ชื่อพระเครื่อง | พระขุนแผนผงพรายกุมารผสมผงแร่บางไผ่ พิมพ์ใหญ่ รุ่นบารมี หลวงพ่อรัตน์ อตฺตสาโร วัดป่าหวาย ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง / พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างถวาย |
รายละเอียด | พระรุ่นนี้ ปลุกเสกหลายวาระ ตั้งแต่ปี 2560 / หลวงพ่อรัตน์ ท่านเอาออกมาให้ร่วมทำบุญเช่าบูชา เมื่อปี 2563
พระขุนแผนผงพรายกุมาร ผสมผงแร่บางไผ่ พิมพ์ใหญ่ รุ่นบารมี
หลวงพ่อรัตน์ อตฺตสาโร วัดป่าหวาย ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พ.ศ.2560
(ขนาดกว้าง 2.0 X สูง 3.6 เซนติเมตร / จำนวนสร้าง 2,000 องค์
พระอาจารย์สมศักดิ์ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี สร้างถวาย
แร่บางไผ่ ตำนานพระปิดตาอันลือลั่น ที่วงการพระเครื่องยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระปิดตา เนื้อโลหะแร่บางไผ่ ที่ได้ถือ กำเนิดเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วที่จังหวัดนนทบุรี ด้วยพระภิกษุเชื้อสายเขมร นาม "หลวงปู่จันแห่งวัดโมลี " ประสบการณ์ และอภินิหาร อันเกิดจากแร่ศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ อานุภาพในตัวเอง เมื่อนำมาสร้างพระเครื่อง ประจุด้วยพุทธาคมที่เข้มขลัง ยิ่งทวีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น "แร่บางไผ่" ได้ตราตรึงอยู่ในหัวใจของนักเลงพระและคนไทยทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้พระแร่บางไผ่มีราคาสูง และมีการปลอมแปลงอย่างมากมาย เนื่องจากประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์และคุณวิเศษนั่นเอง
หลังจากนั้นแร่บางไผ่ได้หายสาบสูญไปจากวงการพระเครื่องนับร้อยปี พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข วัดนครอินทร์ เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิดเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวของพระปิดตาบางไผ่ มาเป็นเวลานานและตั้งใตแน่แน่วว่าถ้ามีวาสนาบารมี สามารถค้นพบแหล่งแร่บางไผ่ได้ จะนำมาสร้างพระแร่บางไผ่ขึ้นอีกครั้ง เพื่อเป็นการเชิดชูแร่บางไผ่ ซึ่งมีอยู่ที่เดียวในประเทศไทย ที่จังหวัดนนทบุรี และเจริญรอยตามปรมาจารย์ หลวงปู่จัน อันเป็นการเผยแผ่กิตติคุณตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของแร่บางไผ่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
นับเป็นความโชคดีของคนรุ่นใหม่ ที่พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข ได้เพียรพยายามจนค้นพบแหล่งแร่บางไผ่ที่คลองบางคูลัด นนทบุรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2536 จนเป็นข่าวเกรียวกราวมาแล้ว หลังจากค้นพบแล้วพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข ได้นำมาสร้างพระปิดตาแร่บางไผ่จนเป็นที่รู้จักและนิยมกล่าวขานกันอีกครั้งในยุคปัจจุบัน
ลำดับขั้นตอนการหล่อ-ปั๊ม พระแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี
1.ก้อนแร่บางไผ่ (แร่ดิบ) มาเผาจนแดงทั้งก่อน (สตุ)
2.นำก้อนแร่บางไผ่ ที่สตุแล้ว ไปตำ หรือ บด ให้ละเอียด เพื่อให้หลอมละลายง่ายๆ (สตุ คือการนำก้อนแร่ดิบเผาจนแดงทั้งก้อนแล้วปล่อยให้เย็นตัวลงเอง)
3.นำผงแร่บางไผ่ที่บดละเอียด ใส่เตาหลอม เบ้าหลอม
4.หลอมละลายให้ได้พอดีๆ ลักษณะเป็นเหมือนวุ้นสังขยา / เป็นลาวาแดงๆ แล้วจึงตักมาใส่แม่พิมพ์ แล้วกดพิมพ์เป็นองค์พระ ทีละองค์ๆ
5.เจียตะไบแต่งตะเข็บ แต่งองค์พระ เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม
การสร้างพระ
ใช้สูตรวิธีการสร้างพระแบบสมเด็จโต วัดระฆัง สร้างเสร็จแล้ว แช่น้ำได้ พระไม่ละลาย อายุพระอยู่ได้หลายร้อยปี (ปัจจุบันพระที่สร้างจากโรงงานแช่น้ำไม่ได้ พระจะพัง อยู่นานไปพระจะแตกหักชำรุด)
กรรมวิธีนี้นิยมสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อ 200 ปีที่ ปัจจุบัน มีน้อยวัดที่สร้างแบบวิธีของสมเด็จโต วัดระฆัง (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี ก็สร้างพระตามแบบของสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน (สุก) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน)
ลำดับขั้นตอนในการทำพระ(เนื้อผง)
1. หมักผงปูน แช่น้ำหลายๆน้ำ จนปูนจืดและตกตะกอนดีแล้ว จึงตักเอาเนื้อปูนไปใส่ห่อผ้า มัดผึ่งลมผึ่งแดดให้สะเด็ดน้ำ จนเหลือแต่เนื้อปูน
2.เมื่อปูนสะเด็ดน้ำดีแล้วก็แกะจากห่อผ้า นำไปผึ่งลมผึ่งแดด จนปูนแห้งสนิทและแข็งตัวดี จึงเก็บใส่ถังรวมๆกันไว้(ตากลม ตากแดด อยู่หลายวันพอสมควรครับผม)
3.จากนั้นนำปูนที่ได้มาตำ มาบดให้ละเอียด จนเป็นฝุ่นแป้ง แล้วร่อนเอาแต่เนื้อปูนที่ละเอียด ส่วนก้อนที่ยังไม่ละเอียดพอก็ตำจนละเอียดๆ (เพื่อรอผสมกับมวลสารอื่นๆอีกต่อไป)
4.ลำดับต่อไปนำมวลสารต่างๆ อาทิเช่น ผงพรายกุมาร ผงจินดามณี ผงอิทธิเจ เถ้าอังคารธาตุหลวงปู่ทิม ลูกอมผงพรายกุมาร ว่าน108 ผงแร่บางไผ่ แป้งเสกหลวงพ่อคูณ ฯลฯ มาตำ บดจนละเอียด ร่อนผ่านตะแกรงร่อน)
5. นำมวลสารทั้งหมดที่เตรียมไว้มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำผงปูนที่ร่อนไว้ ไปคลุกเคล้าผสมมวลสารต่างๆที่เตรียมไว้ทั้งหมด / พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข จารอักขระเลขยันต์ต่างๆ ลงในตุ่มมวลสาร และปลุกเสกมวลสาร
6.จากนั้นเอาผงปูนที่ผสมกับมวลสารต่างๆ และจารอักขระต่างๆเรียบร้อยแล้วนั้น มาตำจนเหนียว ให้จับตัวกันเป็นก้อนจนแน่นดี ตามตามสูตรที่ต้องการ นำมาปั๊มเป็นองค์พระทีละองค์ๆ ตามต้องการ (น้ำมันตั๊งอิ๊ว เป็นตัวประสาน)
พระที่ดีต้องประกอบด้วย
พิมพ์ทรงดี เนื้อดี มวลสารดี พิธีดี เจตนาการสร้างดี (พระที่เราทำมีครบหลักการสร้างพระเลย)
การสร้างพระที่ดีต้องประกอบด้วย
1.พิมพ์ทรงดี....รูปแบบพระสวยงาม บางครั้ง เป็นปริศนาธรรมสื่อความหมายได้
2.เนื้อดี....คง ทน แข็งแรง อยู่ได้นาน
3.มวลสารดี....สิ่งที่ผสมมวลสารทำพระเป็นของดี ของหายาก เป็นมงคล เป็นผงว่าน ผงพุทธคุณต่างๆๆ
4.พิธีดี....พระที่อธิฐานจิตปลุกเสก เป็นพระที่มีบารมีมาก พรรษามาก มีคุณธรรมสูง เป็นพระอริยะสงฆ์พระอรหัง ผู้มีสมาธิสูง อำนาจจิตสูงมีฌาณสมาธิแก่กล้า จะทำให้พระที่สร้างดี
5.เจตนาการสร้างดี.. |
ราคาเปิดประมูล | 320 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 30 บาท |
วันเปิดประมูล | - 11 ต.ค. 2564 - 15:55:14 น. |
วันปิดประมูล | - 22 ต.ค. 2564 - 09:03:24 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | weera (1.4K)
|