(0)
เหรียญหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย ปี 2520 เนื้อทองแดง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย ปี 2520 เนื้อทองแดง
รายละเอียดหรียญหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ปี 2520 ถือได้ว่าเป็นวัตถุมงคลยอดนิยมอีกรุ่นหนึ่งที่ชาวหนองคายและสาธุชนที่มีจิตศรัทธาทั้งหลายปรารถนาอยากได้ไว้บูชาและมีประสบการณ์มากมายเหรียญหนึ่ง ได้จัดสร้างขึ้น โดยทางวัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง ได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล “หลวงพ่อพระใส” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดหนองคาย และพื้นที่ใกล้เคียง ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2520 มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงมากมายในสมัยนั้น เข้าร่วมพิธีด้วย โดย แบ่งพระคณาจารย์ เข้านั่งปรกในพิธีทั้งสิ้นถึง 5 ชุด ปรากฏรายละเอียดดังนี้
ชุดที่ 1 เริ่มเข้านั่งปรก 20.00 น. – 22.00 น. ปรากฏรายนามพระคณาจารย์ดังนี้
1. พระรักขิตวันมุนี(หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
2. พระสังวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
3. พระครูศีลสารสัมบัน(พระอาจารย์สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทองพิษณุโลก
4. พระครูพิลาสธรรมกิตติ์(พระอาจารย์ทวี) วัดโรงช้าง พิจิตร
5. พระครูธรรมาชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
6. หลวงปู่สำลี ปกาโส วัดซับบอน สระบุรี
7. หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
8. หลวงพ่อคำแสน ไชยวุฒิ วัดท่าแหน ลำปาง
9. พระอาจารย์อ่อน วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี
10. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่
11. พระอาจารย์จวน วัดภูทอก หนองคาย
ชุดที่ 2 เริ่มเข้านั่งปรก 22.00 น. – 24.00 น. ปรากฏรายนามพระคณาจารย์ดังนี้
1. พระโสภณวิสุทธิเถร วัดศรีละขัน สุพรรณบุรี(สะกดตามต้นฉบับ) ที่ถูกคือ พระโสภณวิสุทธิเถร วัดศีลขันธ์ อ่างทอง
2. พระอุดมวุฒิคุณ วัดสำเภา เชียงใหม่
3. พระเกษมธรรมานนท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
4. พระครูประภาสธรรมาภรณ์ วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก
5. พระครูรัตนานุรักษ์ (พระอาจารย์แก้ว) วัดปงสนุกใต้ ลำปาง
6. พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน อุดรธานี
7. พระอาจารย์จ้อย จันทสุวรรณโณ วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์
8. หลวงพ่อศรีทัต วิปัสสโน วัดธาตุหนองสามหมื่น ชัยภูมิ
9. เจ้าอธิการบุญชุบ พินนโค วัดเกาะวาธุการาม ลำปาง
10. พระครูมงคลศิลวงศ์ วัดบุพพราม เชียงใหม่
11. พระครูเหรียญ วัดผาชัน อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย
ชุดที่ 3 เริ่มเข้านั่งปรก 24.00 น. – 02.00 น. ปรากฏรายนามพระคณาจารย์ดังนี้
1. พระครูวิมลกิจจารักษ์ (พระอาจารย์สิริ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
2. พระครูศรีภูมานุรักษ์ วัดป่าสามัคคีธรรม สกลนคร
3. พระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ (พระครูบาไฝ) วัดพันอ้น เชียงใหม่
4. พระครูบวรชินรัตน์ (พระอาจารย์บุรัชย์) วัดนางพญา พิษณุโลก
5. พระครูสนิทวินัยการ (พระอาจารย์สนิท) วัดท่าโขลง ลพบุรี
6. พระครูปิยธรรมภูษิต (พระอาจารย์คำ) วัดบำรุงธรรม สระบุรี
7. พระครูอ่อนศรี วัดพระงาม ท่าบ่อ หนองคาย
8. พระปลัดกอง จันทวังโส วัดกษัตราธิราช อยุธยา
9. พระอาจารย์สน เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์น้อย นครพนม
10. พระอาจารย์บุญ ชินวังโส วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
11. ญาท่านบุญมาก วัดท่าไร่ หนองคาย
ชุดที่ 4 เริ่มเข้านั่งปรก 02.00 น. – 04.00 น. ปรากฏรายนามพระคณาจารย์ดังนี้
1. พระครูกิตตินนทคุณ (พระอาจารย์กี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี
2. พระครูสังคมคณารักษ์ วัดสังคมธรรมาราม หนองคาย
3. พระครูภาวนาภิสนฑ์ วัดโชติรสธรรมกร สกลนคร
4. พระครูสังฆรักษ์สัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
5. พระครูอินทศิริชัย วัดไทย นครปฐม
6. พระอาจารย์ชาย วัดสังทอง มหาสารคาม
7. พระอาจารย์แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธนนม นครพนม
8. พระครูโอภาสประทุม โพนพิสัย หนองคาย
9. พระครูสิริธรรมญาณ วัดลำดวน ท่าบ่อ หนองคาย
10. พระอาจารย์คำแหวน สิริปัญโญ วัดบ้านห้วยดอกไม้ หนองคาย
ชุดที่ 5 เริ่มเข้านั่งปรก 04.00 น. – จนดับเทียนชัย ปรากฏรายนามพระคณาจารย์ดังนี้
1. พระโบราณคณิสสร (พระอาจารย์ใหญ่) วัดสระแก(สะกดตามต้นฉบับ)อยุธยา
2. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (พระอาจารย์สา) วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
3. พระครูประสาทวรคุณ (พระอาจารย์พริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
4. พระครูพิบูลธรรมเวศ (หลวงพ่อเปรื่อง) วัดหิรัญญาราม พิจิตร
5. พระครูสุวรรณวิสุทธิ วัดธัญญาวารี สุพรรณบุรี
6. พระครูญาณกิตติคุณ (พระอาจารย์ยุ่น) วัดตงยวด อุดรธานี
7. พระครูญาณวิภาค (ครูบาคำพันธ์) วัดดอนจีน เชียงใหม่
8. พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส สกลนคร
9. พระอาจารย์พันธุ์เทพ วัดศรีบุญเรือง เชียงใหม่
10. พระอาจารย์คูณ วัดท่าไร่??? หนองคาย (สะกดตามต้นฉบับ)
หมายเหตุ จากการค้นหารายชื่อวัดภายในจังหวัดหนองคายมีเพียง 2 วัด
• วัด บ้านไร่ ตำบล โพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก หนองคาย
• วัด เฝ้าไร่วนาราม บ้าน เฝ้าไร่ ตำบล เฝ้าไร่
อำเภอเฝ้าไร่ หนองคาย
หรืออาจเป็น วัดบ้านไร่ นครราชสีมา ????
11. ญาท่านสิงห์
นอกจากพระคณาจารย์ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าไปนั่งปรกตามรอบเวลา ทั้ง 5 ชุดแล้ว ตามเอกสารยังระบุนามพระที่นั่งปรกเป็นพิเศษโดยไม่จำกัดเวลาอีก 1 องค์ ได้แก่
• หลวงพ่อเจีย วัดถ้ำเจือ หนองคาย
ความน่าสนใจของวัตถุมงคลชุดนี้ แค่เพียงความศักดิ์สิทธิ์ของ “หลวงพ่อพระใส” พระคู่บ้านคู่เมือง เชื่อได้ว่าเพียงพอที่จะแผ่บารมีคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ของผู้ครอบครองได้ หากแต่เมื่อพิจารณาถึงรายนามพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งยุคนั้นทั้งหลายที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ในพิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นอย่างเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนพุทธศิลป์ที่สวยงามกดพิมพ์ได้คมชัดลึกแทบทุกองค์ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่วัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นที่นิยมของทั้งชาวหนองคายและผู้คนทั่วไป ซึ่งต่อมายิ่งโด่งดังมากขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ที่นำความโศกสลดมาสู่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ในวันที่ 27 เมษายน 2523 ในครั้งนั้นพระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้รับอาราธนาจากทางสำนักพระราชวัง ทั้งหมดจำนวน 5 รูปด้วยกัน ได้แก่คือ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม, พระอาจารย์วัน อุตฺตโม, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม
หลังจากรับนิมนต์พระคณาจารย์ทั้งหมดจึงได้ไปรวมกันที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อขึ้นเครื่องบินเที่ยวบิน TG 231 อุดรธานี-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเครื่องบิน 2 ใบพัด รุ่น HS-748 รหัส HS-THB บินออกจากท่าอากาศยานอุดรธานี จะไปลงที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เพราะลูกศิษย์ลูกหาต้องการถวายความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง ครั้นเมื่อเครื่องบินมาถึงท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ 4 ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เหลือระยะทางอีเพียงประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายุหมุน ประกอบกับมีพายุฝนตกลงมาอย่างหนัก มีลมกระโชกแรง เกินที่นักบินจะควบคุมเครื่องให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัย สุดท้ายจึงเสียการควบคุมตกลงมากระแทกกับพื้นดินบนท้องนาทุ่งรังสิต ทำให้ผู้โดยสารบนเครื่องจำนวน 53 คน เสียชีวิตไปถึง 40 คน อุบัติเหตุเครื่องบินตกในครั้งนั้นเป็นเหตุทำให้ พระคณาจารย์ทั้ง 5 รูป ได้ถึงแก่มรณภาพลงพร้อมกันกับผู้โดยสารอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเวลาประมาณ 14.00 นาฬิกา มีผู้ที่รอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์จากเหตุการณ์ดังกล่าวเพียง 13 คนเท่านั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นั่งทางส่วนท้ายของเครื่องบิน เพราะส่วนหางของเครื่องบินยังอยู่ในสภาพดี และหนึ่งในนั้นคือ นายสมพร กลิ่นพงศา ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายในขณะนั้น ส่วนอีกคนนั้น คือ นายศักดา อัครเมธาทิพย์ อดีตผู้บัญชาการเรือนจำหนองคาย ก่อนขึ้นเครื่องได้ไปนมัสการ หลวงพ่อพระใส พร้อมทั้งเช่าบูชาวัตถุมงคล และพระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้วนำติดตัวขึ้นเครื่องมาด้วย และอีกหลายคนที่รอดตายอย่งเหลือเชื่อนี้ ก็มีพระรุ่นนี้อาราธนาติดตัวอยู่เช่นกัน จากประสบการณ์เฉียดตายในครั้งนี้ ทำให้ความนิยมในวัตถุมงคลรุ่นนี้เพิ่มมากขึ้น จนนักสะสมในพื้นที่มักเรียกขานพระใสเนื้อผงรุ่นปี 20 นี้ว่า “รุ่นประสบการณ์(เครื่องบินตก)” นับเป็นพระใสเนื้อผงยอดนิยม ประสบการณ์สูง ที่คนพื้นที่หวงแหนกันมาก จนค่อนข้างจะหายากแล้วในขณะนี้ โดยเฉพาะพระสวยสมบูรณ์ กดพิมพ์ได้คมชัด ผิวเดิม ๆ คนที่มีอยู่ก็มักเก็บไว้เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลานไว้เป็น สิริมงคลแก่ตัว เป็นเหรียญที่ออกแบบได้ดี พุทธศิลป์สวยงาม ตามแบบฝีมือของช่างรุ่นเก่า และก็เป็นเหรียญค่อนข้างจะหายากแล้วในขณะนี้ ส่วนคนที่มีอยู่ก็เก็บไว้และเป็นเหรียญหลวงพ่อพระใสที่ประชาชนศรัทธา เสื่อมใส โดยเฉพาะชาวหนองคายครับ ประสบการณ์ในเรื่องแคล้วคลาดมาเยอะแล้ว
ประวัติการสร้างพระใส หลวงพ่อพระใส หรือ หลวงพ่อเกวียนหัก
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ พระใส ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
การประดิษฐานพระใส
เดิมทีนั้น หลวงพ่อพระใส ได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และ"พระใส"ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"
การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วน"หลวงพ่อพระใส"ได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของ"หลวงพ่อพระใส"จนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน140 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ส.ค. 2564 - 08:35:16 น.
วันปิดประมูล - 04 ส.ค. 2564 - 09:00:07 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpong636 (87)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     140 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Surachai2008 (88)

 

Copyright ©G-PRA.COM