(0)
ปิดตานพเกล้าหลวงปู่พรหมมา สำนักสงฆ์สวนผาหินนางคอย จ.อุบลราชธานี








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องปิดตานพเกล้าหลวงปู่พรหมมา สำนักสงฆ์สวนผาหินนางคอย จ.อุบลราชธานี
รายละเอียดพระรุ่นนี้เกิดมาจากดำริของอาจารย์เบิ้มที่คิดสร้างขึ้นเพื่อหารายได้สร้างเสนาสนะถวายหลวงปู่พรหมมา โดยมวลสารนั้นเป็นแผ่นยันต์ และโลหะที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากมาย ถ้าให้บอกหมดผมคงต้องพิมต่อสัก 1 อาทิตย์อ่ะครับ ยกตัวอย่างบางส่วนเช่น แผ่นเงินบริสุทธิ์ลงยันต์ของ หลวงปุ่โต๊ะ,หลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่ฝั้น และแผ่นยันต์ของศิษย์สายพระอาจารย์มั่นรวมทั้งพระเกจิทั่วสารทิศในสยาม อีกนับร้อยนับพันแผ่น ที่สำคัญคือแผ่นยันต์ที่หลวงปุ่พรหมมาจารให้ในถ้ำจำนวน 1 ปี๊ปเต็มๆ และที่สำคัญสุดยอดคือ แผ่นจารยันต์ของอาจารย์เบิ้มที่ทำด้วยทองคำแท้ๆ มีน้ำหนักถึง 50 บาท ชนวนจากพระกริ่งรุ่นต่างๆอีกนับไม่ถ้วนและเหรียญหลวงปุ่แหวน,หลวงปู่โต๊ะ,หลวงปู่สิม,หลวงพ่อเกษม และอาจารย์ต่างๆนับร้อยเหรียญ องค์เททองคือหลวงปุ่ดี วัดสุวรรณาราม จ.นครปฐม ซึ่งท่านเป็นศิษย์มือซ้ายของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ท่านได้บอกในระหว่างทำพิธีว่า วันนี้ดีมาก เทพพรหมลงมาอนุโมทนากันมาก ของในพิธีนี้ดีจิงๆ และเมื่อพระเย็นตัวลงเตรียมทุบเบ้า หลวงพ่อชู วัดเขากะป่อม จ.ชลบุรี ซึ่งมาที่โรงหล่อในวันนั้นพอดี เพื่อเททองหล่อรูปเหมือนบูชาหลวงพ่อพุธ ได้ตรงมาดูและสัมผัสพระที่ทุบเบ้าแล้ว ท่านถึงสะดุ้งสุดตัวและบอกว่า พระอะไรศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ ขอชนวนไปหล่อพระบ้างได้ไหม อ.เบิ้ม เลยบอกไปว่าพระนี้ยังไม่ได้ผ่านการปลุกเสกเลย ท่านพูดสวนทันที พระนี้ดีอยุ่แล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรเลย แขวนได้เลย สำหรับพิธีการเสก อ.เบิ้มได้นำเข้าพิธีพุทธาพิเศก มาไม่ต่ำกว่า 30 พิธี ทั้งที่วัดพระแก้ว,วัดสุทัศน์,วัดบวร เป็นต้น ที่สำคัญการปลุกเสกเดี่ยวนั้น เอาเป็นว่า ตั้งแต่ช่วงปี2534-2538 มีอาจารย์องค์ไหน ที่เรานับถือ ที่เราชอบใจ เสกแล้วทั้งนั้น ส่วนองค์ที่เสกบ่อยสุดเห็นจะเป็น หลวงปุ่เกษม เขมโก,หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม,หลวงพ่ออุตตมะ,หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร,หลวงปู่คำพันธ์ พระปิดตานพเก้า สร้างขึ้นทั้งหมด 3 เนื้อ ประกอบด้วย 1. เนื้อเงิน 56 องค์ (ใช้ชนวนโลหะเงินชุดเดียวกับพระมหาฤษีแก้วสารพัดนึกครับ) 2. เนื้อสตางค์ 56 องค์ (ใช้เหรียญเงิน ทั้งเหรียญบาท เหรียญ 50 สตางค์ 25 สตางค์ รวมถึงเหรียญเงินต่างประเทศ จำนวน 1 ปี๊บขนมปัง ซึ่งเป็นของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ทั้งหมดได้เก็บสะสม และเสกมานานหลายสิบปี ผสมกับชนวนโลหะเนื้อเงินครับ) 3. เนื้อโลหะผสมพิเศษ (ใช้ชนวนโลหะเดียวกันกับพระมหาฤษีแก้วสารพัดนึก) สร้างขึ้นราว 800 องค์ครับ ในส่วนของเนื้อโลหะผสมพิเศษนี้ ช่อแรกสุดจะเป็นแบบแก่ทองและแก่ชนวน เนื่องจากเทเป็นชุดแรกๆ อย่างองค์ในภาพ จะเป็นพระในชุดช่อแรก อ.เบิ้ม ได้นำมาอุดผง , ตะกรุดทองคำของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ตลอดจนเส้นเกศาของครูบาอาจารย์องค์สำคัญๆ รวม 32 องค์ครับ
ราคาเปิดประมูล2,500 บาท
ราคาปัจจุบัน2,900 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 05 เม.ย. 2564 - 17:33:36 น.
วันปิดประมูล - 12 เม.ย. 2564 - 19:38:19 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnonsiam1995 (1.9K)(7)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 05 เม.ย. 2564 - 17:35:25 น.



งดถามราคาปิดขอบคุณครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 05 เม.ย. 2564 - 17:36:15 น.



สุดยอดพระปิดตาอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งชนวนมวลสารและพิธีกรรมปลุกเสกครับ ^^

ประวัติการสร้างที่ได้คัดลอกมาจากผู้สร้างครับ

สร้างขึ้นจากแผ่นเงินที่ลงพระยันต์ต่างๆ และผ่านการอธิษฐานจิตจากครูบาอาจารย์ผู้ทรงอภิญญา จำนวนหลายร้อยแผ่น อาทิ 1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ 2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ 3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ฯลฯ นำมาผสมกับเหรียญกษาปณ์เนื้อเงินทั้งของไทยและของต่างประเทศที่ผ่านการปลุกเสกจากหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร นานกว่ายี่สิบปี เป็นชนวนโลหะหลักในการจัดสร้าง


ปี พ.ศ. 2534 เป็นปีที่หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินฯ ภูกระเจียว เริ่มอุ่นเครื่องเรื่องชื่อเสียง ข่าวขลังของท่านแพร่กระจายไปในหมู่ผู้นิยมพระ ดังไฟลามทุ่งบนวัดที่แสนกันดารปราศจากไฟฟ้า และน้ำประปา แทบไม่มีแม้ศาลาให้สานุศิษย์อาศัยนอนพักหลบแดดฝนใด ๆ เมื่อยามบากบั่นขึ้นไปหาท่านประสาศิษย์ที่ดีมีกตเวทิตา อาจารย์เบิ้มจึงคิดทำพระถวายหลวงปู่พรหมา เพื่อสร้างเสนาสนะอย่างเป็นทางการ
อาศัยที่อยู่กับหลวงปู่โต๊ะมานาน และเรียนรู้วิทยาคุณกับท่านอาจารย์รอด สุขเจริญ ฆราวาสผู้ขลังสุดขีดในไสยเวทพุทธาคม ด้วยอาจารย์รอด เป็นศิษย์แท้ๆ ของพระครูวิมลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ทว่าท่านบวชอยู่กับหลวงปู่ศุขได้เพียง 30 พรรษา ก็จำต้องลาสิกขามาครองขาว หากยังเป็นพระอยู่คงไม่แคล้วดังสนั่น
เมื่อมีครูดี การทำของก็ต้องทำให้ดี อาจารย์เบิ้มจึงเน้นเรื่องชนวนมวลสารมาก และไม่ต้องไปหาไกลเท่าใดนัก ค้น ๆ เอาในบ้านก็มากมาย เพราะเก็บสะสมไว้แต่หนุ่มแต่น้อย อาจารย์เคยบอกผมว่าไม่จดเรื่องชนวน เกรงคนจะหาว่าโม้ เชื่อก็เอา ไม่เชื่อก็อย่าเอาไป หากสุดท้ายอาจารย์ก็ใจอ่อน ยอมปรารภให้ฟังถึง ‘บางส่วน’ ของมวลสารดังนี้
1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ
2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
และจะไม่กล่าวถึงแผ่นยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยแผ่นที่พระเถรานุเถระในสายอีสานอันเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาลงให้ไว้แต่นานเน ทั้งยังพระยันต์เก่าเก็บจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกเป็นกุรุสโกดัง ถึงขนาดอาจารย์ออกปากว่า “เสร็จงานนี้บ้านโล่งไปเยอะ”
ที่สำคัญยิ่งคือ แผ่นทองแดงลงอักขระยันต์ และคาถาต่างๆ นับพันบท ซึ่งจารโดยมือของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง ได้ลงไว้มีจำนวนทั้งสิ้น 1 ปิ๊บเต็ม ๆ ทองแดงบางอย่างกระดาษวางลงในปีบจนเต็มมันจะมีกี่แผ่น?
หลวงปู่พรหมาเสกปี๊บยันต์บน ‘คาย’ ในถ้ำอยู่นานมาก แล้วมอบให้ประสมกับชนวนพระกริ่งปวเรศ (ปี 2530) ซึ่งในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองโดยพระหัตถ์เอง สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานพิธี, ชนวนพระกริ่งหลายรุ่นของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่มีจำนวนพอสมควร มิใช่นิดหน่อยแล้วเขียนเอา , ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์, ชนวนพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง, ชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ชนวนพระกริ่งอรหัง ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, ชนวนพระกริ่งพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ , ชนวนพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ของหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.เชียงราย, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เรื่องชนวนถ้าต้องเขียนจริง ๆ อาจต้อง 5 เล่มจบ จึงขอจบตรงนี้พอ
นอกจากนี้ยังมีเหรียญหลวงปู่แหวน สุจิณโณ, เหรียญหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร, เหรียญหลวงปู่เกษม เขมโก, เหรียญหลวงพ่อแช่ม ฐานุสสโก แต่ละองค์นับร้อยเหรียญ ถ้ารวมพระคณาจารย์ต่าง ๆ ก็นับพันเหรียญ
ยังปรากฏชนวนศักดิ์สิทธิ์อาถรรพณ์ต่าง ๆ ที่ไม่อาจเปิดเผยที่มาได้ อาทิ พระเกศ และนิ้วพระหัตถ์ชำรุดของพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในประเทศไทย ตะกรุดชินตะกั่วโบราณ อายุ 200 ปี ตะปูสังขวานร เหล็กยอดเจดีย์ เหล็กยอดปราสาท โลหะธาตุวิเศษนานาที่เป็นทนสิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ในตัวเองถูกเชิญมาสู่เบ้าหลอมสร้างเป็นพระทั้ง 3 พิมพ์
ที่สำคัญสุดยอดคือ พระยันต์บังคับทั้ง 108 ดวงและนะปถมัง 14 นะ อันเป็นสูตรโบราณในการเทพระสำคัญ ถูกจารลงในแผ่นทองคำบริสุทธิ์แท้จนครบตำรา มีน้ำหนักทั้งสิ้นถึง 50 บาท
ส่งผลให้พระชุดนี้มีทุนสร้างมหาศาล หากไม่ใช่เพราะใจรัก และอาศัย ‘คุณธรรม’ เป็นที่ตั้ง คงไม่อาจตัดใจทำลงได้แน่แท้

สรุปว่า การเทพระวาระนี้ไม่มีโลหะเปล่าอันมิใช่ของวิเศษเจือปนลงไปให้เป็นที่ครหาเลยแม้แต่น้อย ชนวนน้ำหนักมากมายหลายสิบกิโลถูกนำมาวางเรียงรายบนโต๊ะยาวปูผ้าขาว แล้วทำการบันทึกภาพพร้อมถ่ายวีดีโอเป็นหลักฐานก่อน ต่อเนื่องไปถึงการหลอมเป็นเนื้อเดียว แล้วเททอง

องค์เททอง อาจารย์เบิ้มกำหนดที่ หลวงปู่ดี วัดสุวรรณาราม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่อาจไม่ปรากฏชื่อเสียงแพร่หลายนัก เพราะท่านเก็บตัวเนื่องจากอาพาธด้วยโรคตา โดยเหตุที่ท่านเป็นศิษย์มือซ้ายของ พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่บุญจะใช้ท่านจารคัมภีร์คัดลอกตำราต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ เพราะท่านมีลายมือในการเขียนขอมได้อย่างสวยงามยิ่ง กระทั่งหลวงปู่ดีอายุได้ราว 80 ปี สายตาท่านก็เริ่มเสื่อมเรื่อยมาจนมองไม่เห็นในที่สุด ท่านจึงงดรับนิมนต์ใดๆ และแขกเหรื่อท่านก็ไม่สะดวกรับ

แม้ในวันที่อาจารย์เบิ้มท่านไปกราบอาราธนา ศิษย์ท่านยังพูดอย่างหวังดีว่า อย่านิมนต์ให้ยากเลย เสียเวลาเปล่า ครั้นได้เข้ากราบและเล่าความ ท่านกลับแสดงความกระตือรือร้นที่จะไปสอบถามวันเวลา สถานที่เป็นอย่างดีแล้วก็รับนิมนต์
การณ์นี้สร้างความประหลาดใจให้ศิษย์ของท่านยิ่งนัก ยิ่งหนักเข้าไปอีกเมื่อหลวงปู่บอกว่า “รอเขาอยู่นาน” เมื่อพระเถระผู้เฒ่า ชนมายุ 90 ปี ไปเททองให้ตามวันเวลากำหนดแล้ว ท่านพูดในพิธีว่า วันนี้ดีมาก เทพ พรหม ลงมาอนุโมทนากันมากของในพิธีนี้ดีจริงๆ แล้วท่านก็ลากลับวัดไป เพียงไม่ถึงเดือน ท่านก็มรณภาพ ดังคำที่ว่า

“รอเขาอยู่”
มีเรื่องแปลกสมควรบันทึกไว้ คือ เมื่อเททองเสร็จกำลังรอให้โลหะเย็นตัวเพื่อทุบเบ้า ตรวจนับพระ ได้มีคณะบุคคลหนึ่งเข้ามาในโรงหล่อ เพื่อประกอบพิธีเททองเช่นกัน บุรุษอาวุโสในกลุ่มนึกอย่างไรไม่ทราบตรงเข้ามาขอดูพระบางช่อที่ทุบเบ้าออกแล้ว ครั้นจับสัมผัสเข้าก็สะดุ้งสุดตัวเรียกร้องให้พระภิกษุวัยกลางคนมาพิจารณา

เมื่อพระรูปนั้นถือท่านก็หลับตาลงอย่างตั้งใจ ทำอาการดุจตรวจสอบอะไรบางอย่าง แล้วลืมตาอย่างตื่นเต้น พลางว่า “นี่พระอะไรศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ อาตมาขอชนวนไปหล่อพระบ้างได้ไหม” อาจารย์เบิ้มเรียนตอบว่า ยังไม่อาจถวายได้ เพราะยังไม่ได้ตัดออกจากช่อ และยังไม่ได้นับจำนวน ท่านจึงถามว่า พระนี้ขอบูชาไปบ้างได้ไหม อาจารย์ว่า ยังไม่ได้ปลุกเสกเลย ท่านสวนตูม พระนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องทำพิธีอะไร แขวนได้เลย กลุ่มบุคคลนั้น จึงขออนุญาตเดินเก็บเศษทองที่หล่นอยู่รอบๆ เบ้าไปแทน
รื่องนี้ประหลาดดี แสดงว่าคณะนั้นต้องได้สมาธิ จนสามารถตรวจเช็คพระได้ ดังศิษย์ของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลายท่าน เมื่อสอบถามภายหลังจึงทราบว่า คณะนั้นมาเพื่อเทหล่อรูปเหมือนบูชาของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ถ้าอย่างนั้นผมขอเดาว่าบุรุษภูมิฐานท่านนั้นคงเป็นคุณหมอเสรี วรรณไกรโรจน์ ศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อพุธ และพระเถระรูปนั้นต้องเป็นท่านพระอาจารย์ชู วัดเขากะป่อม อ.เมือง จ.ชลบุรี ไม่สงสัย เพราะท่านอาจารย์ชูรูปนี้ สามารถสัมผัสพลังพระเครื่องได้แม่นยำน่ามหัศจรรย์ แม้หลวงพ่อพุธก็ยอมรับในข้อนี้ และคุณหมอเสรีเองก็เป็นศิษย์ท่านอาจารย์ชูที่ได้รับการถ่ายทอดวิชามาด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์นี้ยืนยันได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระชุดนี้โดยแท้ แค่หลอมโลหะธาตุอันวิเศษเข้าด้วยกันประกอบพิธีเททองตามฤกษ์ยาม วันเวลาอันเป็นมงคล บวงสรวงตามตำราแท้แต่โบราณก็มีอานุภาพมากเพียงนี้ หากประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างสมบูรณ์ด้วยแล้วจะเลิศเพียงใด
อาจารย์เบิ้มได้นำพระทั้ง 3 พิมพ์ เข้าพุทธาภิเษกในวาระต่าง ๆ ไม่เคยหยุด ไม่ว่าจะเป็นวัดพระแก้วฯ, วัดสุทัศน์ฯ, วัดราชบพิตรฯ, วัดบวรนิเวศน์ฯ, วัดอินทารามฯ, เป็นต้น เฉพาะวัดที่กล่าวนามมาก็ไม่ต่ำกว่าวัดละ 5 พิธีเสก และพระทั้งหมดได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกมาทั่วประเทศ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 30 พิธี

หากจะนับคณาจารย์ที่ปลุกเสกก็ไม่ต่ำกว่า 300 พระอาจารย์ และการนำไปอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว อาจารย์เบิ้มนำไปด้วยตนเอง จนคร้านจะไป เหตุที่พระนี้สร้างในปี พ.ศ. 2534 ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษยังปรากฏอยู่มากมาย การนำเสกจึงเป็นไปอย่างสนุกใจคนทำ
หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่แช่ม ฐานุสโก, หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ, หลวงปู่พรหมา เขมจาโร, หลวงปู่คำพัน โฆษะปัญโญ ดูจะเป็นองค์เสกชุดนี้อย่างบ่อยที่สุด นอกนั้นทั่วประเทศอาจารย์บอกผมอย่างเหนื่อยใจจะอธิบายว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2538 ชอบใจหลวงพ่ออะไร นับถือใครเอ่ยชื่อมาเลย...เอ่ยมาเถอะ... เสกแล้วทั้งนั้น!

ให้บอกว่าใครบ้างที่เสกมันเหนื่อย พูดชื่อออกมาแล้วให้บอกว่าองค์นี้ไม่ได้เสกมันง่ายกว่า อหังการดีไหม?

ผมเชื่ออาจารย์เบิ้ม เพราะพระนี้เคยแสดงอภินิหารให้คนใกล้ตัวผมได้ประจักษ์มาแล้วมากราย ผมเองก็ทำตลับใส่ปู่ฤษีแก้วสารพัดนึก แขวนคออยู่เป็นประจำ ด้วยท่านเป็นพรหมาฤษีที่ทรงฤทธานุภาพสูงสุดในหมู่ฤษีทั้งปวง การครองผ้าขาวอย่างโยคีแสดงถึงพรตแห่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ ไม่อาจครองหนังเสือเยี่ยงฤษีทั่วไป และโดยบุญบารมีที่ไพศาล จึงปรากฏดวงแก้วสารพัดนึกเป็นของคู่บารมีเฉกเช่นหลวงปู่ทวด วัดช้างให้
พระทุกแบบ พิมพ์ปิดตาหายากที่สุด ยากจนไม่มีรูปจะลงให้ดู ขอเป็นโอกาสต่อไปแล้วกัน คงมีเพียงปิดตานพเก้ากับปู่ฤษี พระทุกเนื้อเป็นนวโลหะแท้กลับดำ ไม่ทราบว่าหมดไปจากอาจารย์เบิ้มหรือยัง หากประสงค์จะทราบรายละเอียดมากกว่านี้ หาตัวอาจารย์เบิ้มให้พบ ถ้าไม่รู้ที่ ให้ไป ‘ร้านปลาวาฬ’ ถนนราชดำเนิน อาจารย์จะอยู่ที่นั่นทุกวัน ช่วง 1 ทุ่ม ถึง 3 ทุ่ม ไม่รู้จักตัวจงมองหาชายวัยกลางคนใส่ แว่น มีกระเป๋าหนังใบเล็กอยู่ใกล้ตัว นั่นละ...
พบท่านแล้วจะโชคดี


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 05 เม.ย. 2564 - 17:37:48 น.



งดถามราคาปิดครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 05 เม.ย. 2564 - 17:37:57 น.



งดถามราคาปิดครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 05 เม.ย. 2564 - 17:38:10 น.



งดถามราคาปิดครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     2,900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    CowSPC (367)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM