(0)
1000.-เหรียญหล่อ พระสมเด็จ (รุ่นแรก) หลังยันต์อุ หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี เนื้อชินตะกั่ว ปี2494 พระเก่ามีประสบการณ์เพียบ!!! เหนียวสุดๆ!!! เลี่ยมโลหะจับเก่าเดิมๆ คลาสสิคมากๆครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง1000.-เหรียญหล่อ พระสมเด็จ (รุ่นแรก) หลังยันต์อุ หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี เนื้อชินตะกั่ว ปี2494 พระเก่ามีประสบการณ์เพียบ!!! เหนียวสุดๆ!!! เลี่ยมโลหะจับเก่าเดิมๆ คลาสสิคมากๆครับ
รายละเอียดเหรียญหล่อ พระสมเด็จ (รุ่นแรก) หลังยันต์อุ หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี เนื้อชินตะกั่ว ปี2494 + หลวงพ่อท่านเก่งมาก พระเก่ามีประสบการณ์เพียบ!!! เหนียวสุดๆ!!! เลี่ยมโลหะจับเก่าเดิมๆ คลาสสิคมากๆครับ
เมื่อเอ่ยชื่อถึงคำว่า “เชน” คนไทยวัยกลางคนขึ้นไปจะนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง “เชน (Shane)” อันเป็นชื่อของพระเอกในเรื่อง ซึ่งเป็นมือปืนพเนจร ที่เข้ามาเป็นผู้ปกป้องครอบครัวหนึ่งที่ถูกรุกรานจากเศรษฐีไร่ปศุสัตว์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์คาวบอยแห่งตำนานขนานแท้ นำแสดงโดย อลัน แลดค์ ผู้รับบทเป็น “เชน” ผลงานของพาราเมาท์พิคเจอร์ส ฉายเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ และนำกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นภาพยนตร์คลาสสิกตลอดกาลของสหรัฐอเมริกาอีกเรื่องหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันทั่วประเทศ

วงการพระเครื่องเมืองไทยก็มีพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคมรูปหนึ่งมีนามว่า “เชน” เช่นกัน พำนักอยู่ที่วัดสิงห์ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปหลายปีแล้วก็ตาม แต่เกียรติคุณชื่อเสียงของท่านก็ยังเป็นที่กล่าวถึงอยู่เสมอ

วัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สร้างขึ้นอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี มีนามเดิมว่า “เชน แดงน้อย” เกิดเมื่อปี ๒๔๓๓ ณ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ต่อมาบิดาและมารดาถึงแก่กรรม ตั้งแต่ท่านมีอายุประมาณ ๑๐ กว่าขวบ พี่สาวคนโต คือ นางปริก จึงรับภาระเป็นผู้นำครอบครัวและเลี้ยงดูน้องๆ สมัยที่ยังเป็นเด็ก “เชน” มีหน้าที่ช่วยเหลือการทำนา งานหลักคือเลี้ยงควาย

‘หลวงพ่อเชน’วัดสิงห์พระเถระดีศรีเมืองสิงห์

วันหนึ่งที่เป็นเหตุทำให้เด็กชายเชนต้องก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ขณะที่ ด.ช.เชน นำควายไปเลี้ยงกลางทุ่ง ควายเกิดดื้อ ด.ช.เชน เกิดความโมโหจึงใช้มีดปลายแหลมขว้างไปที่ควายตัวนั้น ถูกเข้าที่ขาควายได้รับบาดเจ็บ เมื่อกลับถึงบ้านพี่สาวทราบเรื่องก็เกิดความโกรธ ถึงกับลงมือทุบตี และออกปากขับไล่ ด.ช.เชน จึงหนีไปเป็นเด็กวัด อาศัยอยู่กับ หลวงพ่ออิ่ม วัดสุทธาวาส ทำหน้าที่รับใช้หลวงพ่อ

เมื่อ ด.ช.เชน อายุ ๑๒ ปี หลวงพ่ออิ่มจึงจัดการบวชเณรให้ และสอนพระธรรมวินัย ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมให้สามเณรเชน จนมีความเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง

ต่อมาปี ๒๔๕๕ หลวงพ่ออิ่มได้ให้สามเณรเชน เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า “คงคะสุวัณโณ” มีความหมายว่า “ผู้ที่มีผิวพรรณสดใสและงดงามดุจสายน้ำ” พระภิกษุเชนพำนักอยู่กับหลวงพ่ออิ่มอีก ๓ ปี จึงขออนุญาตหลวงพ่อออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นและฝึกพลังจิตให้แก่กล้า โดยมุ่งตรงสู่ภาคเหนือและอีสาน กลับมาอีกครั้งเมื่อทราบว่าหลวงพ่ออิ่มมรณภาพแล้ว จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดสิงห์ อยู่ต่อมาจนกระทั่งครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสิงห์

ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูเชน และมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๔ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑ ด้านการศึกษาวิทยาคมของ หลวงพ่อเชน นอกจากได้ศึกษากับหลวงพ่ออิ่มแล้ว ท่านยังไปศึกษากับ หลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี สุดยอดพระคณาจารย์ผู้มีวาจาสิทธิ์และเชี่ยวชาญทางด้านไสยเวท ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงพ่อเชน มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จัดอยู่ในพระคณาจารย์ระดับแนวหน้าท่านหนึ่งของเมืองไทย

อนึ่ง หลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.สิงห์บุรี กล่าวยกย่องหลวงพ่อเชนว่ามีพลังจิตที่สูงอย่างลึกล้ำ สร้างวัตถุมงคลได้ขลังสุดยอด เนื่องจากเวลาท่านทั้งสองไปปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีเดียวกัน พลังจิตของทั้งสองท่านจะไปสัมผัสกันเสมอ ทำให้มีญาณหยั่งรู้ถึงกันและกัน

หลวงพ่อเชน เป็นผู้มีตบะเดชะแก่กล้ามาก ด้านไสยเวทสามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า มีวาจาสิทธิ์ พูดจาออกมาอย่างไรก็มักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ นอกจากนี้ หลวงพ่อเชน ยังสำเร็จวิชา “เสือสมิง” สามารถแปลงร่างเป็นเสือได้ ซึ่งท่านเคยแสดงให้ลูกศิษย์ได้ประจักษ์มาแล้ว วิชานี้ท่านได้ศึกษามาจากหลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์

หลวงพ่อเชนยังมีฝีมือในเชิงช่างด้านศิลปะการปั้น แกะสลัก การวาดภาพอีกด้วย

ในด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อเชน ได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นในราวปี ๒๔๙๔ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และชาวบ้าน เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองเหลืองฝาบาตรและเนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปของหลวงพ่อเชน นั่งเต็มองค์ มีข้อความใต้ฐานว่า “พระครูเชน คงคสุวณฺโณ วัดสิงห์” ด้านหลังเป็นรูปยันต์พระพุทธเจ้า เหรียญรุ่นนี้มีประสบการณ์สูงด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี มหาอุด ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง สนนราคาหลักหมื่นต้น

หลวงพ่อได้จัดสร้างเหรียญทั้งหมด ๔ รุ่น รุ่น ๑-๓ เป็นเหรียญรูปเหมือนตัวท่าน ส่วนรุ่น ๔ เป็นเหรียญหลวงพ่อเนตร พระประธานในอุโบสถของวัดสิงห์ วัตถุมงคลประเภทอื่นๆ ก็มี อาทิ รูปหล่อโบราณ พระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ภาพถ่ายแบบบูชาและอัดกระจก ล็อกเกต พระลีลาเนื้อดินเผา พระนาคปรกเนื้อดินเผา แหวนมงคล มีดหมอ สิงหราชงาแกะ เขี้ยวเสือแกะ ผ้าขอด เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ท้าวแสนโกฏิ ตะกรุดโทนทำด้วยเนื้อทองเหลืองฝาบาตร เนื้อทองแดง เนื้ออะลูมิเนียม และเนื้อทองคำ

สำหรับ ตะกรุดโทน เป็นเครื่องรางที่ท่านสร้างแจกมากที่สุด และโด่งดังมาก โดยท่านจะทำ ตะกรุดโทนห้อยคอสุนัข ทุกตัวที่ท่านเลี้ยง เนื่องจากสุนัขของท่านถูกชาวบ้านทำร้ายอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งก็ปรากฏว่าทั้งมีดและปืนไม่สามารถทำอันตรายสุนัขของท่านได้เลย เป็นที่โจษจันกันมาก ทำให้ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (หลานและศิษย์ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ) ยังต้องมาศึกษาวิชาการสร้างตะกรุดโทนกับท่าน

วัตถุมงคลทุกอย่างของหลวงพ่อเชนได้รับความนิยมสูง ผู้ที่มีอยู่ก็มักจะหวงแหน เพราะมีประสบการณ์ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และป้องกันคุณไสย จะเด่นชัดที่สุด

ขอขอบพระคุณ ข้อมูลและภาพจาก คุณไพศาล ถิระศุภะ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 04 ต.ค. 2565 - 14:07:39 น.
วันปิดประมูล - 09 ต.ค. 2565 - 08:51:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpra_yai (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    BangRuk (3.9K)

 

Copyright ©G-PRA.COM