(0)
วัดใจ จัดไป !!! พระกริ่งยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ เนื้อชนวนรวมมวลสาร (มีคราบดิน)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ จัดไป !!! พระกริ่งยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ เนื้อชนวนรวมมวลสาร (มีคราบดิน)
รายละเอียดวัดใจ จัดไป !!! พระกริ่งยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ เนื้อชนวนรวมมวลสาร (มีคราบดิน)

ประวัติวัดประดู่ (น่าสนใจมาก)

วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ.๒๓๒๐ จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่ามีแก่นไม้ประดู่ด้านหนึ่งเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมยาวขนาดเท่าใบลานใช้เป็นที่อัดใบลาน ได้นำไปไว้ที่ศาลเจ้าพ่อประดู่ ปัจจุบันวัดประดู่มีพระครูพิศาลจริยาภิรม หรือพระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข เจ้าคณะตำบลวัดประดู่ เป็นเจ้าอาวาส

มีเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย มีทั้งขุมสมบัติมหาศาลและลายแทงสมบัติที่มีรูอยู่เก้าแห่ง รูไหนแจ้งให้แทงรูนั้น ตรงไหนเปียกไม่ยอมแห้งให้แทงรูนั้น มีบางคนเคยเห็นเป็ดเงินและเป็ดทองคำออกมาเดินเล่นน้ำฝนและหายลงไปในสระ ยังมีพระพุทธรูปทองคำหน้าตักประมาณสองศอก จมหายลงไปในสระ ปัจจุบันได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ทับปิดสระน้ำไปแล้ว และมีเรือชะล่าใหญ่จมลงไปในสระ มักมีนักแสวงโชคมาขุดหาสมบัติแต่สุดท้ายมักคว้าน้ำเหลว

ภายในวัดมีสถานที่สำคัญ เช่น วิหารหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ลักษณะทรงไทย ชั้นเดียว เป็นไม้เนื้อแข็ง พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน ภายในมีพระพุทธรูปปางประทานพรอันศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ ควบคู่กับพระสิวลี พระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร (จำลอง) หลวงพ่อบ้านแหลม (จำลอง) หลวงพ่อวัดไร่ขิง และยังเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่อีกด้วย

ส่วนศาลาที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับพระอุโบสถ เรียกว่า ศาลามหาปราบ จะมีภาพวาดบนผนังเพดานแบบดั้งเดิมที่วาดด้วยสีฝุ่นดินสอพอง สมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งได้รับอารยธรรมมาจากจีน อาทิ ภาพชุมนุมเทวดา/ชุมนุมเทพ ภาพหนุมานแผลงฤทธิ์เหินเวหา ภาพฤาษี ภาพคนธรรพ์ ภาพหัวล้านชนกัน และภาพพุทธประวัติในเหตุการณ์ต่างๆ เช่น พระเจ้าสุทโธทนะอภิเษกกับพระนางสิริมหามายาประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นต้น

สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่สำคัญในวัดประดู่คือ “ศูนย์สาธิตศิลปะการทำหัวโขนและเศียรครู (หอศิลป์)” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ ด้วยพระมหาสุรศักดิ์เล็งเห็นว่าศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ถือเป็นมรดกล้ำค่าที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นมรดกของลูกหลาน ซึ่งหอศิลป์แห่งนี้เปิดให้ชุมชนและประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาขั้นตอนการทำและการฝึกทำหัวโขนและเศียรครู โดยมีหลักสูตรการเรียนรู้จากผู้ชำนาญของผู้ดูแลศูนย์ ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนวัดประดู่ ที่ได้เล่าเรียน ศึกษา จากผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการทำหัวโขนและเศียรครูโดยตรง

พระมหาสุรศักดิ์เป็นพระนักพัฒนา ด้วยแนวความคิดที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นระบบการศึกษา สมภารวัดคือผู้บูรณาการทุกสิ่งให้ดำเนินไปตามจุดมุ่งหมาย ท่านจึงจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปกรรมต่างๆ เช่น การทำหัวโขน การทำหุ่นปั้นจากดินสอพองเพื่อให้นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ และประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาหาความรู้

ปัจจุบันวัดประดู่มีการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ จนถึงปัจจุบัน ครอบรอบ ๘ ปี การยกฐานะวัดประดู่เป็นพระอารามหลวง ดังนั้นในพ.ศ.๒๕๕๙ นี้ พระมหาสุรศักดิ์จึงดำริให้มีงานฉลองการสมโภชพระอารามหลวงขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๑๒ ธันวาคม โดยมหาพิธีสมโภชจะจัดขึ้นวันจันทร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ มีดารา นักร้อง ตลก และมหรสพชมฟรีตลอดทั้งงาน

ในโอกาสงานมหาพิธีสมโภชวัดประดู่พระอารามหลวงครั้งนี้ พระมหาสุรศักดิ์ ได้ปรึกษาคณะกรรมการวัดตลอดจนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงมีความเห็นตรงกันว่าวัดควรจะจัดสร้างพระกริ่งยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เทพศาสตรา และสมเด็จหลวงพ่อใหญ่เนื้อผงเทวดา เพื่อเป็นที่ระลึก

พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา ร.๕

ในสมัยหลวงปู่แจ้ง ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้นทางชลมารคมายังวัดประดู่เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗ และทรงเสวยพระกระยาหารเช้าที่วัดประดู่ พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาต่อหลวงปู่แจ้ง โดยนิมนต์หลวงปู่แจ้งเข้าไปในพระราชวังหลายครั้งด้วยกัน ที่สำคัญพระองค์ได้ถวายเครื่องราชศรัทธาที่สำคัญๆ อันทรงคุณค่าไว้ให้หลวงปู่แจ้ง เช่น เรือเก๋งพระที่นั่ง พระแท่นบรรทม ตาลปัตร ปิ่นโตสลักบาตร เป็นต้น

จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๔๓ จึงจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕” ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ๒ ชั้น ๕ หลังคาแฝด ปิดทองฝาสกลทั้งหลัง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องราชศรัทธาและเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไป

ภายในพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธาได้เก็บรักษาเครื่องราชศรัทธาต่างๆ มากมาย อาทิ พระแท่นบรรทม ตาลปัตร นามาภิไธยย่อ จปร. และตาลปัตรนารายณ์ทรงครุฑพร้อมปอกหนังสำหรับคลุม ตู้เล็กและตู้ทึบ ปิ่นโต บาตร พร้อมฝาบาตรไม้ฝังมุกตัวย่อ สพปมจ. ย่อมาจากคำว่าสมเด็จพระปรมินทรามหาจุฬาลงกรณ์ กาน้ำทองแดงมีตราสัญลักษณ์ กี่ใส่ยาฉุน ถาดใส่ของ ตะเกียงเจ้าพายุ นาฬิกาปารีส เป็นต้น

โครงการเณรออมบุญ

โครงการเณรออมบุญ เป็นโครงการที่พระมหาสุรศักดิ์ริเริ่มโครงการนี้ไว้เมื่อปลาย พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งเป็นการออมบุญเณรใหญ่จำนวนสร้าง ๘๐๐ ชุด เมื่อใส่เหรียญ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท เมื่อเต็มกระปุกนำมาแลกพระที่วัดประดู่พระอารามหลวง จะได้รับ ๑.พระกริ่งเนื้อนวโลหะก้นเงิน ๑ องค์ ๒.สมเด็จหลวงพ่อใหญ่เนื้อผงเทวดา ฝังตะกรุดทองคำ ๑ องค์ และ ๓.สมเด็จหลวงพ่อใหญ่เนื้อผงเทวดา ธรรมดา ๑ องค์

กระปุกเณรองค์เณรเล็ก จำนวนสร้าง ๑๒,๐๐๐ ชุด เมื่อใส่เหรียญ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐๑ บาทเต็มกระปุกนำมาแลกพระที่วัดประดู่พระอารามหลวง จะได้รับ ๑.พระกริ่งเนื้อชนวนทองคำผสม ๑ องค์ ๒.สมเด็จหลวงพ่อใหญ่เนื้อผงเทวดา ฝังตะกรุดเงิน ๑ องค์ และ ๓.สมเด็จหลวงพ่อใหญ่เนื้อผงเทวดา ธรรมดา ๑ องค์

ส่วนการจัดสร้างเทพศาสตรา สร้างจากไม้เสาโบสถ์ วัดแก้วเจริญ ด้ามจับ แกะท้าวเวสสุวรรณ อันวิจิตรงดงาม สร้าง ๓ ขนาด ดังนี้ ๑.ขนาด ๑.๘ นิ้ว จัดสร้าง ๓๐๐ เล่ม ๒.ขนาด ๒.๕ นิ้ว จัดสร้าง ๕๐๐ เล่ม ๓.ขนาด ๓.๓ นิ้ว จัดสร้าง ๒,๕๐๐ เล่ม

พระกริ่งยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ออกแบบและแกะแบบพิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ มีดังนี้ ชุดทองคำจำนวนสร้าง ๑๖ ชุด ประกอบด้วย พระกริ่งเนื้อทองคำ ๑ องค์ หนัก ๕๐ กรัม พระกริ่งเนื้อนวโลหะก้นเงิน ๑ องค์ สมเด็จหลวงพ่อใหญ่เนื้อผงเทวดา ฝังตะกรุดสามกษัตริย์ ๑ องค์ เนื้อเงิน สร้าง ๒,๕๕๙ องค์ เนื้อนวโลหะ สร้าง ๕,๐๐๐ องค์ ส่วนพระกริ่งยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก แบบช่อพระกริ่ง จำนวนสร้าง ๕๐ ช่อ มอบให้แก่ผู้เป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี

ทั้งนี้จะประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น ณ พระอุโบสถ วัดประดู่ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธานจุดเทียนชัย และมีเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต เช่น พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร หลวงพ่อโปร่ง วัดถ้ำพุตะเคียน พระครูวินัยธรใจ ฐิตาจาโร วัดพระยาญาติ หลวงพ่อสนองชาติ วัดเย็นสนิทธรรมมาราม พระครูสมุห์คำณวน ปริสุทโธ วัดแก้วเจริญ หลวงพี่หนุ่ม วัดบางแวก ฯลฯ

การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้เพื่อนำรายได้ทั้งหมดบูรณะเสนาสนะและศาสนสถานภายในวัด

เชิญนิมนต์สะสมบูชา
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ต.ค. 2561 - 14:50:15 น.
วันปิดประมูล - 25 ต.ค. 2561 - 19:08:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลcunchit (3.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 ต.ค. 2561 - 14:50:37 น.



ฐานพระ


 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Zidane10 (278)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1