(0)
25-ศตวรรษ-เนื้อแร่สวย






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง25-ศตวรรษ-เนื้อแร่สวย
รายละเอียด25-ศตวรรษ-เนื้อแร่สวย เคาะเดียว รับประกันตามกฎ

‘พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ’

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)อีกประการที่มีการบิดเบือนข้อมูลคือในระยะหลัง ๆ ที่พระเครื่องฉลอง “๒๕ พุทธศตวรรษ” ได้รับความนิยมศรัทธาจากสาธุชนแล้วก็มีการจัดแบ่ง “เนื้อพระ” พร้อม “พิมพ์ทรงพระ” ให้เป็นเนื้อและพิมพ์นิยมมากขึ้นเพื่อรองรับเนื้อ “ทองดำ, นาก, เงิน” ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดตามลำดับโดยแบ่ง “เนื้อชิน” ออกเป็น “พิมพ์มีเข็ม” นิยมมากกว่าพิมพ์ “ไม่มีเข็ม” ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วส่วนทางด้าน “เนื้อดิน” ก็มีการจำแนก แตกสาขา ความนิยมออกโดยจัด “เนื้อสีดำ” เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุดชนิดเคยได้ยินว่ามีคนเช่าบูชาไปถึงองค์ละ ๔-๕ พันบาท เลยทีเดียวจากนั้นก็จัด “เนื้อสีช็อกโกแลต” ได้รับความนิยมรองลงมาและ “เนื้อแร่” ก็ได้รับความนิยมในระดับเดียวกับ “เนื้อช็อกโกแลต” ส่วนเนื้ออื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมรองลงมาโดยมี รายละเอียดปลีกย่อย มากมายทั้งที่เป็นพระที่สร้างในพิธีเดียวกัน

สำหรับพระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ “เนื้อดิน” ที่มีการบิดเบือนกันก็คือ “เนื้อและสีพระ” ตลอดจน “ขนาดพระ” เพราะว่าพระที่เป็น “เนื้อดิน” สร้างด้วยกรรมวิธี “การเผา” เช่นเดียวกับพระเครื่องโบราณชนิดอื่น ๆ เช่น “พระคงลำพูน, พระรอดลำพูน, พระนางพญาพิษณุโลก ฯลฯ” ในบันทึกการจัดสร้างระบุไว้ว่า “วัสดุที่ใช้สร้างพระเนื้อดินทั้ง 2 พิมพ์ (พิมพ์เขื่องและพิมพ์ย่อม) ประกอบด้วยดินที่ขุดจากฝั่งทะเลสาบตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา เพราะดินบริเวณนั้นมีลายเป็นพรายน้ำในตัว มีสีเหลืองนวลและละเอียดคล้ายกับพระเครื่องสมัยโบราณอย่างเช่น “พระบึงสาม พัน” ที่ทำปลอมได้ยากนอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่น ๆ อีกคือ ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ว่านต่าง ๆ ดินจากหน้าพระอุโบสถของจังหวัดต่าง ๆ จากนั้นยังมีดินจากบริเวณที่จะสร้างพระพุทธรูปพุทธมณฑล ดินจากปูชนียสถาน ๔ แห่งในประเทศอินเดียเช่นที่ ประสูติ, ตรัสรู้, แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน รวมทั้งผงจากพระเครื่องโบราณที่ชำรุด เช่น ผงพระสมเด็จ, นางพญา, พระรอด, พระขุนแผน, ผงนวโลหะ ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จได้นำเข้าเตาเผาด้วยความร้อนสูงจึงปรากฏว่ามีสีแตกต่างกัน เช่น สีดำ, เทา, ขาวนวล, พิกุลแห้ง, ครีม, ชมพู, น้ำตาลไหม้ ฯลฯ”

จากบันทึกการจัดสร้างที่ยกมากล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า “พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเนื้อดิน” มีหลายขนาดและหลากหลายสีที่เกิดจาก “การเผา” เฉกเช่นพระเนื้อดินโบราณที่มีขนาดและสีที่แตกต่างกันอย่างเช่น “พระลำพูน” ทั้ง “พระคง, พระบาง, พระเปิม ฯลฯ” และพระบางองค์ที่ถูกความร้อนมากก็จะ “หดตัวเล็กลง” หรือพระบางองค์ที่ผสมผงเกสรหรือว่านมากไปก็จะกลายเป็น “สีดำ” และบางองค์ที่มี “ผงนวโลหะ” (ผงตะไบจากชนวนพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชแพและท่านเจ้าคุณศรีสนธ์วัดสุทัศน์) ผสมอยู่มากเมื่อถูกความร้อนสูงผงนวโลหะก็จะละลายแผ่ซึมเข้าไปในเนื้อพระทำให้เป็น “สีดำ” หรือหากถูกความร้อนมากผงนวโลหะที่ละลายก็จะผุดออกมาจับที่ “ผิวพระด้าน นอก” เป็นปุ่มสีดำ ที่มีทั้ง ด้านและแวววาว โดยพระเนื้อนี้กลับกลายเป็นที่นิยมกันมากโดยเรียกว่า “พระเนื้อแร่” ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้คือใช้ของมีคมสะกิดตรงที่เรียกว่า “เนื้อแร่” ที่ปูดออกมาก็จะพบว่าเนื้อภายในเป็น “สีนากหรือสีจำปา” ตามแบบฉบับเนื้อพระกริ่งของ สำนักวัดสุทัศน์ ที่สำคัญพระเนื้อแร่นี้จะมีความ “แข็งแกร่ง” คือแตกหักหรือชำรุดได้ยากกว่าเนื้ออื่น ๆ ซึ่งเรื่องนี้เคยมีคนขี้สงสัยทำการ หักพระเนื้อแร่ เพื่อดูเนื้อภายในก็ต้อง ใช้แรงมาก ปรากฏว่าภายในองค์พระเป็นโพรงมีลักษณะเป็น รูปเศษโลหะ และมีร่องรอยการไหลของผงนวโลหะที่ละลายผุดเป็นสายจึงทำให้เนื้อพระแข็งแกร่ง ส่วนพระบางองค์ที่ผสมผงเกสรหรือผงนวโลหะน้อยก็จะมีสีสันเป็นธรรมชาติของเนื้อ ดินเกาะยอเช่น “สีแดงแบบอิฐ, สีขาวนวลที่เรียกว่าพิกุล, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาล ไหม้ ฯลฯ” เป็นต้น บางองค์ก็ปรากฏพรายน้ำซึ่งก็คือ ซากพืชซากสัตว์ ที่ทับถมอยู่ในดินนับล้าน ๆ ปีนั่นเองและเมื่อมีพระ “เนื้อพิเศษ” ดังกล่าวและมีน้อยกว่าเนื้ออื่น ๆ เช่น “สีดำ, เนื้อแร่” หรือ “ช็อก โกแลต” กลายเป็นเนื้อนิยมราคาก็แพงขึ้นจึงทำให้คน “คิดคดคิดชั่ว” นำพระไป “ราดสี” แล้วนำเข้า “เตาไมโครเวฟ” เพื่อทำให้เป็น “เนื้อสีดำหรือช็อกโกแลต” พอนำออกขายก็จะได้ราคามากขึ้น...แต่ขอโทษครับ !!! แม้จะมีความพยายามเช่นไรแต่ก็มี พิรุธมากมาย คือเนื้อพระจะ ฉ่ำเยิ้ม มีรอยแตกระแหงชำรุดง่ายที่เกิดจากการเร่งความร้อนนั่นเองซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้มี หนังสือพระเครื่องฉบับหนึ่ง (ขอสงวนนามเพื่อป้องกันการฟ้องร้อง) ทำตัวเป็นผู้รู้ว่า พระเนื้อแร่ เป็นพระที่นำมา เผาใหม่ พร้อมมีการอ้างภาษาอังกฤษให้ดูน่าเชื่อถือโดยบอกว่าเป็น เนื้อแร่ที่ละลายบนผิว นั่นก็คือการบิดเบือน “ข้อมูลและข้อเท็จจริง” อย่างเห็นได้ชัดเพราะในความเป็นจริงแล้ว “พระ ๒๕ ศตวรรษเนื้อดิน” ที่เรียกว่า “เนื้อแร่” เกิดจากเหตุผลดังที่อธิบายมาแล้วไม่ใช่ “เนื้อแร่” อะไรที่ไหนทั้งนั้นเป็น “ผงตะไบนวโลหะ” ที่นำมาผสมเมื่อถูกความร้อนสูงจึง “ละลายกลายเป็นของเหลว” แผ่ซึมไปทั่วผิวพระนอกจากนี้พระบางองค์ที่มี “การกดพิมพ์เบาไป” เนื้อก็จะไม่แน่น “ผงตะไบนวโลหะที่ละลาย” ก็จะซึมแผ่เข้าไปในเนื้อทำให้เกิดเป็น “สีดำ” หรือ “ช็อกโกแลต” ส่วนพระบางองค์ที่ถูก “ความร้อนน้อย” ก็จะทำให้มี “ขนาดใหญ่” เพราะเกิดจากการ “หดตัวน้อย” รวมทั้งผงตะไบนวโลหะก็ไม่ละลายจึงกลายเป็น “มวลสาร” แทรกอยู่ในเนื้อพระดังนั้นการ “บิดเบือนข้อมูล” จึงเป็นการแสดงถึง “ภูมิปัญญาที่ต่ำ” โดยไม่พิจารณาจาก “ข้อเท็จจริง” ตามหลักการและเหตุผลพร้อมไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจึงถือว่าเป็นผู้ที่มี “วิสัยทัศน์” ที่คับแคบโดยแท้

เรื่องราวของ “พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” นี้ออกจะยืดยาวแต่สาระของความเป็นจริง ถ้าได้ศึกษาไว้บ้างรับรองว่าท่าน “ผู้อ่านความจริง..อ่านเดลินิวส์” จะ “ไม่เสียเปรียบต่อการสะสม” แน่นอน.

“นายรู้สึก แสนรู้ชัด”
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน530 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 19 มี.ค. 2552 - 21:51:44 น.
วันปิดประมูล - 21 มี.ค. 2552 - 00:52:08 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเจตน์ (554)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     530 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    nattapol78 (851)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1