(0)
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ปี 2530 พร้อมกล่อง+คู่มือครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ปี 2530 พร้อมกล่อง+คู่มือครับ
รายละเอียด“ผมคิดว่าการได้ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในครั้งนี้คือที่สุดของชีวิตผมแล้ว” นั่นคือคำกล่าวของ “ท่านอาจารย์กิจจา วาจาสัจ” ข้าราชการบำนาญอดีตอาจารย์สถาบัน “ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ผู้ซึ่งเป็นหัวเรี่ยว หัวแรงสำคัญในการดำเนินการจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ” ของ “วัดบวรนิเวศวิหาร” ในมหามงคลวโรกาสงาน พระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ พระนัก ษัตร ๖๐ พรรษา ของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

การจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ” เฉลิม พระชนมพรรษา ๕รอบฯ ดังกล่าวนี้ จึงนับเป็น “วัตถุมงคล” ชุดประวัติศาสตร์อีกรุ่นหนึ่งที่มี “ความสำคัญ” เป็นวาระพิเศษและมหามงคลวโรกาสอีกครั้งของ “วัดบวรนิเวศวิหาร” เพราะในอดีตจวบจนปัจจุบันยังไม่มีวัตถุมงคลประเภท “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” รุ่นไหนที่มีการดำเนินการจัดสร้างที่ “พิถีพิถันทุกขั้นตอน” ประกอบกับ “จำนวนการจัดสร้าง” ที่มากมายถึง ๓๐,๐๐๐ ชุด รวมเป็นพระทั้งสิ้น ๖๐,๐๐๐ องค์ และอีกจำนวนหนึ่งที่สร้างเกินก็เพื่อเผื่อ “เสีย” หรือ “ชำรุด” จากการ “เทหล่อแบบโบราณ” จึงมีบ้างที่เทหล่อแล้วติดไม่เต็มองค์ จึงเป็นการทำลายสถิติจำนวนการจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ที่เคยมีการจัดสร้าง ขึ้นแม้กระทั่ง “พระกริ่งหน้าอินเดีย ปี พ.ศ. ๒๔๘๒” ที่ “ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน์)” ทรงสร้างจำนวนมากถึง “๔,๔๐๐ องค์” ก็นับว่า “มากที่สุด” แล้วในยุคนั้นแต่หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ” เฉลิมพระชนม พรรษา ๕ รอบฯ แล้วนับว่าห่างกันหลายร้อย เท่าตัว

ซึ่งเมื่อ “ผู้เขียน” กล่าวเช่นนี้แล้วบางท่านอาจจะแย้งว่ามี “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ในยุคหลัง ๆ ที่สร้างจำนวนมากถึง “แสนองค์” ก็มีมาแล้วเรื่องนี้ “ผู้เขียน” ก็ไม่ขอโต้แย้งแต่อย่างใดเพียงแต่ขอถามว่า “พระกริ่ง” ที่สร้างกันเป็นแสนองค์ที่ว่านั้นสร้างด้วย “กรรมวิธีใด” ถ้าสร้างกันด้วย “กรรมวิธีสมัยใหม่” คือ “การหล่อแบบฉีดเหวี่ยง” แล้ว “ผู้เขียน” ขอบอกว่าเป็น “คนละเรื่อง” กันเลยทั้งนี้ก็เพราะ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ” สร้างด้วยกรรมวิธี “การเทหล่อแบบโบราณ” อันเป็น “ภูมิปัญญาไทย” ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานแล้วส่วน “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ที่สร้างด้วยกรรมวิธีแบบ “หล่อฉีดเหวี่ยง” นั้นเป็นวิวัฒนาการของเทคโน โลยีการหล่อพระแบบ “สมัยใหม่” ที่คุณค่าของคำว่า “ศิลปะ” จะแตกต่างกันมากจนไม่อาจนำมา “เปรียบเทียบ” กันได้เลย

และจากคำบอกเล่าของ “ท่านอาจารย์ กิจจา” ถึงความเป็นมาในการจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ” เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบฯ นี้สืบเนื่องมาจาก “วัดบวรนิเวศวิหาร” ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเพื่อร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ พระนักกษัตร ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลตามคตินิยมมาแต่ครั้งโบราณกาลซึ่งก็คือการส ร้าง “พระพุทธรูป” เพื่อเป็นการสืบทอดอายุ “พระพุทธศาสนา” เป็นประเด็นหลักและเพื่อเป็นการหา ดอกผลในการทำนุบำรุงสาธารณประ โยชน์ พร้อมเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาส ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน ดังนี้

๑. ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลส่วน พระองค์

๒. ถวายวัดบวรนิเวศวิหาร

๓. ถวายวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์

๔. เป็นทุนค่าใช้จ่ายในการแกะสลักพระพุทธรูปใหญ่ ณ เขาชีจรรย์ วัดญาณสังวรา ราม ซึ่งพระพุทธรูปใหญ่องค์นี้ล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายพระนามว่า “พระพุทธมหาวชิรอตต โมภาสศาสดา”

๕. เป็นทุนทะนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธ ศาสนา

๖. สมทบทุนเพื่อสร้างอาคาร จ.ป.ร. ๗๒ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

จะเห็นได้ว่าประเด็นสำคัญสุดในการดำเนินการจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ” เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบฯ ในครั้งนี้ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ผงจิตรลดา” ที่เหลือจากการสร้าง “พระพิมพ์ ฝีพระหัตถ์” ซึ่งก็คือ “พระสมเด็จจิตรลดา” ที่ทรงสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๒ และ “เส้นพระเจ้า” (พระเกศา) ของพระองค์เพื่อบรรจุไว้ในองค์ “พระกริ่ง” ที่จัดสร้างขึ้นครั้งนี้ “ทุกองค์” ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แก่คณะ “กรรมการดำเนินการจัดสร้าง” และ “ปวงชนชาวไทย” ที่ทราบเรื่องนี้ ยิ่งนักโดยคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างซึ่งมี “ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังคปรินายก” เมื่อครั้งยัง ดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” (สุวัฑฒนมหาเถร) ทรงเป็นองค์ประธานได้ให้มีการดำเนินการจัดสร้างเนื่องใน มหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ พระนักษัตร ๖๐ พรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในเดือน “พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘”

ส่วนคณะกรรมการที่ร่วมเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างประกอบด้วย “ท่านผู้มีเกียรติ” และ “ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่” หลายท่านที่ต้องเข้าร่วมประชุมโดยมีการอัญเชิญ “พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก” ในความครอบครองของผู้ใหญ่ “หลายองค์” รวมถึง “องค์ของวัดบวรฯ” นำมาเปรียบเทียบกันซึ่งท่าน “อาจารย์กิจจา” เล่าว่าในชีวิตนี้ได้เห็น “พระกริ่งปวเรศ” ที่เป็น “ของแท้” และเป็นขวัญตาถึง “๗ องค์” ชนิดที่ท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” รับสั่งกับท่าน “อาจารย์กิจจา” ว่า“อาจารย์กิจจา เคยเห็นพระกริ่งปวเรศ มากขนาดนี้ไหม?” ซึ่งท่านอาจารย์กิจจา ก็ กราบทูลตอบว่า “ตั้ง แต่เกิดมาไม่เคยเห็นมากขนาดนี้ครับ”

ในที่สุดผลการประชุมครั้งนั้น “คณะกรรมการ” มีมติให้จัดสร้าง “พระกริ่งปวเรศ” โดยการจำลองจาก “พระกริ่งปวเรศ” องค์ของ “วัดบวรฯ” ที่ต่อไปนี้จะเรียกว่า “พระ กริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิมของวัด” เนื่องจากมีความงดงามสมบูรณ์ที่สุดในบรรดา “พระกริ่งปวเรศ” รุ่นแรกที่อัญเชิญมาเปรียบเทียบเพื่อขอมติจากที่ประชุมสำหรับการ “จำลองพิมพ์พระกริ่งปวเรศ” ได้มอบหมายให้ท่าน “อาจารย์กิจจา” เป็นผู้ดำเนินการ “ถอดพิมพ์” จากองค์จริง “พระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิมของวัดบวรฯ” ส่วน “พระ ชัยวัฒน์” นั้นที่ประชุมมีมติให้ย่อแบบพระกริ่งปวเรศขององค์ดั้งเดิมของวัดให้มี “ขนาดเล็กลง” เหลือหน้าตัก “กว้าง ๑ เซนติเมตร” โดยจัดหาปฏิมากรที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงเป็นผู้ดำเนินการจำลองคือการ “ปั้นขึ้นมาใหม่”

นอกจากนี้ท่าน “อาจารย์กิจจา” ได้เสนอแก่ที่ประชุมให้ดำเนินการหล่อ “พระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์ปวเรศต้นแบบ” โดยวิธีการ “หล่อแบบโบราณ” ด้วยการ “เข้าดินไทย” อันเป็นภูมิปัญญาไทยที่ล้ำค่าและสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลเนื่องจาก “พระกริ่ง” ทั้งหมดในอดีตโดยเฉพาะ “พระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิมของวัดบวรฯ” ก็สร้างด้วยกรรมวิธีการหล่อแบบโบราณด้วยกันทั้งสิ้นและเพื่อเป็นการสืบทอด และอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ที่ทรงคุณค่าให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป ที่ประชุมเห็นด้วยพร้อมมอบหมายให้ ท่าน “อาจาย์กิจจา” เป็นผู้ดำเนินการจัดหาช่างหล่อมีฝีมือที่จะมาดำเนินการ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

หลังจากการประชุมแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการถอดพิมพ์ “พระกริ่งปวเรศ” จากองค์ดั้งเดิมซึ่งท่าน “อาจารย์กิจจา” ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้าง “กดดันมาก” เพราะการถอดพิมพ์ “พระกริ่งปวเรศ” องค์ดั้งเดิมของวัดซึ่งเป็น “วัตถุโบราณ” ต้องใช้ความ “ระมัดระวัง” เป็นประการแรก ส่วนประการต่อมาต้องมี “สักขีพยาน” ในการถอดพิมพ์พระเพื่อป้องกัน “ข้อครหา” ในภายหลังและประการที่สามงานที่ทำในครั้งนี้เป็น “งานใหญ่” ต้องใช้ฝีมือเป็นอย่างมากในการถอดพิมพ์พระเพื่อให้ได้รูปทรง “ใกล้เคียง” หรือ “เหมือนกับองค์จริง” ให้มากที่สุดท่าน “อาจารย์กิจจา” จึงได้นัดแนะกับพระภิกษุผู้ควบคุมดูแล “อาคารพิพิธภัณฑ์ ภ.ป.ร.” คือท่านเจ้าคุณ “พระอรรถกิจโกศล” (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพญาณวิศิษฐ์” เจ้าอาวาสพระราม ๙ กาญจนาภิเษก) และผู้ร่วมถอดพิมพ์อีก ๓ ท่านคือ “อาจารย์ประโยชน์ ธรรมกรบัญญัติ” พร้อม “ช่างถนอม ทองอินทร์” และ “นายช่างแมว”

สำหรับ “พระกริ่งปวเรศองค์จริง” หรือ “องค์ดั้งเดิมของวัดบวรฯ” นั้นเป็น “พระกริ่งขนาด ค่อนข้างเขื่องเนื้อนวโลหะ เนื้อในเป็นสีแดงผิวกลับดำสนิท ปิดฐานด้วยแผ่นทองแดงค่อนข้างบาง ด้านขวาของฐานแผ่นทองแดงที่ปิดฐานชำรุดทะลุ เชื่อมโดยการอุดเทียนขี้ผึ้งไว้แต่เดิม” ซึ่งท่าน “อาจารย์กิจจา” ทำการถอดพิมพ์ด้วยปูนปลาสเตอร์แล้วรอให้แห้งสนิทก่อนจึงทำการอัดหุ่นเทียน ขี้ผึ้งออกมาจำนวน “๒ หุ่นองค์พระ” ในขั้นตอนนี้ท่าน “อาจารย์กิจจา” บอกว่า “ได้ทำการวางยาไว้คือปูนปลาสเตอร์ที่นำมาถอดพิมพ์ในครั้งนี้ เป็นปูนปลาสเตอร์ที่ทิ้งไว้นานจนหมดสภาพยางปูนแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันผู้ที่มี เจตนาไม่บริสุทธิ์ นำมาถอดพิมพ์ในภายหลัง เนื่องจากปูนที่ถูกทิ้งไว้นานจนหมดสภาพยางปูนที่จะยึดเหนี่ยว จะสามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวไม่ สามารถเก็บไว้ได้นานหรือหากเก็บไว้แล้วปล่อยให้แห้งสนิท เมื่อนำแม่พิมพ์ที่ทำจากปูนเสื่อมมาแช่น้ำเพื่อเทขี้ผึ้งในแบบพิมพ์เพื่ออัด เป็นหุ่น และยังไม่ทันจะอัดเป็นหุ่นองค์พระแม่พิมพ์ปูนที่เสื่อมก็จะแตกหักทันที นี่คือมาตรการในการป้องกันที่ แยบยลยิ่งนักและหลังจากถอดพิมพ์พระกริ่งปวเรศ และอัดหุ่นเทียนขี้ผึ้งเสร็จแล้วก็ถวายแบบพิมพ์ปลาสเตอร์พร้อมกับพระกริ่ง ปวเรศองค์ดั้งเดิม คืนกับท่านเจ้าคุณพระอรรถกิจโกศลโดยมิได้เก็บแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์เสื่อม นั้นไว้กับตัว

จากนั้นท่านอาจารย์กิจจาได้นำหุ่นเทียนองค์พระ ๒ หุ่นนั้นมาถวายท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” เพื่อทรงพิจารณาและขอประทานพระอนุญาตนำหุ่นเทียนองค์พระทั้ง ๒ หุ่นนั้น ไปเททองหล่อเป็นต้นแบบเพื่อตกแต่งต้นแบบโลหะอีกขั้นตอนต่อไป”

จากคำบอกเล่าของท่าน “อาจารย์กิจจา” ถึง ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำพระกริ่งปวเรศที่เป็น “หุ่น เทียน” จำนวน ๒ หุ่น ไปเข้าดินไทย และเททองออกมามอบให้ท่าน “อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร” หรือท่าน (อาจารย์หนู) ตกแต่งให้มีความสวยงามปรากฏว่าออกมาเป็นที่พอใจของ “คณะกรรมการ” ทุกท่านและต่อมาท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” ได้อัญเชิญหุ่นพระกริ่งที่ท่าน “อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร” (อาจารย์หนู) ตกแต่งสวยงามแล้วนั้นขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทอดพระเนตรและขอพระราชทานพระบรมราช วินิจฉัย เมื่อล้นเกล้าฯ ทอดพระเนตรแล้ว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่า “พระกริ่งปวเรศที่จำลองขึ้นมาในครั้งนี้ ขอให้ทำให้แม้นแต่อย่าทำให้เหมือน” ซึ่งความหมายของพระราชกระแสรับสั่งก็คือการเททองหล่อ “พระกริ่งปวเรศจำลอง” ในครั้งนี้ต้องทำให้มีความ “แตกต่าง” จากองค์จริงบ้างอย่าให้ถึงกับ “เหมือน” เลยทีเดียวเพราะต่อไปในภายภายหน้าอาจจะทำให้มีการสับสนระหว่าง “องค์ดั้งเดิม” กับ “องค์จำลอง” ได้ ท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” ก็ได้อัญเชิญ “พระราชกระแสรับสั่ง” เกี่ยวกับพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่อง “แบบ ของพระกริ่ง” มายังท่าน “อาจารย์กิจจา” และคณะกรรมการฯ

อ้างอิงจาก

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=48533&NewsType=2&Template=1

ใหม่ 081-498-9235

www.mai-amulet.com
ราคาเปิดประมูล22,500 บาท
ราคาปัจจุบัน25,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ500 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ต.ค. 2551 - 20:28:48 น.
วันปิดประมูล - 13 ต.ค. 2551 - 11:35:13 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmai111 (12.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 ต.ค. 2551 - 20:30:10 น.
.


พระชัยวัฒน์


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 11 ต.ค. 2551 - 20:31:09 น.
.


พระชัยวัฒน์


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 11 ต.ค. 2551 - 20:31:58 น.
.


ใต้ฐานพระชัยวัฒน์


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 11 ต.ค. 2551 - 20:33:03 น.
.


กล่องเดิมครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 11 ต.ค. 2551 - 20:33:58 น.
.


กล่องเดิมครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 6 - 11 ต.ค. 2551 - 20:34:59 น.
.


กล่องเดิมครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 7 - 11 ต.ค. 2551 - 20:35:36 น.
.


คู่มือครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     25,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     500 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sing32 (2.7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM