(0)
พระกริ่ง7 รอบ วัดบวรฯ ปี2499 ในเลี่ยมพลาสติกกันน้ำ







ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง7 รอบ วัดบวรฯ ปี2499 ในเลี่ยมพลาสติกกันน้ำ
รายละเอียดตามบันทึกของวัดบวรนิเวศวิหารบันทึกไว้ว่า
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 20.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดทูลเกล้าฯถวายเทียนชนวนซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัยเวลา 20.36 น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เวลา 07.35 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัจกรวัดทูลเกล้าฯถวายแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา 07.41 น. ทรงถือสายสิญจน์ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนสมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
“พระกริ่ง 7 รอบ” ถ้าจะเรียกให้ชัดเจนก็คือ “พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ สมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์” (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งสร้างในปี 2499 จำนวน 500 องค์ ที่สำคัญคือ ในปีที่สร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงผนวช ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งช่วงนั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงประชวรจึงได้แต่ทรงจุดเทียนชนวน ให้ไวยาวัจกรวัดนำไปทูลเกล้าฯถวายเทียนชนวนแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงจุดเทียนชัยในพิธีหล่อ “พระพุทธชินสีห์” จำลองและพระกริ่ง 7 รอบแทน สมเด็จพระสังฆราชฯ ตามความดังกล่าว
พระกริ่ง 7 รอบนี้ เท่าที่พบเห็นมามีอยู่ 2 เนื้อ คือ
1. เนื้อเหลือง
2. เนื้อแดง
ส่วนใหญ่เท่าที่พบจะเห็นเนื้อเหลืองมากกว่าเนื้อแดงที่พบไม่บ่อยนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะค่านิยมของวงการ ให้สนนราคาเพราะเนื้อแดงแพงกว่าเนื้อเหลืองนักสะสมจึงเก็บเนื้อแดงหายไปจากวงการเกือบหมด หรืออาจเป็นเพราะเนื้อเหลืองมีจำนวนการสร้างมากกว่าเนื้อแดงก็เป็นได้ เหตุที่มีสองเนื้อเนื่องจากทองที่เทเบ้าแรก เนื้อกระแสออกแดงส่วนอีกเบ้าหนึ่งเนื้อออกเหลือง พระที่แต่งมาแต่เดิมก็มีบ้างแต่พบน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นพระไม่มีการแต่งและไม่มีการตอกโค้ดใดๆ การเทหล่อพระมีลักษณะป็นพระเทตันแล้วนำมาเจาะใต้ฐาน (ก้น) รูขนาดเท่าแท่งดินสอแล้วบรรจุเม็ดกริ่งอุดด้วยโลหะ แต่งตะไบแล้วขัดเรียบจนไม่เห็นรอยตะไบ
พระกริ่งชุดนี้ช่างที่ดำเนินการสร้างคือ ช่างมนตรี พัฒนางกูร และที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ บริเวณบัวคู่หลัง (ด้านหลัง) จะปรากฏเป็นเลข “๗” ไทย เป็นตัวจมอยู่ด้านล่างบัวอย่างชัดเจน
พระกริ่ง 7 รอบ นับว่าเป็นพระกริ่งที่ทรงคุณวิเศษอย่างสูง เพราะเป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเททองขณะที่ทรงผนวช ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร ที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชรูปที่ 13 ซึ่งเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังเป็นพระกริ่งที่จำลองรูปพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดบวรนิเวศฯ อีกด้วย
(ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก นิตยสารลานโพธิ์ ฉบับที่954 เดือนกรกฎาคม 2549 โดย...ลายทอง คงคาพยนต์)
สำหรับพระองค์นี้สภาพสวย เห็นหน้าตา จมูก ปากชัด เนื้อพระกระแสอมแดง ผิวมีคราบจากการใช้มาบ้างทำให้ดูง่ายมาก รับประกันตามกฏ ให้พร้อมบัตรรับรองพระเครื่อง
รหัส #3902
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน14,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ200 บาท
วันเปิดประมูล - 28 พ.ย. 2565 - 09:08:33 น.
วันปิดประมูล - 08 ธ.ค. 2565 - 09:08:33 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลoudood (4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     14,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     200 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM