(0)
พระบูชา ภปร. 2508 วัดบวรนิเวศวิหาร หน้าตัก 5นิ้ว ยุคแรก ฐานดินไทย มีตอกเลข








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระบูชา ภปร. 2508 วัดบวรนิเวศวิหาร หน้าตัก 5นิ้ว ยุคแรก ฐานดินไทย มีตอกเลข
รายละเอียดประวัติพระพุทธรูป ภปร.ปี 2508

พระพุทธรูป ภปร.ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้เดิมคณะกรรมการจะจัดสร้างตามแบบพระพุทธรูป ภปร.รุ่น พระกฐินต้น วัดเทวะสังฆาราม ทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมการได้นำพระพุทธรูป ที่ออกแบบสร้างแล้ว ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ทรงพระมหากรุณาธิคุณแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบให้ถูกต้อง เหมาะสมกับพระพุทธลักษณะยิ่งขึ้นด้วยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง
พระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย แก้ไขพุทธลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงไปทางพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้พระราชทานภาษิต สำหรับจารึกไว้ที่ฐานด้านหน้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ว่า “ทยฺยชาติ สามคฺคิย สติสญฺชานเนน โภชิสิย รกฺขนฺติ” แปลว่า “คนชาติไทย จะรักษาความเป็นไท อยู่ได้ด้วยมีสติ สำนึกอยู่ในความสามัคคี” ส่วนที่ฐานด้านหลังจารึกใจความว่า “เสด็จพระราชดำเนินในพิธี หล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิหาคม พ.ศ.2508” โดยมอบหมายให้ศาสดาจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างศิลป์ กรมศิลปกร ปั้นหุ่นขึ้นใหม่ ได้ทรงควบคุมการปั้นหุ่น ให้อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัย โดยตลอด ฉะนั้น พระพุทธรูป ภปร. รุ่นนี้ จึงสมบูรณ์แบบครบถ้วน รวมเอาสัญลักษณ์ของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เข้าไว้ด้วยกันอย่างบริบูรณ์ มีคุณค่า ทั้งทางศิลปะประติมากรรม ประวัติศาสตร์ และคุณค่าแห่งจิตใจ

การพิจารณา
พอสรุปได้ว่าการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ทั้งสองขนาด
ครั้งแรก สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณแบบดินไทย พลิกดูใต้ฐานจะปรากฏคราบดินไทย และดินทรายหุ่นพระ อัดแน่นอยู่ภายใน โดยมีข้อสังเกตพอเป็นแนวทางดังนี้
• พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อพระจะมีความหนาและปรากฏตะปูยึดพิมพ์ฝังอยู่ในเนื้อภายในใต้ฐานขององค์พระ ปรากฏคราบดินไทย และทราย ที่ขึ้นหุ่นพระ จึงจะเป็นพระยุคแรกที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน หากแตกต่างไปจากนี้ถือเป็นรุ่นหลัง ซึ่งความนิยมจะด้อยกว่า
• พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว การสร้างครั้งแรก เป็นหล่อโบราณแบบดินไทย เช่นเดียวกับขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ จะมีชนวนที่ฐานด้านล่างทั้ง ซ้าย-ขวา และฐานด้านหลังเป็นเนื้อปูดออกมา ซึ่งนั่นก็คือร่องรอยชนวนสำหรับเทโลหะให้ไหลไปตามแม่พิมพ์นิยมเรียกกันว่า สามขา การตอกหมายเลขประจำองค์พระเป็นเลขอารบิคตอกบริเวณผนังฐานด้านใน บริเวณตรงกับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จำนวนสี่หลัก หรือ หลักพัน แต่ไม่ทราบจำนวนแน่ชัดว่ากี่พัน ลักษณะพระพักตร์สั้น, พระกรรณยาว, ตัวหนังสือจารึกภาษิตพระราชทานเรียบร้อยสวยงาม กว่ายุคหลัง

การสร้างพระพุทธรูปครั้งต่อมา รับผิดชอบโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ซึ่งได้สั่งซื้อเครื่องมืออันทันสมัยมาใช้ สร้างด้วยหุ่นดินฝรั่ง หรือก็คือปูนขาวนั่นเอง เมื่อล้างทำความสะอาดเอาคราบปูนขาวออกผิวพรรณบริเวณใต้ฐานด้านในจะมีความเรียบร้อยสวยงามและมีลักษณะย่นคล้ายหนังไก่ จึงนิยมเรียก รุ่นหนังไก่

การสร้างเพิ่มโดยกองกษาปณ์นั่ง ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 มีเลขลำดับบอกครั้งที่สร้างนำหน้า ตามด้วยขีดและหมายเลขประจำองค์พระ เช่น การสร้างเสริมครั้งที่ 1 หมายเลขประจำองค์พระ 789 ก็จะตอกตัวเลขเป็น 1-789 ครั้งที่ 2 และ 3 จะตอกตัวเลขเป็น 2-789, 3-789 ตามลำดับอย่างไรก็ตาม การสร้างเสริมครั้งที่ 1 ถึง 3 ดังกล่าวนั้น หมายเลขประจำองค์พระในแต่ละครั้งจะเป็นตัวเลขเพียงสี่หลักเท่านั้น ไม่เกินกว่านี้ และหลังจากการสร้างเสริมครั้งที่ 3 แล้วก็ไม่ได้ตอกเลขลำดับครั้ง เลขประจำองค์พระอีกเลย
ในพระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้วนั้น รุ่นแรก หรือ รุ่นสามขา ได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาก็จะเป็นสร้างเพิ่มครั้งที่ 1, 2, 3 ตามลำดับที่ไม่ตอกหมายเลขได้รับความนิยมน้อยสุด
ราคาเปิดประมูล15,000 บาท
ราคาปัจจุบัน30,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ500 บาท
วันเปิดประมูล - 13 มี.ค. 2562 - 21:45:09 น.
วันปิดประมูล - 17 มี.ค. 2562 - 19:49:01 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลBig27 (316)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 13 มี.ค. 2562 - 21:45:49 น.



ด้านหลัง


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 13 มี.ค. 2562 - 21:46:28 น.



ด้านข้าง


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 13 มี.ค. 2562 - 21:46:49 น.



ด้านข้าง


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 13 มี.ค. 2562 - 21:47:27 น.



ฐานดินไทย


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 13 มี.ค. 2562 - 21:48:09 น.



ตอกตัวเลข


 
ราคาปัจจุบัน :     30,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     500 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    C_ping (66)

 

Copyright ©G-PRA.COM