(0)
พระกริ่งชินบัญชรบรมครู 32 พร้อมตลับเงิน (ลงประมูลรอบสองตามที่มีผู้ร้องขอ)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งชินบัญชรบรมครู 32 พร้อมตลับเงิน (ลงประมูลรอบสองตามที่มีผู้ร้องขอ)
รายละเอียดพระกริ่งชินบัญชรบรมครู 32 เป็นพระกริ่งยุคหลังที่จัดสร้างขึ้นโดยมูลนิธิหลวงปู่ทิม เป็นพระกริ่งอีกรุ่นที่ใช้ชนวนพระกริ่งชินบัญชรปี17 ในการจัดสร้างอุดก้นด้วยผงพรายกุมารและผงอาถรรพ์อื่นๆที่สำคัญที่สุดยังปิดด้วยจีวรตาดเพดานของหลวงปู่ทิม หากท่านผู้อ่านสนใจรายละเอียดพระกริ่งรุ่นนี้ลองติดตามเนื้อหาไปพร้อมๆกันครับ
ประวัติการสร้างพระกริ่งบรมครู32
วันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบ ๓๑ ปีย่างเข้าปีที่ ๓๒ ของหลวงปุ่ทิม อิสริโก ประกอบกับ พระกริ่งชินบัญชรที่ถือกำเนิดในเทวีฤกษ์ สร้างขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๑๗ มีอายุการสร้างครบ ๓๒ ปี เช่นกัน ในวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่ทิมปีนั้นนอกจากจะทำบุญสัตมาวาร เพื่อระลึกถึงท่านดังเช่นที่ปฏิบัติกันมาทุกปีแล้ว

มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโกจึงถือเอาเป็นวันมหามงคล เททองสร้าง พระกริ่งชินบัญชร ขึ้นมาอีกครั้งเพื่อหารายได้ช่วยวัดละหารไร่ สร้างพระมหาเจดีย์ภาวนาภิรัต และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆของมูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโกอาทิ หน่วยช่วยเหลือประชาชนเคลื่อนที่ที่มาบตาพุด โดยให้ชื่อว่า “พระกริ่งชินบัญชร บรมครู ๓๒”

++++มวลสารที่ใช้หล่อพระกริ่งชินบัญชรบรมครู 32
1. พระยันต์ 108 และนะ14 ตามตำราสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งได้มาจากกุฎิสุนทรภู่ กวีเอกของโลกชาวระยอง ที่วัดเทพธิดาราม
2. ชนวนพระกริ่งชินบัญชร ปี 2517
3. ชนวนพระกริ่งต่างๆ ที่ทางมูลนิธิได้จัดสร้าง เช่น
ชนวนพระกริ่งแผ่นดินไหวหลวงปู่แว่น ธนปาโล
ชนวนพระชัยฟ้าลั่นและชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ
ชนวนพระกริ่งหลวงปู่ทองฤทธิ์ วัดป่าฉันทนิมิต
ชนวนพระกริ่งบรมจักรพรรดิ์ที่สร้าง 121 องค์
ชนวนพระกริ่งท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม ซึ่งได้มาจากนายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์และอาจารย์ทองเจือ วัดปากน้ำ
ภายในองค์พระกริ่งบรมครู32 จะเจาะก้นและอุดมวลสารต่าง ๆ ดังนี้
1. พรายกุมารสมสีผึ้งโหลสุดท้ายของหลวงปู่ทิม อิสริโก
2. น้ำมันพระจ้าตาก ที่ฝังไว้เมื่อ 200 ปีก่อน
3. น้ำมันใส่ผมตราสงกรานต์ ที่หลวงปู่ทิมปลุกเสกในพระอุโบสถ วัดกระบกขึ้นผึ้ง ปี 2503 และเจ้าของนำมาฝากหลวงปู่ทิม ปลุกเสกต่อจนท่านมรณภาพก็ไม่มารับกลับ (รวมเวลาที่หลวงปู่ปลุกเสกร่วม 16 ปี)
4. จีวรดาดเพดานที่หลวงปู่ทิมมอบให้อาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ เป็นมรดกชิ้นสุดท้ายก่อนมรณภาพ โดยดาดไว้เหนือกองวัตถุมงคลในกุฎิของหลวงปู่ ถือว่าเป็นที่สถิตย์ของครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ทิมอัญเชิญมา เวลาปลุกเสกวัตถุมงคลทุกครั้งเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี มีควันธูปและเขม่าจับเต็มไปหมด โดยมีสายสิญจน์โยงลงมายังกองวัตถุมงคล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง ถือเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์โลกกับเทวโลก

+++จำนวนการสร้างพระกริ่งชินบัญชรบรมครู32
ประกอบด้วยเนื้อทองคำ เท่าจำนวนสั่งจอง
เนื้อเงิน จำนวน 332 องค์
เนื้อนวโลหะ จำนวน 2,532 องค์
เนื้อทองทิพย์ จำนวน 1,532 องค์

+++เกจิที่ปลุกเสกพระกริ่งบรมครู32
พระกริ่งชินบัญชรบรมครู ๓๒ เข้าหุ่นด้วยดินไทยและเททองหล่อแบบโบราณ ณ ลานวัดละหารไร่ ต่อหน้า “ องค์พ่อปู่ฤาษีอิสริโกมุนี “ พร้อม “พระพุทธมงคลมหามุนี” เวลา ๑๒.๓๙ น. โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสกหน้าเตาหลอมทอง ๔ องค์ ๔ ทิศ คือ
ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) พระอาจารย์ สาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม
ทิศประจิม (ทิศตะวันตก) หลวงพ่อ สิน วัดละหารใหญ่ ซึ่งเป็นวัดพี่-วัดน้องกับ วัดละหารไร่ หลวงพ่อสินเอง เป็นศิษย์เอกอีกองค์หนึ่งของหลวงปู่ทิม ทั้งมีวัตรปฏิบัติที่งดงามเคร่งครัด และสำรวมยิ่งองค์หนึ่งของบ้านค่าย
ทิศอุดร (ทิศเหนือ) หลวงปู่ทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง พระเถระผู้มีกระแสจิตแก่กล้า นอกจากจะได้ชื่อว่า เสกเดี่ยวได้อย่างมั่นใจไม่ต้องให้ใครมาช่วยเดี่ยวแล้ว ท่านยังเป็นพระปรมาจารย์ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณโด่งดัง ท่านรับนิมนต์มานั่งปรกที่วัดหลวงปู่ทิมด้วยความยินดี เพื่อช่วยให้กริ่งบรมครู ๓๒ ดังสุดๆอีกครั้งหนึ่ง
ทิศทักษิณ (ทิศใต้) ท่านเจ้าหรีด หรือพระครูบุญญาภินันท์ วัดปาโมกข์ จ.พังงา
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 20 มี.ค. 2566 - 16:41:17 น.
วันปิดประมูล - 21 มี.ค. 2566 - 16:52:14 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลrongruac (83)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 มี.ค. 2566 - 16:42:15 น.



เพิ่มรูปก้นพระกริ่ง


 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Ekapol123 (163)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM