นอกจากนี้ยังมีพระเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อเมฆสิทธิ์ ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่วงการนักสะสมไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนัก เพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันได้ยาก ถ้าแบ่งแยกคร่าวๆ คงดูที่ความลึกขององค์พระเป็นเกณฑ์ ถ้าองค์พระตื้นๆ มักถูกจัดไปเป็นพระที่สร้างรุ่นที่ ๒ สำหรับพระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง ๖๐ รูป อาทิ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม (ใต้), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม, หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ฯลฯ (จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน) การสร้าง พระสมเด็จเนื้อโลหะทองผสมรุ่นนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่างๆ ทั้งใน จ.พระนคร (กทม.) ธนบุรี และต่างจังหวัด จำนวนมากให้ท่านลงจารอักขระเลขยันต์ แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพิธีปลุกเสกแผ่นทองเหลือง ที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ การเทหล่อในคราวแรกคาดว่าหล่อพระแบบเรียงต่อกันองค์ต่อองค์ในแนวตั้ง ยาวเหมือนไม้บรรทัด เมื่อทุบดินหุ่นออกแล้ว คงใช้สิ่วตอกตัดองค์พระแต่ละองค์ให้แยกจากกัน บางครั้งฆ้อนตอกพลาดเป้าไปโดนองค์พระก็มีบ้าง (ที่มาของชื่อระฆังหลังฆ้อน) ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมาปรากฎพระกรรณ (หู) เป็นที่นิยมกว่าไม่ปรากฎพระกรรณ ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว ๒ ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นผนังภายในเส้นครอบแก้ว เห็นเป็นจุดกลมเม็ดๆ อนุมานให้เป็นใบโพธิ์ เจตนาคือต้องการสร้างให้เป็น 'พระพิมพ์ปรกโพธิ์' นั่นเอง ทุกวันนี้ พระสมเด็จวัดระฆัง หลังฆ้อน ได้กลายเป็นของดีที่มีผู้แสวงหากันมาก สนนราคายังไม่สูงเกินไป หากมีโอกาสควรจะได้หาไว้ใช้สักองค์หนึ่ง เป็นพระสายวัดระฆัง อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจสะสมเอาไว้เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีผู้นำไปใช้บูชาแทนพระสี่เหลี่ยมประภามณฑล ของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า เพราะใกล้เคียงกันทั้งขนาด อายุการสร้าง รวมถึงพุทธานุภาพ ครับ พระมาพร้อมตลับ หนักประมาณ10กรัม สภาพสวยเดิมครับ สนใจใส่ราคารับประกันตามกฏครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน35,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 17 ต.ค. 2561 - 13:55:41 น.
วันปิดประมูล - 19 ต.ค. 2561 - 18:22:33 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwatchbank (891)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 17 ต.ค. 2561 - 13:56:08 น.



....


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 17 ต.ค. 2561 - 13:56:45 น.



....


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 17 ต.ค. 2561 - 13:57:11 น.



....


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 17 ต.ค. 2561 - 13:57:33 น.



...


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 17 ต.ค. 2561 - 13:59:23 น.



...


 
ราคาปัจจุบัน :     35,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    MADAM (635)

 

Copyright ©G-PRA.COM