รายละเอียด | คาถาบูชาข้าวสารหิน
ตั้งนะโม 3 จบ แล้วตั้งจิตอธิษฐานแล้วว่าดังนี้
พละวะโภชนัง อุตตะมะลาภัง มัยหังสัพพสิทธิตัง โหตุ
ด้วยบารมีของแม่โพสพ ที่เลี้ยงมนุษย์มาตั้งแต่เล็กจนโต มนุษย์คนไหนกินข้าว ขอให้มาช่วยกันทั้งหมด โอม..... มนุษย์ฉุดกันมา มามิ มามา มาด้วย นะโมพุทธายะ
พุทธคุณ
ผู้ใดมีข้าวสารหินติดตัว ติดบ้านเรือนจะร่ำรวย มีกินมีใช้ ไม่อด ไม่อยาก กันคุณไสย กันการกระทำจากมนต์ดำ หรือของเขมร กะเหรี่ยง กันคุณผี คุณคน หรือคนที่ถูกผีอำ
ผู้ใดมีข้าวสารหินศักดิ์สิทธิ์ จะมีเงินไม่ขาด ผู้ใดค้าขายให้ตักน้ำฝนมา 1 แก้ว แล้วเอาข้าวสารหินศักดิ์สิทธิ์ แช่ลงไปแล้วอธิษฐาน เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปประพรมสินค้า จะขายดีมาก เป็นเมตตามหานิยมแก่ชาย หญิง และเทวดาทั้งหลาย แม้แต่สัตว์ต่างๆก็ไม่กล้ามารบกวน
กรมทรัพยากรธรณี ข่าว : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (คอลัมน์ : ข่าวต่างประเทศ)
พบข้าวสารเป็นหินอายุ 1,454 ล้านปี
( 4 พ.ย. 47)สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย รายงานว่า พบข้าวสารเป็นหินที่สำนักสงฆ์ถ้ำข้าวสารหินบ้านผาสะนา ตำบลทรัพย์ไพวัลย์ กิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ถูกเปิดเผยขึ้นโดยพระอาจารย์บุญถม อุทฺยญาโณ ปัจจุบันเป็นเจ้าสำนักสงฆ์ถ้ำข้าวสารหิน เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้เดินธุดงมาพบถ้ำและได้จำพรรษา ปรากฏในนิมิตเห็นผู้ชาย 3 คน เดินเข้ามาในถ้ำนำข้าวสารหินเพชรโบราณมาถวาย เพื่อทดแทนพระคุณเจ้าที่มาโปรดทั้ง 3 คน บอกว่าเป็นภูมิประจำถ้ำ ข้าวสารหินมีอยู่ด้วยกันหลายสี คือ สีเขียว, แดง และสีดำ ซึ่งในนิมิตเจ้าภูมิบอกว่าข้าวสารหินเพชรโบราณใช้ได้สารพัดนึก และอยู่ทางขึ้นถ้ำ เมื่อพระอาจารย์บุญถมไปดูก็เป็นจริงตามที่นิมิตในคืนนั้น
ปัจจุบันข้าวสารหินเพชรโบราณ ได้นำมาบรรจุไว้ในพิพิธภัณฑ์ในสำนักสงฆ์ถ้ำข้าวสารบ้านทรัพย์ไพวัลย์ กิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ซึ่งกรมทรัพยากรธรรมชาติได้รับรองเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 และมีอายุประมาณ 1,454 ล้านปี (เป็นมรดกโลกอันดับที่ 5) เจ้าสำนักสงฆ์ถ้ำข้าวสารหิน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อปี พ.ศ.2546 ได้ขึ้นไปจำพรรษาในถ้ำน้ำบนเขาลูกเดียวกันนี้ โดยพระอาจารย์บุญถม อดอาหารอยู่ 1 เดือน ก็ปรากฏว่ามีปลาไหลทองออกมา โดยนิมิตว่าเป็นปลาไหลพญานาค ปัจจุบันก็อยู่ในสำนักสงฆ์ถ้ำข้าวสารหิน และเป็นที่อัศจรรย์ว่า ปลาไหลไม่กินอาหารโดยตรง (ปลาไหลอิ่มทิพย์) เพียงแต่ในนิมิตบอกว่ากินองุ่น, ชมพู่, น้ำชา และธูป 1 ดอก วางไว้ข้างนอกตู้เท่านั้น ก็มีชีวิตชีวาอยู่ได้ถึงปัจจุบัน |