(0)
เหรียญพระพนัสบดี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จวัดทุ่งเหียง ๑๒ ก.พ. ๒๕๓๘ เคาะเดียวขั้นต่ำ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญพระพนัสบดี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จวัดทุ่งเหียง ๑๒ ก.พ. ๒๕๓๘ เคาะเดียวขั้นต่ำ
รายละเอียดเหรียญพระพนัสบดี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จวัดทุ่งเหียง
๑๒ ก.พ. ๒๕๓๘ เคาะเดียวขั้นต่ำ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกับ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อกิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้อง ๓ คน เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงมีร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยอยู่เสมอ คราวหนึ่งทรงป่วยหนักจนผู้ใหญ่ถึงกับคิดว่าจะไม่หายและบนว่า ถ้าหายจะให้บวชแก้บน ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา พระองค์ทรงมีนิสัยแสดงออกทางพระ ชอบเล่นเป็นพระทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆ พัดยศเล็กๆ เล่นทอดกฐิน ผ้าป่า เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ หรือเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ ๒

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม ๒ คน พระชนนีและป้าจึงชักชวนให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนเสีย จึงตกลงพระทัยที่จะบรรพชา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูอดุลยสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อวัดเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ)เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูนิวิฐสมาจาร เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดหนองบัว เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล
เมื่อทรงบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ครั้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อวัดเหนือได้พามาฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐมและได้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดเสนหาในพรรษานั้น อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อจึงได้พามาถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ในขณะนั้นยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับพระเมตตารับไว้และทรงมอบให้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา(เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ.๓ ต่อมาลาสิกขา)ทรงได้รับประทานฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สุวฑฺฒโน ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะนั้นมีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด พระองค์เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุครบอุปสมบทได้ ทรงกลับไปทรงอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดหรุงเจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทรงอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยูที่วัดเทวสังฆาราม อยู่ ๑ พรรษา แล้วกลับมาทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ (ขณะนั้นยังนับเดือน - เมษายนเป็นต้นปี) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสราโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ยังคงเวียนไปสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีก ๒ ปี และทรงสอบ เปรียญธรรมเรื่อยมาจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในระหว่างนั้นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต กับสวามีสัตยานันทปุรี นักพรตชาวอินเดียด้วย

พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๓๕๑ ตรงกับ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
ราคาเปิดประมูล140 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 29 พ.ย. 2565 - 00:21:27 น.
วันปิดประมูล - 01 ธ.ค. 2565 - 20:40:23 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลthanakrid11 (93)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    kunnawut_mike (137)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1