(0)
หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด พิมพ์พระพุทธชินราช เนื้อดิน ปี2473








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด พิมพ์พระพุทธชินราช เนื้อดิน ปี2473
รายละเอียดหลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด พิมพ์พระพุทธชินราช เนื้อดิน ปี2475

พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงปู่ยิ้ม
ปัจจุบันนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นท่านได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้กี่พิมพ์ทรงกันแน่ นอก จากพระงบน้ำอ้อยที่ดังไปทั่วสารทิศแล้ว จนพระเนื้อดินพิมพ์งบน้ำอ้อยใครๆเห็นที่ใหนก็ต้องบอกว่าเป็นของหลวงปู่ยิ้ม ไปเสียทั้งหมด มีเพียงไม่กี่คนในละแวกคุ้งน้ำเจ้าเจ็ดที่เก็บรวบรวมพระเนื้อดินหลวงปู่ยิ้ม ไว้ได้ครบทุกพิมพ์ ซึ่งความนิยมของผู้สะสมที่มีไม่มากนี้ อาจทำให้มรดกทางศิลปพระเครื่องในอดีตของหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นสูญหายไปได้บางพิมพ์และอาจมีการนำพระพิมพ์อื่นๆซึ่งไม่ใช่ของหลวงปู่ ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน ถูกยัดให้เป็นพระเครื่องหลวงปู่ยิ้มได้โดยนักเล่นพระบางกลุ่ม ในการสร้างพระเนื้อดินเผา ของหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดในนั้น บันทึกไว้ว่าได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เจตนาเพื่อเป็นการสืบทอดและต่ออายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมีพระของหลวงปู่ยิ้มจำนวนมากมาย และหลากหลายพิมพ์แตกต่างกันออกไป ตามแต่จะหาช่างทำพิมพ์พระมาแกะพิมพ์พระให้ได้ การทำพิมพ์พระนั้น จะได้ช่างชาวบ้าน ในละแวกบ้านเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียงเช่น บ้านหนองลำเจียก มาแกะพิมพ์ให้ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีด โกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกัน ว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุ สมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มีบางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้มนั้นช่าง ที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน ๑บาทในสมัยนั้นฯ การแกะพิมพ์พระแต่ละ พิมพ์เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งมีฝีมือและความสวยงามทางพุทธศิลป์ที่แตกต่างออกไปตามความชำนาญของช่างใน ยุคนั้น นับได้ว่าชาวบ้านยุคนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการ ถ่ายทอด ความสวยงามทางพุทธศิลป์ ไว้ให้รุ่นลูกหลาน ได้เชยชมอย่างสวยงามและลงตัวเป็นอย่างดี ซึ่งพิมพ์พระของหลวงปู่ยิ้มจะมีลักษณะเป็นฝา หลังจากแกะพิมพ์พระได้แล้ว หลวงปู่จะให้ชาวบ้านนำดินขุยปู และดินนวล ในทุ่งนาที่ขุดลงไปลึกเพื่อให้ได้ดินที่ละเอียดโดยมีข้าวก้นบาตร และเถ้าขี้ธูปที่บูชาพระประธานในโบสถ์ ผง วิเศษที่ท่านลบ และสรรพสิ่งอันเป็นมงคลที่ท่านรวบ รวมมา และท่านได้ใช้มูลดินของกรุงศรีอยุธยา ท่านยังสร้างพระพิมพ์เนื้อดินซึ่งเกิดจากแม่ธาตุทั้งสี่ มาประชุมหรือผสมรวมกัน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ นำ บดและนวด และนำมากดใส่ลงในแม่พิมพ์พระที่มีลักษณะเป็นฝา และได้นำด้านหลังที่มีเนื้อดินไปวางโปะลงบนแผ่นไม้กระดานที่ได้เตรียมไว้ แล้วจึงถอดพิมพ์พระออกมาที่ละองค์ หลังจากนั้นก็จะทำการใช้ มีดบาง เปลือกหอยกาบ หรือช้อน ตามแต่จะหาได้ นำมาตัดแต่งตามตามขอบขององค์พระโดยรอบให้มีลักษณะสวยงาม บางองค์ก็ไม่ได้ตัดออกก็จะพบเนื้อดินเกินออกมา ซึ่งในการสร้างสมัยนั้นได้สร้างจำนวนมากและพระเครื่องยุคนั้นก็มิได้มีค่า มากมายอะไรการทำจึงทำแบบไม่ค่อยพิถีพิถันมากนักแต่จะทำให้ได้จำนวนมากๆ ไว้ก่อนดังนั้นของสวยๆจึงมีน้อยนัก หลังจากตกแต่งพระแล้วก็จะยกไม้กระดานที่เรียงรายวางพระเนื้อดินเหนียวอยู่ นั้น ไปตากแดดให้แห้งสนิทเสียแล้วจึงค่อยแกะออกจากไม้กระดาน ซึ่งด้านหลังพระของหลวงปู่ยิ้มจึงมีรอยเสี้ยนไม้กระดานเป็นที่สังเกตให้เห็น ได้ แล้วจึงนำมาใส่ไว้ในบาตรพอประมาณ จึงนำไปสุมไฟด้วยแกลบจนเนื้อดินพระแข็งสุกแดงได้ที่แล้วจึงลาไฟออกมารวบรวม ไว้ แล้วทำพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถ หลวงปู่ยิ้มจะทำบายศรีราชวัตร ฉัตรธง ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว อาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสาวกทุกพระองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย โดยหลวงปู่ยิ้ม ได้ปลุกเสกเดี่ยวครบไตรมาส แล้วจึงนำบรรจุลงกรุเจดีย์รอบๆวัด และเก็บไว้บนหลังคาโบสถ์ บางส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในละแวกคุ้งน้ำบ้านเจ้าเจ็ดและละแวก ใกล้เคียงนำไปติดตัวบูชาเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจให้ประพฤติดีละเว้นความชั่ว ทั้งปวง หรือใครมากราบไหว้หลวงปู่ก็เมตตาแจกให้ทุกคนไป พระที่หลวงปู่นำไปใส่กรุไว้นั้น หากหลวงปู่ทำวัตรเช้าแล้วหลวงปู่จะออกมาจากโบสถ์และจะเดินไปยืนสวดพระคาถา ที่หน้าเจดีย์ใหญ่น้อยที่ได้บรรจุพระของหลวงปู่ไว้ทุกครั้งเสมือนได้ว่าหลวง ปู่ได้ทำการปลุกเสกทุกวันหลังจากหลวงปู่ทำวัตรเช้าเสร็จ
ราคาเปิดประมูล479 บาท
ราคาปัจจุบัน499 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ก.พ. 2566 - 06:41:15 น.
วันปิดประมูล - 04 ก.พ. 2566 - 21:08:40 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSiamclassic (2.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 02 ก.พ. 2566 - 06:42:08 น.



***เนื้อหาจากรูปถ่าย อาจจะผิดเพี้ยนไปบ้างเนื่องจาก แสงและเงา ในขณะถ่ายรูปเวลานั้น กรณีท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาสอบถามมาทาง “กล่องข้อความ ของทางเว๊บของสถาบันการันตีพระ” ก่อนเข้าร่วมประมูล
***ท่านผู้ประมูลท่านใดต้องการพระเครื่องที่ออกบัตรโดยทางสถาบันการันตีพระ กรุณาเลือกดูพระเครื่องที่มีบัตรการันตีพระในรายการสินค้าของผู้ลงให้ประมูลที่มีบัตรรับประกันแล้ว (ให้เคาะไปที่ "ค้อน" เพื่อเลือกรายการ) กรณีพระเครื่องรายการนั้นๆ ไม่มีใบรับประกัน ผู้จะเข้าร่วมการประมูลที่ต้องการบัตรรับประกันจากทางสถาบันการันตีพระหลังประมูล กรุณา ”ผ่าน” (กรณีที่ท่านชนะการประมูลและพระเครื่องชิ้นนั้นเมื่อไปตรวจสอบกับทางสถาบันการันตีพระแล้ว พระชิ้นนั้นเมื่อผลตรวจสอบแล้ว “พระไม่แท้” พระไม่แท้เท่านั้น ทางเราจะคืนเงินเต็มจำนวนราคาที่ชนะประมูล (พระจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการขัดถู ล้าง หรือเปลี่ยนสภาพทุกกรณี)
***ท่านผู้เข้าร่วมประมูลท่านใดที่เข้าร่วมประมูลขอให้มีความพร้อมก่อนเข้าร่วมประมูล เพื่อจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาและเสียโอกาสให้กับบุคคลอื่น ในโอกาสนั้นๆ


 
ราคาปัจจุบัน :     499 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Noogobngob (3.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM