(0)
!!!!! พระรอดน้ำต้น ใช้มายังสวย หายากครับ




รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง!!!!! พระรอดน้ำต้น ใช้มายังสวย หายากครับ
รายละเอียดพระรอดน้ำต้น แตกกรุเมื่อปี พ.ศ.2511 ระหว่างการขุดค้นหาพระรอดที่แตกกรุออกมาของวัดมหาวัน ถือได้ว่าเป็นพระรอดยุคหลังของวัดมหาวัน อีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งช่วงที่แตกกรุเซียนรุ่นใหญ่ก็ยังให้ความสนใจเช่าหาเก็บไว้คนละหลายสิบองค์ มาชมพระรอดน้ำต้นที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณจากมวลสารหลักคือพระรอดกรุเก่าและพระสกุลลำพูนที่แตกหักชำรุดในกรุวัดมหาวัน และค่านิยมในปัจจุบันยังไม่สูงมากถ้าเทียบกับของวัดมหาวัน
 ...ปี 2526 นิตยสารมหาโพธิ์ ฉบับที่ 31 วันที่ 15 มีนาคม 2526 ได้ลงตีพิมพ์ประวัติการสร้างพระรอดกรุน้ำต้น เขียนโดย "บังไพร" มีการอ้างอิงถึงบุคคลในวงการพระเครื่อง จ.เชียงใหม่ ที่เชื่อถือได้ถึง 3 คน ได้ร่วมเดินทางไปหาข้อมูลด้วยกัน คือ พ่อเลี้ยงศรีวรรณ โปธา ,คุณเฮง นันทศราวัตร และลุงถวิล วิลสา ได้พบกับอาจารย์สันต์ ตาบุรี อายุ 78 ปี ในปีพ.ศ.2526 และได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า สมัยท่านเป็นสามเณรน้อย อายุประมาณ 12 ปี อยู่ที่วัดจามเทวี นามว่า สามเณรอินแสง ตาบุรี  ต่อมาปีเศษได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดมหาวัน เพื่อศึกษาต่อที่วัดพระธาตุหริภุญไชย ประมาณปี พ.ศ.2462 สมัยนั้นได้มีการขุดหาพระรอด กรุวัดมหาวัน ราคาเช่าบูชาสมัยนั้นองค์ละประมาณ 50 สตางค์ ถึง 2 บาทเท่านั้น และมักจะเลือกเอาเฉพาะองค์ที่สมบูรณ์ องค์ที่หักชำรุด จะทิ้งไว้ตามโคนต้นไม้ใหญ่ 
 ...สามเณรอินแสง จึงคิดว่าจะนำเศษพระรอด และพระเครื่องอื่นๆที่พบจากกรุวัดมหาวัน มากดพิมพ์ใหม่และใช้เวลาเก็บรวบรวมเศษพระสกุลลำพูนทุกพิมพ์ที่อยู่ในวัดมหาวันประมาณ 2 ปี จนสามเณรอินแสงมีอายุ 16 ปี จึงได้ไปขอยืมแม่พิมพ์จากเพื่อนสามเณรมาเป็นแม่พิมพ์ และนำเศษพระรอดและพระพิมพ์อื่นหักชำรุดที่รวบรวมไว้มาบดละเอียด ผสมกับดินขอ (ดินเหนียวที่นำมาเผาทำกระเบื้องมุงหลังคา สมัยก่อน) 
  ...เมื่อกดพิมพ์แล้วนำไปเผาจนได้ที่ พระรอดกรุน้ำต้น จึงมีหลายสี เช่น พิกุล เขียว เหลือง และน้ำตาลฯลฯอันเกิดจากการเผาที่สัมผัสไฟไม่เท่ากัน  และเป็นการสร้างเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ได้จำนวนพระประมาณสองหรือสามคุน้ำ จากนั้นได้นำไปเข้าพิธีต่างๆ อยู่หลายพิธี หลังจากผ่านพิธีได้แจกจ่ายไปเป็นจำนวนมากพอสมควร ที่เหลือทั้งหมดได้รวบรวมบรรจุลงใน น้ำต้น (คนโทน้ำ) ขนาดกลาง และได้เก็บไว้ส่วนตัวเล็กน้อย ก่อนสึกจากสามเณรอินแสง ได้นำพระรอดที่บรรจุในน้ำต้น ขุดดินฝังไว้ในวัดมหาวัน พร้อมกับปลูกต้นลำไยไว้เหนือหลุม เพื่อเป็นเครื่องหมาย 
 ...ในปีพ.ศ.2549 มีบทสัมภาษณ์ ลุงถวิล วิลสา ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์การแตกกรุของพระรอดน้ำต้นได้เล่าว่า  นายปั๋น และนายมนต์ เป็นผู้ขุดได้ พระอยู่ในหม้อดินเผา ลึกประมาณ 1 เมตร ใกล้ประตูหลังของวัดมหาวัน จำนวนหลายร้อยองค์ และยังขุดพบบริเวณใกล้โรงครัว ภายหลังที่มีการซ่อมแซมอุโบสถก็ยังพบพระจำนวนหนึ่งบริเวณอุโบสถอีกด้วย ลุงถวิลยังได้เช่าพระรอดน้ำต้น จากนายมนต์ หนานโผน และเจ้าคุณพระญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดมหาวันในสมัยนั้น องค์ละ 200-300 บาท ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครทราบประวัติการสร้าง ได้แต่อาศัยตาเซียนรุ่นใหญ่ ทั้งลุงเสมอ บรรจง ,พี่ศิริ คูวิบูลย์ศิลป์ มีความเห็นตรงกันว่า เป็นพระเก่าจริงก็เลยเช่ากันคนละหลายสิบองค์”  
...เมื่อมาสืบค้นประวัติการสร้างพระรอดน้ำต้นแล้ว ก็ตรงกับความเชื่อของนักนิยมพระท้องถิ่นว่า พระรอดน้ำต้นมีเพียงพิมพ์เดียว มีทั้งพระลงกรุ และไม่ลงกรุ พระที่ลงกรุจะมีคราบรารักดำ ปกคลุมผิวพระ บางองค์มีคราบปูนขาวเกาะอยู่ตามซอกแขน พระที่ยังไม่ผ่านการสัมผัสมาผิวพระจะแห้งจัด  ส่วนพระที่ไม่ลงกรุ ผิวพระจะสะอาดกว่า ด้านขนาดของพระเมื่อเทียบขนาดกับพระรอดแขนติ่ง และพระรอดครูบากองแก้ว พิมพ์เล็กนิยม ขนาดจะใหญ่กว่าเล็กน้อย 
   พระรอดน้ำต้น ส่วนใหญ่จะมีปีกโดยรอบ เพราะเวลากดพิมพ์พระเสร็จแล้ว สามารถถอดพิมพ์ออกมาโดยไม่ได้ตัดขอบ เมื่อพิจารณาดูด้านล่างขององค์พระ จะมีรอยย่นพับขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการงัดก้นพระออกตอนถอดพิมพ์  ที่สำคัญความเก่าของเนื้อพระเป็นอีกจุด ที่สามารถใช้เป็นหลักในการแยกพระแท้พระปลอมได้เช่นกัน ความเชื่อในพุทธคุณของพระรอด นอกจากความหมายจากการอยู่รอดปลอดภัยแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวงแล้ว ยังมีเรื่องของโชคลาภ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอันเกิดจากผู้ที่นำไปบูชาแล้วเกิดประสบการณ์ตรงและมาถ่ายทอดต่อกันมาเป็นเหตุให้ความนิยมเพิ่มพูนขึ้น อีกทั้งพระรอดน้ำต้นมีมวลสารหลักคือผงพระรอดเก่าและพระสกุลลำพูนที่แตกหักชำรุด แถมราคาเช่ายังไม่แพงเมื่อเทียบกับพระรอดกรุมหาวันโดยตรงทำให้ความต้องการมีมากขึ้นหลังจากที่รู้ประวัติการสร้าง แถมจำนวนการสร้างมีไม่มากนัก จึงนับเป็นความโชคดีของผู้ที่ได้ครอบครอง. 

องค์นี้ใช้มา เนื้อจัด ประกันตามกฎนะครับ
ราคาเปิดประมูล1,599 บาท
ราคาปัจจุบัน1,619 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ก.ย. 2563 - 10:34:30 น.
วันปิดประมูล - 19 ก.ย. 2563 - 23:07:47 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลไร้นาม99 (2.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,619 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    mawpong (621)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1