ชื่อพระเครื่อง | ***วัดใจ*** เหรียญ (รุ่นแรก) สมเด็จเจ้าพ่อ ปากคลองตลาด กทม. ปี36 (พิธีใหญ่) เกจิดังสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมายครับ เนื้อชนวนเก่า + พุทธคุณเยี่ยมเมตตาสูง โชคลาภ แคล้วคลาดคงกระพัน มหาอุตม์เป็นเลิศ มีประสบ |
รายละเอียด | ***วัดใจ*** เหรียญ (รุ่นแรก) สมเด็จเจ้าพ่อ ปากคลองตลาด กทม. ปี36 (พิธีใหญ่) เกจิดังสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมายครับ เนื้อชนวนเก่า + พุทธคุณเยี่ยมเมตตาสูง โชคลาภ แคล้วคลาดคงกระพัน มหาอุตม์เป็นเลิศ มีประสบการณ์มากมาย สภาพสวยครับ (หายากครับ) (หายากสุดๆครับ)
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหานาถ (บุญมา)ก็คือเจ้าพ่อปากคลองตลาด ชาวบ้านแถวย่านปากคลองตลาดมักจะเรียกขานท่านกันว่า "เจ้าพ่อปากคลองตลาด" เพราะว่านับถือท่าน
พระประวัติ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระราชภาตาร่วมพระราชชนกชนนี กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกทองดี และพระชนนีหยก ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน พ.ศ. 2286 มีนิวาสถานอยู่หลังป้อมเพชร ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อทรงเจริญวัยได้รับราชการเป็นมหาดเล็กตำแหน่งนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
กรุงศรีอยุธยาแตก
ใน พ.ศ. 2310 พม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นพระนครอ่อนแอมาก พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) จึงพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าออกจากพระนครศรีอยุธยา มุ่งไปรวบรวมกำลังที่หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ที่ชลบุรี เพื่อจะรบสู้ขับไล่ข้าศึกจากพระนคร เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกบ้านเมืองสับสนเป็นจลาจล กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็น นายสุดจินดา ได้เสด็จลงเรือเล็กหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา และมุ่งจะเสด็จไปยังเมืองชลบุรีด้วยเช่นกัน ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้นำครอบครัว และบริวาร อพยพหลบภัยข้าศึกไปตั้งอยู่ ณ อำเภออัมพวา เมืองสมุทรสงครามซึ่งแต่เดิมขึ้นกับ เมืองราชบุรี
ก่อนที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จะเสด็จไปถึงชลบุรี ได้เสด็จไปพบพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่อำเภออัมพวาก่อน ได้ทรงชวนให้เสด็จไปหลบภัย ณ ชลบุรี ด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังไม่พร้อม แต่ได้พระราชทานเรือใหญ่ พร้อมเสบียงอาหาร และพระราชดำริให้ไปฝากตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และทรงแนะนำให้เสด็จไปรับท่านเอี้ยง พระชนนีของพระยาตากสิน ซึ่งอพยพไปอยู่ที่บ้านแหลม พร้อมทั้งทรงฝากดาบคร่ำ และแหวน 2 วง ไปถวายเป็นของกำนัลด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก ข้าศึกได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม เก็บรวบรวมทรัพย์สินมีค่า แล้วยกทัพกลับไป ให้ทหารรักษาการอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และที่ธนบุรี บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย แยกเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 6 ก๊ก พระยาตากสิน เป็นก๊กหนึ่งรวบรวมไพล่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีพม่าข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2311 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น พระมหามนตรี เจ้าพระตำรวจในขวา
การทำศึกสงคราม
พระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ณ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงร่วมศึกสงครามขับไล่อริราชศัตรูปกป้องพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ได้เสด็จไปในการพระราชสงครามทั้งทางบก และทางเรือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึง 16 ครั้ง และในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อีก 8 ครั้ง ได้แก่
พ.ศ. 2310 ตีค่ายโพธิ์สามต้นของข้าศึก
พ.ศ. 2311 ตีค่ายพม่าที่บางกุ้ง และที่สมุทรสงคราม ขณะนั้นทรงมีบรรดาศักดิ์เป็น พระมหามนตรี และเสด็จไปรับพระเชษฐาธิราช จาก อำเภออัมพวา เข้ามารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และทรงรับสถาปนาเป็น พระราชวรินทร์
พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยกกองทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพิษณุโลก และยกไปปราบชุมนุมเจ้าพิมายที่นครราชสีมา พระมหามนตรี และพระราชวรินทร์ได้ร่วมการสงครามที่ด่านขุนทด มีชัยชนะในเวลา 3 วัน ความชอบในการสงครามครั้งนี้ พระราชวรินทร์ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระมหามนตรี เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางตำรวจ
พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระยาอนุชิตราชา ยกทัพไปปราบกรุงกัมพูชา ตีได้เมืองเสียมราฐ
พ.ศ. 2313 พระยาอนุชิตราชาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็น พระยายมราช ได้ยกทัพไปร่วมกับทัพหลวงปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองสวางคบุรี และได้หัวเมืองเหนือไว้ในพระราชอำนาจทั้งหมด เมื่อเสร็จราชการศึกครั้งนี้ ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก เป็นผู้ปกป้องพระราชอาณาจักรฝ่ายเหนือ และได้ยกทัพไปตีทัพโปมยุง่วนที่มาล้อมเมืองสวรรคโลก
พ.ศ. 2315 เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช ได้ยกทัพไปปราบพม่าที่ยกมาตีเมืองลับแล หรืออุตรดิตถ์ และเมืองพิชัยจนแตกพ่ายไป
พ.ศ. 2316 เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช และพระยาพิชัย ได้ยกทัพไปรบถึงประจัญบาน กับทัพโปสุพลาที่เมืองพิชัย จนข้าศึกแตกพ่าย ครั้งนี้เองที่พระยาพิชัยได้รับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"
พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขณะนั้นเป็น เจ้าพระยาจักรี กับเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช ยกทัพหัวเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงใหม่ มีชัยชนะ และเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราชได้คุมทัพเหนือไปล้อมทัพพม่า
ที่เขาชะงุ้ม ตีค่ายพม่าที่เขาชะงุ้ม และปากแพรกแตกจนพม่ายอมแพ้
พ.ศ. 2318 เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช และเจ้าพระยาจักรี ได้รับพระราชบัญชาให้ยกทัพจากพิษณุโลกไปขับไล่โปสุพลา ที่ยกมาตีเมืองเชียงใหม่ และต่อมาอะแซหวุ่นกี้ ยกมาล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาทั้งสองจึงนำไพล่พลออกจากพิษณุโลกไปตั้งมั่นที่เมืองเพชรบูรณ์ ต่อมาพม่าถอนกำลัง จึงได้คุมกำลังเมืองนครราชสีมาติดตามตีทัพที่กำลังถอยแตกกลับไป
พ.ศ. 2320 ได้ยกทัพจากกรุงธนบุรีไปสมทบทัพเจ้าพระยาจักรีที่นครราชสีมา ตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองอัตบือ สุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์ ไว้ได้ จากความชอบในการพระราชสงครามครั้งนี้ เจ้าพระยาจักรี ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก"
พ.ศ. 2321 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช เกณฑ์ทัพเรือจากกัมพูชา ไปล้อมเมืองเวียงจันทน์ 4 เดือนจึงตีได้ และตีหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นลาวจนจดตังเกี๋ยของญวนไว้ได้ด้วย และในครั้งนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระพุทธมหามุนีรัตนปฏิมากร กลับคืนเวียงจันทน์มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีด้วย
พ.ศ. 2324 เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช เป็นแม่ทัพหน้าร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีกัมพูชา แต่ต้องเสด็จกลับกรุงธนบุรี เนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระประชวร บ้านเมืองเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เสด็จปราบดาภิเษก
เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ และสถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นราชธานี เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระนามนี้ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดระเบียบเกี่ยวกับพระเกียรติเจ้านาย ให้ขานพระนามว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงร่วมการพระราชสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2325 ถึง พ.ศ. 2345 รวม 8 ครั้ง คือ
พ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ รบกับทัพพระเจ้าปดุง ที่ยกทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แม้มีไพร่พลน้อยกว่าข้าศึก แต่ทรงทำกลอุบายลวงข้าศึก จนสามารถมีชัยชนะ ในปีนั้น ยังได้เสด็จนำทัพเรือไปตีพม่าที่ไชยา และเสด็จไปปราบปัตตานีที่เอาใจออกห่าง และตีเมืองกลันตัน ตรังกานู เป็นเมืองขึ้นของไทยด้วย
พ.ศ. 2329 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เสด็จนำทัพไปรบกับพระเจ้าปดุง ที่เข้ามายึดตำบลท่าดินแดง และสามสบ ได้ตีทัพพม่าแตก
พ.ศ. 2330 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองลำปางคืน และตีทัพพม่าที่ป่าซางแตก เสร็จการสงครามนี้ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2336 เสด็จไปตีเมืองทวายสำเร็จ
พ.ศ. 2340 เสด็จยกทัพไปป้องกันเมืองเชียงใหม่ ตีพม่าที่ลำพูน และเชียงใหม่แตก
พ.ศ. 2345 ได้เสด็จไปขับไล่กองทัพข้าศึกออกจากเชียงใหม่ แต่เมื่อเสด็จไปถึงเมืองเถิน ทรงพระประชวรโรคนิ่ว ต้องประทับรักษาพระองค์เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ พระอาการประชวรกำเริบ ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346 พระชนมายุ 60 พรรษา
นอกจากจะทรงอุทิศพระองค์เสด็จไปในการศึกสงครามกอบกู้เอกราช และป้องกันพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยังทรงเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่บ้านเมือง ทรงอุปถัมภ์บำรุงการพระศาสนา ศิลปวรรณกรรม และสถาปัตยกรรม เป็นต้นว่า โปรดให้สร้าง พระราชวังบวร (ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฎศิลป์) ทรงสร้างกำแพงพระนครตั้งแต่ประตูวัดสังเวชวิศยารามจนถึงวัดบวรนิเวศ และทรงสร้างป้อมอิสินธร ป้อมพระอาทิตย์ ป้อมพระจันทร์ ป้อมยุคนธร (ซึ่งรื้อลงแล้ว) คงเหลือแต่ป้อมพระสุเมรุ และทรงสร้างประตูยอดของบรมมหาราชวัง คือ ประตูสวัสดิโสภา ประตูมณีนพรัตน์ ประตูอุดมสุดารักษ์ และทรงสร้างโรงเรือที่ฟากตะวันตก ทรงสถาปนาวัดมหาธาตุ วัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) วัดโบสถ์ วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) วัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง) วัดปทุมคงคา (วัดสำเพ็ง) วัดครุฑ วัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) วัดสุวรรณดาราราม ทรงสร้างหอมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วิหารคต วัดเชตุพนฯ เป็นต้น พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติเป็นที่แซ่ซร้องสดุดีเทิดทูนของพสกนิกร ไทยตลอดมา
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระราชโอรสธิดารวม 43 องค์ พระธิดาองค์ใหญ่คือ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร" ซึ่งประสูติแต่ "พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา" พระราชขนิษฐาใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1" พระราชโอรส ทรงเป็นต้นราชสกุลอสุนี สังขทัต ปัทมสิงห์ และนีรสิงห์ |
ราคาเปิดประมูล | 20 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 60 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | - 21 มิ.ย. 2565 - 20:51:02 น. |
วันปิดประมูล | - 22 มิ.ย. 2565 - 22:58:24 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | natthawat14 (15.6K)
|