(0)
ปิดตาน้ำท่วม ทองหนา เนื้อตะกั่วผสมผงพรายกุมาร โค้ตดูง่าย เลี่ยมทองหนา พร้อมใช้ (ออกผลแล้วไม่สรุปผล)







ชื่อพระเครื่องปิดตาน้ำท่วม ทองหนา เนื้อตะกั่วผสมผงพรายกุมาร โค้ตดูง่าย เลี่ยมทองหนา พร้อมใช้ (ออกผลแล้วไม่สรุปผล)
รายละเอียดพระปิดตาน้ำท่วม มรดกที่หลวงปู่ทิมทำไว้ให้แก่สานุศิษย์
(องค์นี้ผมเคยส่งประกวดแล้วได้ที่ 3 งานพันทิปบางกะปิ ประมาณปี 64 สามารถเช็คที่มาที่ไปได้ครับ)

พระที่หลวงปู่ทิมตั้งใจสุดๆ ตามที่ทางคุณเพียรวิทย์เล่าให้ฟัง หลวงปูทิมท่านเอา ผงพรายออกมาจากคำภีร์ ที่ท่านนำแผนผงพรายสอดไว้ไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนกระโหลกที่ยังไม่ได้ตำหรือเปล่า หลวงปู่ทิมที่ทำการพี มานิดแล้วใส่ลงใน ตะกั่ว มาดูครับเรื่องเมตตาและพรายคุ้มครองสุดยอดครับ พระองค์ที่แจกครับว่า พระชุดนี้หลวงปู่เป็นผู้สร้างเอง นั่งควบคุมการเทเอง และแถมยังเป็นผู้ดำริคิดสร้างเอง วัตถุมงคลชุดนี้คือ “พระปิดตาและรูปเหมือนเจริญพรรุ่นน้ำท่วม”
กรรมวิธีการสร้างและสลับซับซ้อนอย่างไร ทำไมจึงเรียกว่า “รุ่นน้ำท่วม” ก็ขอให้ท่านลองติดตามดูนะครับ

ย้อนหลังไปในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ได้เกิดน้ำป่าไหลทะลักลงมาท่วมอย่างฉับพลันแถว อ.บ้านค่าย อ.แกลง และทีอื่นๆ อีกมาก วัดละหารไร่ ตอนนั้นน้ำท่วมสูงถึงประมาณ ๑ คืบจะถึงพื้นกุฏิของวัด

หลวงปู่ทิม ท่านก็ปรารภกับผมว่าอยากจะทำพระสักรุ่นหนึ่งเพื่อเป็นที่ระลึกตอนน้ำท่วม ผมได้ยินเช่นนั้นจึงพูดสนับสนุนทันที เพราะทราบอยู่ในใจว่า หลวงปู่เป็นผู้ที่สร้างของยาก

เมื่อท่านเอ่ยเช่นนี้แสดงว่าพวกเราจะได้ของดีจากท่านไว้ติดตัวอย่างแน่นอน ท่านใช้ผมไปตามหลวงลุงรอด ซึ่งมีห้องอยู่ตรงข้ามห้องของหลวงปู่ เมื่อมาถึงหลวงปู่ได้ถามหลวงลุงรอดว่า ตะกั่วที่นี่ให้เก็บไว้ ให้เอาออกมาให้หมดจะทำพระไว้แจก เมื่อท่านพูดเสร็จหลวงปู่ก็ลุกไปที่ห้องท่านและเรียกผมเข้าไปด้วย หลวงปู่ใช้ให้ผมมุดเข้าไปใต้เตียงนอนตรงบริเวณหัวเตียงด้านล่างจะมีถังใบหนึ่งภายในมี ตะกั่วเป็นก้อนๆ บรรจุอยู่เต็มไปหมด ท่านให้ผมลากออกมาผมสังเกตว่า นอกจาก ตะกั่วแล้วยังมีตะกรุดเก่าๆ ที่เป็นเนื้อชินตะกั่วและตะกั่วอวนเป็นเม็ดๆ อยู่ในนั้นอีกด้วย ผมยังหยิบเก็บไว้ดูเป็นที่ระลึกดอกหนึ่งและเม็ดตะกั่วอีก ๕-๖ เม็ด สำหรับแผ่นตะกั่วที่อยู่ในห้องหลวงลุงนั้น เป็นแผ่นตะกั่วยาวๆ นิ่มอ่อน หลวงปู่ได้ใช้ให้ผมตีตะกั่วแผ่ออกเป็นแผ่น เมื่อตีจนได้ที่แล้วท่าน ก็ใช้เหล็กจารอักขระลงไปทีละแผ่น หลังจากนั้นท่านก็ให้ผมพับแผ่นตะกั่วและใช้ฆ้อนตีกลับไปกลับมาและแผ่ออกมาใหม่ และจึงใช้เหล็กจารอักขระลงไปอีก และก็ทุบกลับไปกลับมาอีก ทำเช่นนี้ตั้งหลายครั้งจนผมสงสัยจึงถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่ ทำไมต้องทำแบบนี้ ไม่เห็นสนุกเลย ท่านตอบว่า คนโบราณเรียกว่า ลงถมต้องลงให้ครบ ๙ ครั้งถ้าได้ ๑๐๘ ครั้งยิ่งดีใหญ่

พวกเราพอได้ยินเช่นนั้นจึงได้ช่วยหลวงปู่ทำเพื่อหวังขอของดีจากหลวงปู่ในครั้งนี้
กว่าจะลงถมเสร็จก็ใช้เวลากว่า ๓ วัน เมื่อหลวงปู่เห็นว่าดีแล้วท่านก็รวบรวมแผ่นตะกั่วทั้งหมดรวมทั้งตะกั่วเถื่อนที่อยู่ในห้องของท่าน ผมสังเกตว่าตะกั่วทุกก้อนที่อยู่ในห้องของท่านจะมีจารอักขระทุกก้อน แสดงว่าท่านได้เตรียมการมานานแล้ว แต่ยังหาโอกาสและฤกษ์ดีไม่ได้ จากนั้นท่านจึงนำตะกั่วทั้งหมดทำพิธีปลุกเสกในห้องของท่าน ๗ วัน จนถึงวันเสาร์ หลวงปู่ก็เรียกผม เณรฉ่ำ เณรลาว และช่างมงคล หลวงลุงรอด ให้มาหาและบอกว่า วันนี้ฤกษ์ดี

เทวดารักษา จะได้ลงมือทำพระกันเสียที เมื่อท่านพูดเสร็จท่านหยิบ ขันสำริด ที่ก้นขันได้จารอักขระเต็มไปหมด ต่อจากนั้นจึงให้หลวงลุงเอาพิมพ์พระเครื่องต่างๆ มาให้ท่านดู ท่านได้เลือกดูสักพักจึงหยิบเอาพิมพ์ปิดตาและพิมพ์รูปเหมือนเจริญพร ที่ทางคุณชินพร สุขสถิตย์ ได้ถวายคืนให้วัดนำมาพิจารณาต่อ ต่อจากนั้นหลวงปู่ก็หยิบเหล็กจารจารลงไปที่พิมพ์ปิดตาและพิมพ์เจริญพร พนมมืออธิษฐานจิต ซึ่งพวกเราก็ได้แต่ดูการกระทำของท่านอยู่เงียบๆ หลังจากนั้น
จึงตั้งไปเพื่อที่จะหลอมตะกั่ว

แต่ก่อนที่จะทำพิธีหลอมตะกั่วนี้

หลวงปู่ได้ลุกขึ้นไปหยิบคัมภีร์ใบลานเก่าค่อยๆ เปิดทีละแผ่น หยิบวัสดุชิ้นสีขาวออกมาชิ้นหนึ่ง ซึ่งพวกเราที่อยู่ในพิธีนี้รู้ทันทีว่า “วัสดุสีขาวที่หลวงปู่หยิบออกมาคือหัวกะโหลกเด็กที่หลวงปู่นำมาทำผงพรายกุมาร ทุกครั้งที่จะมีการสร้างพระผง ท่านยกมือบริกรรมคาถาอยู่ชั่วครู่ใหญ่ จึงค่อยๆ บิหัวกะโหลกพรายกุมาร แล้วจึงใช้ค้อนทุบลงไปในแผ่นตะกั่ว เณรฉ่ำเห็นเช่นนั้นจึงถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่ทุบหัวกะโหลกหรือ? ท่านก็เงื้อค้อนตีเณรบอกว่า กำลังตีตะกั่วอยู่ไม่เห็นหรือไง? จากนั้นท่านจึงค่อยๆ บรรจงเอาแผ่นตะกั่วชิ้นนี้วางลงไปในขันสำริดและติดไฟสุมอ่อนๆ จนแผ่นตะกั่วละลายลงไปทีละน้อย

ในการเทครั้งนี้ เนื่องจากทุกคนยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้เท่าไหร่นัก จึงเทออกมาสวยบ้างไม่สวยบ้าง หล่อติดบ้าง ไม่ติดบ้าง เนื่องจากทนไอพิษจากตะกั่วไม่ไหว หลวงปู่จึงให้ทุกคนที่อยู่ในพิธีใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เหลือไว้แต่ตาคอยดูเพื่อป้องกันไอตะกั่วระเหยออกมาอย่างรุนแรง

แต่นั่นแหละครับ ถึงแม้จะป้องกันแค่ไหนเณรฉ่ำเข้าไปนั่งเทได้สักพักหนึ่งยังต้องออกจากพิธีเพราะทนความร้อนและพิษไอตะกั่วไม่ไหว หลวงปู่เห็นเช่นนั้นจึงให้ทุกคนค่อยๆ ถอยห่างออกไป ท่านค่อยๆ ใช้ช้อนคนตะกั่วในขันสัมริดและหยิบพิมพ์ปิดตาและพิมพ์รูปเหมือนเจริญพร ซึ่งช่างมงคลได้ใช้คีมคีบไว้กันไม่ให้ร้อนมือพอเทใส่เบ้าเสร็จท่านจึงรีบนำมาแช่น้ำมนต์ที่ท่านวางใส่ขันเตรียมไว้ข้างๆ

พระชุดนี้เนื่องจากมีแม่พิมพ์ตัวเดียวจึงทำให้เทช้ามาก หลวงปู่กลัวว่าจะเสียฤกษ์จึงให้ช่างมงคลและหลวงลุงรอดทำการถอดพิมพ์ออกมาหลายอันเพื่อที่จะได้ช่วยกันเทให้เสร็จโดยเร็ว กว่าพวกเราจะช่วยหลวงปู่ทำพระชุดนี้เสร็จก็ใช้เวลาเกือบ ๑ เดือน เนื่องจากตะกั่วที่หลอมในครั้งนี้บางอันละลายเร็ว แต่ถ้าเป็นตะกั่วเถื่อนจะละลายช้ามาก เพราะมีขี้ตะกั่วลอยอยู่ที่ผิวเต็มไปหมดจึงลำบากมากในการเทเมื่อเทเสร็จแล้วได้พระประมาณ ๑ บาตร หลวงปู่จึงใช้ในผม เณรฉ่ำ เณรลาว ให้จารหลังปิดตาด้วยคาถาว่า
“อิ สวา สุ” จารได้ประมาณไม่ถึงร้อยองค์ทุกคนก็เลิกจารเนื่องจากเหล็กจารนั้นติดตะกั่วเวลาจารต้องลงแรงมาก หลวงลุงรอดจึงเดินเข้าไปในห้องหลวงปู่หยิบโค้ดต่างๆ ที่คุณชินพร สุขสถิตย์ ทำถวายวัดเพื่อนำมาตอกปลัดขิกของวัดให้หลวงปู่พิจารณาดูว่าจะใช้ได้หรือไม่ เมื่อท่านดูแล้วท่านก็หยิบโค้ดตัว “เฑาะ” และโค้ด “มะอะอุ” ออกมา บอกให้เอาโค้ดตัว “เฑาะ” นี้ตอกหลังพระปิดตา โค้ด “มะอะอุ” ตอกหลังรูปเหมือนเจริญพร

วันแรกที่ทำพิธีเทพระชุดนี้ ท้องฟ้าที่สว่างไสวกลับมือครึ้มลมกระโชกแรงจนทุกคนกลัวกุฏิหลวงปู่และหอฉันหลังเก่าจะพังจมลงไปในน้ำ เมฆฝนคลุมไปทั่วราวกับว่าฝนจะตกหนัก ท่ามกลางความวิตกกังวลของทุกคนที่อยู่ในวัด ถ้าฝนตกลงมาเที่ยวนี้น้ำป่าจะไหลทะลักท่วมวัดพัดกุฏิพังเป็นแน่

หลวงปู่เห็นเรามีความกังวลเช่นนี้ท่านก็เอ่ยว่า ไม่ต้องกลัวๆ เขารับรู้แล้วว่าวันนี้เราจะทำอะไรกัน เมื่อทำการหลอมพระเสร็จเฉพาะวันนั้น ท้องฟ้าที่มืดครึ้มกลับสว่างไสวราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น หลวงปู่ได้หยิบพระชุดนี้ขึ้นมาดูทีละองค์และท่าน
สายสิญจน์ที่ล้อมรอบวัตถุมงคลในห้องไว้ในมือท่าน ท่านจะนั่งปลุกเสกและลงของในลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็นวันออกพรรษาหรือเข้าพรรษา ท่านทำทุกคนจนถึง ๖ โมงเช้าจึงจะลืมตาขึ้นมา หลังจากนั้นท่านจะกราบลงที่หมอน ๓ ครั้งและก็ลุกออกไปนอกห้องเดินดูอะไรต่ออะไรไปเรื่อยๆ จนถึง ๘ โมงเช้าจึงจะถึงเวลาฉันเช้า ปกติหลวงปู่จะฉันเช้าเพียงมื้อเดียว อาหารที่ฉันจะเป็นอาหารที่ปราศจากเนื้อ จะมีผักถั่วฝักยาวเป็นพื้น ซึ่งท่านจะฉันเช่นนี้เป็นประจำจนชั่วชีวิตของท่าน

พระชุดนี้หลวงปู่ปลุกเสกอยู่ทุกคืนเป็นเวลานาน จนพระเครื่องที่มีอยู่ในบาตรเต้นระรัวกระทบกันเสมือนคั่วข้างตอกแตก มีบางองค์กระเด็นออกมานอกบาตรก็มี ผมเห็นเช่นนั้นจึงได้ขอหลวงปู่เก็บไว้ส่วนตัวจำนวนหนึ่งซึ่งท่านก็มอบให้ หลวงปู่ได้ทำการแจกพระชุดนี้ให้แก่บรรดาผู้ที่นับถือท่านนำไปใช้และที่ไปกราบท่านที่วัด ท่านจะพูดเสมอว่า
เก็บไว้ให้ดีของนี่รักษาตัวได้ และยังทำยากอีกด้วย พระปิดตาและรูปเหมือนเจริญพร ใครมาหาท่านท่านจะใช้ผมไปหยิบในบาตรและนำมาใส่พานเล็กๆ วางไว้หน้าท่าน ท่านจะแจกไปเรื่อยๆ จนใครๆ เรียกพระชุดนี้ว่า รุ่น “แจกทาน”
ซึ่งก็ไม่ผิดกติกาเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะเรียกรุ่นนี้ว่า “รุ่นน้ำท่วม”

พระปิดตาและรูปเหมือนเจริญพรนี้สร้างขึ้นด้วยเจตนารมณ์อันดีของหลวงปู่เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมที่ยากจน ถ้าท่านเจอและดูเป็นก็ให้เก็บไว้ใช้เถิด ผมมั่นใจว่าพระชุดนี้ต้องยอดเยี่ยมไร้เทียมทานจริงๆ มิฉะนั้นผมคงไม่เลือกแขวนและใช้ติดตัวอยู่จนทุกวันนี้หรอกครับ ไม่ใช่ว่าผมไม่มีพระเครื่องชุดอื่นของหลวงปู่ทิมนะครับ ตอนนี้ยังเหลืออยู่หลายองค์ทีเดียวแต่ที่ผมเลือกรุ่นนี้เพราะผมได้ยินหลวงปู่กล่าวว่า “พระรุ่นนี้นี่สร้างขึ้นมายาก หาฤกษ์มานาน ใครใช้จะรู้เอง แต่นี่รับรองใครมีไม่รู้จักอด มีเงินมีทองเหมือนกับน้ำที่ไหลไปที่ใดจะทำให้บ้านเรือนที่นั่นเกิดความสมบูรณ์”
ราคาเปิดประมูล7,900 บาท
ราคาปัจจุบัน11,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 29 มี.ค. 2566 - 20:02:59 น.
วันปิดประมูล - 30 มี.ค. 2566 - 22:24:35 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลrichmanshop789 (407)(5)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 มี.ค. 2566 - 20:03:14 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 29 มี.ค. 2566 - 20:04:22 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     11,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Sommai52 (709)

 

Copyright ©G-PRA.COM