(0)
พิมพ์ใหญ่ สภาพสวย พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539 เนื้อนวะโลหะ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพิมพ์ใหญ่ สภาพสวย พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539 เนื้อนวะโลหะ
รายละเอียดพิมพ์ใหญ่ สภาพสวย พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539 เนื้อนวะโลหะ

-ด้านหน้า พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
-ที่บัวฐานด้านหน้ามีพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง
-ด้านหลัง มีตราสัญญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี กาญจนาภิเษก

ในปี พ.ศ.2539 เป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี คณะกรรมการมีความเห็นที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้พสกนิกรได้สักการบูชาแสดงความจงรักภักดีน้อมเกล้าฯ ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว และหากจะพึงมีรายรับก็จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง

คณะกรรมการได้เห็นความสำคัญของพระพุทธนวราชบพิตรและพระสมเด็จจิตรลดาดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญและหาได้ยากยิ่ง จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ (นามพระพิมพ์จิตรลดา เพื่อให้แตกต่างจากพระสมเด็จจิตรลดา) จึงได้เกิด “โครงการสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ขึ้น

โครงการ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการนั้นมีมูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นที่ปรึกษา หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ และคุณวัลลภ เจียรวนนท์ เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน

การจัดสร้างนั้น แบ่งเป็นพระเนื้อโลหะส่วนหนึ่ง และพระเนื้อผงอีกส่วนหนึ่ง คณะกรรมการได้ดำเนินการ ดังนี้ ด้วยการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาในครั้งนี้ มีทั้งพระเนื้อโลหะและพระเนื้อผง พระเนื้อโลหะมีหลายรายการ แต่สร้างจำนวนไม่มาก
พระสมเด็จจิตรลดารุ่นนี้ เรียกว่า " โครงการหลวง CP1 " บริษัทซีพีฯสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ในหลวงทรงครองราชย์ครบ 50 พรรษา ในปี 2539 จัดสร้างไม่มาก

พิธีพุทธาภิเษก

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานประกอบพิธี ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2538 โดยมีพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศนั่งปรกปลุกเสก ดังนี้

1.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
2.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
3.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
4.พระเทพสุธี วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
5.พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
6.พระปริยัติวิธาน (บุศย์) วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพมหานคร
7.พระราชวิสุทธิคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลักประจวบคีรีขันธ์
8.พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
9.พระราชพิพัฒนโกศล (โกศล) วัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
10.พระราชภาวนาวิกรม (ธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
11.พระพิศาสพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
12.พระอุดมประชานาถ (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
13.พระครูวิมลสีลาภรณ์ (พูนทรัพย์) วัดอ่างศิลา ชลบุรี ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน820 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ40 บาท
วันเปิดประมูล - 10 ต.ค. 2566 - 21:26:53 น.
วันปิดประมูล - 11 ต.ค. 2566 - 23:10:51 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลนักล่าที่ราบสูง (1.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 10 ต.ค. 2566 - 21:27:21 น.



๙๙๙๙๙๙๙๙๙


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 10 ต.ค. 2566 - 21:27:40 น.



๙๙๙๙๙๙๙๙


 
ราคาปัจจุบัน :     820 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     40 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Mampalasak (17)

 

Copyright ©G-PRA.COM