(0)
ผ้ายันต์ อกเลา ปั้มหมึกจากตรายันต์อกเลาประตูวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เก่าๆสมัยยุคสงครามอินโดจีน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องผ้ายันต์ อกเลา ปั้มหมึกจากตรายันต์อกเลาประตูวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เก่าๆสมัยยุคสงครามอินโดจีน
รายละเอียดผ้ายันต์ อกเลา ปั้มหมึกจากยันต์อกเลาประตูวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
ผืนนี้ผ้าเก่าๆสมัยยุคสงครามอินโดจีน ยาวประมาณ 20 นิ้ว ปั้มตราวัดโดยตรง

#อกเลา ของดีที่มีอภินิหาร
......หลายท่าน อาจเคยเห็นรูปแบบอกเลาที่วัตถุมงคลของจ.พิษณุโลก และตามบ้าน ตามท้ายรถยนต์
.......เมื่อสงครามอินโดจีน มีทหารไทยได้นำผ้าที่พิมพ์หมึกอกเลาติดตัวไปรบ ล้วนแต่รอดจากพญามัจจุราช กลับบ้านได้ทุกคน แม้แต่ทหารหรือผู้ทำงานเสี่ยงภัยก็นิยมพก บ้างก็นำมาเย็บกับเสื้อ นำมาโพกศีรษะ มารัดแขน ตามแต่ที่สะดวก มีประสบการณ์ทั้งระเบิดด้าน ยิงไม่ออกฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ
สมัยก่อนได้เกิดเพลิงไหม้ในตลาดพิษณุโลก มีบ้านหลังหนึ่งไม่ไหม้ไฟ เนื่องจากมีผ้ายันต์อกเลาติดบูชาอยู่ เมื่อรู้ยังงี้เจอวัตถุมงคลหรือสัญลักษณ์อกเลาที่มีอยู่ในวัตถุมงคลรุ่นนั้นๆแม้ไม่ได้ปลุกเสกก็ขลังครับเจอที่ไหนก็อย่าปล่อยผ่านนะคร้าบ
นมอกเลาที่วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก นั้น ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาที่โปรดให้ทำบานประตูวิหารโดยการ "ประดับมุก" ซึ่งนับเป็นบานประตูประดับมุกที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถึงขนาดทรงตรัสถึง‘นมอกเลา’ ที่นี่ในคราวเสด็จนมัสการพระพุทธชินราชว่า "นี่แหละ ของวิเศษมีอยู่ที่นี่" สาเหตุที่ตรัสเช่นนี้ เป็นเพราะนอกจากความงดงามแห่งศิลปะที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นมอกเลานี้ คนโบราณนิยมอาราธนานำผ้าขาวบางมาวางทาบแล้วซับด้วยหมึก เพื่อนำติดตัวไปออกศึกสงคราม หรือเป็นเครื่องรางชั้นสูงในหมู่ประชาชนทั่วไป
_______________
“นมอกเลา” (นม-อก-เลา) ที่บานประตูพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บานประตูนี้ เป็นบานประตูไม้ประดับมุกงดงามมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงสร้างถวายพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๙
"อกเลา" หมายถึงแท่งไม้ส่วนที่ทำเป็นแนวตั้งยาว เป็นสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างแบบโบราณ
เพื่อใช้เป็นตัวประกบระหว่างบานประตู เพื่อบังช่องทั้ง ๒ ที่ประจบกัน ตรงกลางไม้จะมีตัวกั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ป้องกันไม่ให้คนภายนอกงัดแงะไม้คานที่พาดปิดประตูด้านในได้สะดวก ตัวกลางไม้รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนี้เรียกว่า “นมอกเลา”
คนโบราณนิยมอาราธนานำผ้าขาวบางมาวางทาบแล้วซับด้วยหมึก เพื่อนำติดตัวไปออกศึกสงคราม เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางของขลังที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวโดยไม่ต้องเสกเป่าเพิ่มเติมแต่อย่างใด
นม คือ ส่วนประดับบนอกเลาของประตูหน้าต่าง อกเลา ๑ ตัว มีนม ๓ ตัว คือ นมบน นมล่าง และนมกลางหรือนมอกเลา
นมบน อยู่ที่ปลายอกเลาลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ
นมล่าง อยู่ที่โคนของอกเลาลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม
นมกลาง อยู่กึ่งกลางของอกเลา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
...นมแต่ละตัวจะสลักอย่างสวยงามหรือเรียบง่ายขึ้นอยู่กับว่าประตูหรือหน้าต่างจะอยู่ด้านไหน
บานประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า “นมอกเลา” เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบอง ท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์ อื่น ๆ และยังมีลาย “อีแปะ” ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 06 ต.ค. 2566 - 09:50:03 น.
วันปิดประมูล - 17 ต.ค. 2566 - 00:17:48 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmt151 (902)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 06 ต.ค. 2566 - 09:51:26 น.



#อกเลา ของดีที่มีอภินิหาร
......หลายท่าน อาจเคยเห็นรูปแบบอกเลาที่วัตถุมงคลของจ.พิษณุโลก และตามบ้าน ตามท้ายรถยนต์
.......เมื่อสงครามอินโดจีน มีทหารไทยได้นำผ้าที่พิมพ์หมึกอกเลาติดตัวไปรบ ล้วนแต่รอดจากพญามัจจุราช กลับบ้านได้ทุกคน แม้แต่ทหารหรือผู้ทำงานเสี่ยงภัยก็นิยมพก บ้างก็นำมาเย็บกับเสื้อ นำมาโพกศีรษะ มารัดแขน ตามแต่ที่สะดวก มีประสบการณ์ทั้งระเบิดด้าน ยิงไม่ออกฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ
สมัยก่อนได้เกิดเพลิงไหม้ในตลาดพิษณุโลก มีบ้านหลังหนึ่งไม่ไหม้ไฟ เนื่องจากมีผ้ายันต์อกเลาติดบูชาอยู่ เมื่อรู้ยังงี้เจอวัตถุมงคลหรือสัญลักษณ์อกเลาที่มีอยู่ในวัตถุมงคลรุ่นนั้นๆแม้ไม่ได้ปลุกเสกก็ขลังครับเจอที่ไหนก็อย่าปล่อยผ่านนะคร้าบ
นมอกเลาที่วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก นั้น ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาที่โปรดให้ทำบานประตูวิหารโดยการ "ประดับมุก" ซึ่งนับเป็นบานประตูประดับมุกที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถึงขนาดทรงตรัสถึง‘นมอกเลา’ ที่นี่ในคราวเสด็จนมัสการพระพุทธชินราชว่า "นี่แหละ ของวิเศษมีอยู่ที่นี่" สาเหตุที่ตรัสเช่นนี้ เป็นเพราะนอกจากความงดงามแห่งศิลปะที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นมอกเลานี้ คนโบราณนิยมอาราธนานำผ้าขาวบางมาวางทาบแล้วซับด้วยหมึก เพื่อนำติดตัวไปออกศึกสงคราม หรือเป็นเครื่องรางชั้นสูงในหมู่ประชาชนทั่วไป
_______________
“นมอกเลา” (นม-อก-เลา) ที่บานประตูพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บานประตูนี้ เป็นบานประตูไม้ประดับมุกงดงามมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงสร้างถวายพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๙
"อกเลา" หมายถึงแท่งไม้ส่วนที่ทำเป็นแนวตั้งยาว เป็นสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างแบบโบราณ
เพื่อใช้เป็นตัวประกบระหว่างบานประตู เพื่อบังช่องทั้ง ๒ ที่ประจบกัน ตรงกลางไม้จะมีตัวกั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ป้องกันไม่ให้คนภายนอกงัดแงะไม้คานที่พาดปิดประตูด้านในได้สะดวก ตัวกลางไม้รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนี้เรียกว่า “นมอกเลา”
คนโบราณนิยมอาราธนานำผ้าขาวบางมาวางทาบแล้วซับด้วยหมึก เพื่อนำติดตัวไปออกศึกสงคราม เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางของขลังที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวโดยไม่ต้องเสกเป่าเพิ่มเติมแต่อย่างใด
นม คือ ส่วนประดับบนอกเลาของประตูหน้าต่าง อกเลา ๑ ตัว มีนม ๓ ตัว คือ นมบน นมล่าง และนมกลางหรือนมอกเลา
นมบน อยู่ที่ปลายอกเลาลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ
นมล่าง อยู่ที่โคนของอกเลาลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม
นมกลาง อยู่กึ่งกลางของอกเลา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
...นมแต่ละตัวจะสลักอย่างสวยงามหรือเรียบง่ายขึ้นอยู่กับว่าประตูหรือหน้าต่างจะอยู่ด้านไหน
บานประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า “นมอกเลา” เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบอง ท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์ อื่น ๆ และยังมีลาย “อีแปะ” ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    tongja (2.5K)

 

Copyright ©G-PRA.COM