(0)
พระผงเตารีดเนื้อผงผสมว่าน ปี2545 หลวงปู่ธรรมรังษี " ท่านเจ้าคุณสองแผ่นดิน " วัดพระพุทธบาทพนมดิน จ.สุรินทร์ กล่องเดิม สวยหายาก เคาะเดียว








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระผงเตารีดเนื้อผงผสมว่าน ปี2545 หลวงปู่ธรรมรังษี " ท่านเจ้าคุณสองแผ่นดิน " วัดพระพุทธบาทพนมดิน จ.สุรินทร์ กล่องเดิม สวยหายาก เคาะเดียว
รายละเอียดประวัติหลวงปู่ธรรมรังษี " ท่านเจ้าคุณสองแผ่นดิน "
ณ วัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
หลวงปู่ธรรมรังษี “ พระมงคงรังษี ” มีนามเดิมว่า นายสุวัฒน์ ฉิง เกิดเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๒ ณ.ตำบลเกีย อำเภอโมงฤษี (อำเภอโมงรือแซ็ยในปัจจุบัน) จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เมื่อปฐมวัยได้อายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ๑ พรรษา แล้วลาสิกขาออกมาช่วยบิดา-มารดา ทำงานจนอายุครบ ๒o ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๘๑ ณ วัดเวฬุวนาราม ตำบลเกีย อำเภอโมงรือแซ็ย จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีฉายาธรรมว่า “ ธรรมรังษี ”
หลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระที่มีใจใฝ่ปฏิบัติสมาธิภาวนา และกรรมฐาน ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับการศึกษาพระเวทวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ หลายรูปในประเทศกัมพูชาตลอด ๓๕ พรรษา จนมีวิชาแก่กล้าแตกฉานและเชี่ยวชาญหลายแขนงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงในประเทศกัมพูชานับตั้งแต่หลวงปู่ธรรมรังษีท่านอายุ ๒๐ ปี ท่านเน้นศึกษาสายพระเวทย์ วิทยาคมจากครูบาอาจารย์หลากหลายสำนัก รวมทั้งศึกษากับพระสังฆราชชวน นาถ (พระสังฆราชองค์ก่อนในยุค ๒๔๙๐) ซึ่งพระสังฆราชชวน นาถ ท่านเป็นมหาปราชญ์แห่งประเทศกัมพูชา หลวงปู่ธรรมรังษีท่านเรียนพระเวทย์เขมรโบราณชั้นสูง ตลอดระยะเวลา ๓๕ ปี (ถึงอายุ ๕๕ ปี) ควบคู่กับการปฏิบัติกรรมฐาน และได้หันมามุ่งเน้นการปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจังเพียงอย่างเดียว จนได้รับสมณศักดิ์ เป็น “ พระครูธรรมรังษี “ เป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชาถึงขั้นวิกฤต หลวงปู่ธรรมรังษีในฐานะทายาทผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาตกอยู่ในฝ่ายตรงข้ามเขมรแดง เนื่องจากวัดวาอารามในจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพระตะบอง ถูกทำลายเสียหายและถูกยึดเป็นค่ายทหาร พระสงฆ์องค์ใดไม่อ่อนน้อมยอมลาสิกขาเข้าเป็นพวกจะถูกทรมานถึงชีวิต ที่หนีรอดก็กระจัดกระจายไม่ทราบชะตากรรม
คืนหนึ่งในขณะที่หลวงปู่ท่านนั่งเจริญสมาธิภาวนาในกลางดึกสงัด เกิดนิมิตทางหู ได้ยินเสียงประกาศกึกก้องมาแต่ไกล และใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามา ท่านยังคงนั่งนิ่งดำรงสติมั่น และเกิดภาพนิมิตเบื้องหน้าปรากฏชัดเจน คือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของชาวไทย เสด็จยืนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ มีข้าราชบริพารนั่งคุกเข่าเฝ้าถวายความเคารพอยู่เนืองแน่น หลวงปู่ท่านเพ่งมองภาพนั้นอยู่นานจนกระทั่งเลือนหายไป ภาพดังกล่าวยังคงติดตาหลวงปู่ธรรมรังษีมาโดยตลอด วันรุ่งขึ้นหลวงปู่ท่านได้เล่ามงคลนิมิตให้บรรดาญาติโยมและพระลูกวัดฟัง และเอ่ยบอกว่าประเทศไทยนี้ปลอดภัยที่สุด เพราะอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารพระบารมีองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะพาญาติโยมและพระลูกวัดทั้งหลายอพยพหนีร้อนมาพึ่งเย็น ข่าวนี้แพร่กระจายไปทั่วจากนั้นหลวงปู่จึงพาคณะและพระ ๔ รูป เดินทางเช้าตรู่ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๑๘ คล้อยหลังเพียงหนึ่งวันอำเภอโมงรือแซ็ย ได้ถูกเขมรแดงยึดไว้ได้ใน วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๑๘
หลวงปู่ธรรมรังษีและคณะใช้เวลาเดินทางธุดงค์มา ๕ วัน จนถึงด่านปอยเปต อยู่ติดกับชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เข้าพำนักที่วัดป่าเลไลย์เพื่อขออนุญาตเข้าประเทศไทย ในที่สุดก็ได้รับการอนุญาตจากทางการไทย หลวงปู่ท่านโดยสารรถไฟจากสถานีอรัญประเทศเข้าสู่กรุงเทพฯ เช้า วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๘ หลังจากกรุงพนมเปญถูกเขมรแดงยึดได้เพียง ๑ วัน ระหว่างอยู่บนรถไฟหลวงปู่นั่งภาวนาขอพระบารมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่พึ่งตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก
เมื่อถึงกรุงเทพ ได้เข้าพำนักอยู่กับพระอาจารย์วิโรจน์ เจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ซึ่งเป็นสหธรรมิกกันมาก่อน และด้วยความที่หลวงปู่ธรรมรังษีมุ่งมั่นและใฝ่ในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระอาจารย์วิโรจน์จึงได้พาหลวงปู่ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเพลงวิปัสนา กรุงเทพฯ หลวงปู่ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมเพิ่มเติมจากวัดเพลงวิปัสสนา และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ในพรรษาถัดมาหลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงได้ปรารภกับสหธรรมิกรูปหนึ่งนั่นก็คือ พระเกี่ยว ในขณะนั้นท่านมีอายุ ๔๙ ปี ซึ่งปัจจุบันนี้ชาวพุทธรู้จักท่านในนาม สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน แห่งวัดสระเกศ ว่าการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาอยู่ในเมืองหลวงนั้นก้าวหน้าไปได้ช้าเพราะยังไม่สงบสงัดเพียงพอ น่าจะมีสถานที่อื่นที่จะไปบำเพ็ญเพียรให้ประสบความสำเร็จได้ สมเด็จพระพุทฒาจารน์ เกี่ยว จึงนำพาหลวงปู่ท่านจาริกสู่ชนบทบ้านเกิดที่ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ได้พบกับ “ พระอาจารย์สิงห์ สุธัมโม ” (พระครูภาวนาประสุต) เจ้าอาวาสวัดบ้านขี้เหล็ก ต.หนองบัวทอง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วไปในละแวกนั้น เมื่อท่านได้พบอาจารย์สิงห์ก็รู้สึกต้องในอัธยาศัยไมตรี จึงได้พำนักอยู่ วัดบ้านหนองเหล็ก ตามคำชักชวนช่วงเวลาแห่งการได้อยู่จำพรรษา ณ วัดบ้านหนองเหล็กนี้เองทำให้หลวงปู่ธรรมรังษีได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์สายวิปัสสนาจากสำนักต่างๆ มากขึ้นได้เปิดตัวให้เป็นที่รู้จักเลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนและเป็นที่ยอมรับ ในหมู่พระสงฆ์ที่สนใจการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก
ปีพ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงปู่ธรรมรังษี ท่านได้รู้จักกับพระครูปลัดขาว ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดบุญศรีมุนีกร กรุงเทพฯ พระครูปลัดขาวยอมรับและนับถือหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระนักปฏิบัติที่เต็มไปด้วยคุณธรรมเปลี่ยมล้น และมีอภิญญาญาณสูง จึงได้อารธนาให้หลวงปู่ธรรมรังษีร่วมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ในสำนักของท่านซึ่งรับฝึกปฏิบัติธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ผู้สนใจทั่วประเทศหลวงปู่ธรรมรังษีเห็นเป็นโอกาสที่จะได้เผยแพร่ แนวทางปฏิบัติให้กว้างขวางได้มากยิ่งขึ้น จึงได้รับปากไปปฏิบัติภารกิจในช่วงที่มีการฝึกอบรมที่สำนักวัดบุญศรีมุนีกร เป็นเวลา ๒ ปี จึงกลับมาจำพรรษาอยู่กับพระครูภาวนาประสุต อีกครั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงปู่ธรรมรังษีท่านเดินธุดงค์ไปภาคใต้ จรดถึงภาคเหนือของไทย ลัดเลาะไปยังพม่า และสปป.ลาว เรื่อยมาเมื่อครั้งหลวงปู่ท่านได้รู้จักพระมหาพันธ์ สีลวิสุทโธ (พระครูภาวนาวิสุทธิญาณ) เจ้าอาวาสวัดนิรมิตวิปัสสนา รองเจ้าคณะอ.ด่านซ้าย จ.เลย หลวงปู่ธรรมรังษีท่านได้มีโอกาสไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดเนรมิตวิปัสสนาแห่งนั้น อีกทั้ง หลวงปู่ธรรมรังษีท่านเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๑๕ วัน (นั่งสมาธิตลอดเวลาไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ลืมตา ไม่ฉันอาหาร น้ำ โอสถ ไม่ขับถ่าย) ซึ่งหาพระสงฆ์ปฏิบัติได้เหมือนท่านถือว่าเป็นเรื่องยากในยุคปัจจุบัน หลวงปู่ธรรมรังษีท่านได้มีโอกาสเพิ่มพูนบารมีให้แกร่งกล้ายิ่งขึ้นเป็นเวลาเกือบ ๓ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๕ เจ้าคณะอำเภอคูเมือง ที่พยายามเสาะแสวงหาพระวิปัสสนาจารย์ที่มีอภิญญาญาณเพื่อไปอบรมเผยแผ่ธรรมให้กับคณะสงฆ์ในอำเภอคูเมือง จึงได้มาพบกับหลวงปู่ธรรมรังษี ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงได้อาราธนาให้ท่านมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ดังกล่าว นับเป็นโอกาสดี และประจวบเหมาะอย่างยิ่งท่านพิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติธรรมตามแนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน หากไม่มีการเผยแผ่ก็จะไม่สามารถสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรได้เลย เมื่อมีความคิดเห็นเช่นนี้หลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงรับคำอาราธนาของท่านเจ้าคณะอำเภอคูเมือง โดยได้มาพำนักประจำที่สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานของ วัดบ้านปะเคียบ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ในเวลาต่อมาทั้งคณะสงฆ์ และชาวบ้านต่างได้สัมผัสและรับปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่ธรรมรังษี เกิดความเลื่อมใสและศรัทธามาฝึกปฏิบัติกันไม่ขาดสาย
พ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์ ปภัสสโร) เจ้าคณะอำเภอท่าตูมในสมัยนั้น ได้พบหลวงปู่ธรรมรังษีหลังจากรู้จักกันไม่นานท่านพระครูประภัศร์คณารักษ์จึง นิมนต์หลวงปู่ท่านไปดูสถานที่ป่าหนาทึบแห่งหนึ่งห่างจากอำเภอท่าตูมไม่ไกลนัก
เมื่อหลวงปู่ธรรมรังษีได้เดินทางมาถึงดูสถานที่แห่งนี้ท่านเกิดความปิติ โสมนัสเป็นอย่างมาก หลวงปู่ได้เอ่ยว่า... “ สถานที่แห่งนี้มีความคุ้นเคยกันมาก่อน “ แล้วท่านก็ยิ้มแล้วพูดอีกครั้งว่า “ ฤาษีธรรมรังษี อาตมาเป็นฤาษีพนมดิน “ หลวงปู่ธรรมรังษีจึงรับปากกับพระครูประภัศร์คณารักษ์ โดยไม่ลังเลแม้แต่น้อยที่จะบุกเบิกสร้างป่าหนาผืนนี้ให้เป็น วัดพระพุทธบาทพนมดิน สถานที่ปฏิบัติธรรมให้รุ่งเรืองหลวงปู่ธรรมรังษีจึงได้อำลาญาติโยมชาวคูเมืองท่ามกลางความอาลัยของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีขอให้ความสัมพันธ์ของพี่น้องชาวบ้านอำเภอคูเมืองกับพี่น้อง อำเภอท่าตูม จงอย่าได้ขาดจากกันหลวงปู่ท่านขอเป็นผู้เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของพี่น้องทั้งสองนี้
การจากมาของหลวงปู่ธรรมรังษีในครั้งนั้นมีภิกษุสามเณร แม่ชี พราหมณ์ และอุบาสกอุบาสิกาติดตามมาด้วยความผูกพันเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีกุฏิให้พักอาศัยเลยแม้สักหลัง จะมีก็เพียงผืนป่าที่มีงูและยุงมากมาย ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นเต็มใจอยู่ปรนนิบัติรับใช้ปฏิบัติธรรม ร่วมเป็นร่วมตายกันต่อไป แม้กุฏิหลวงปู่ธรรมรังษีเองท่านก็ไม่มี ในสมัยนั้นยามค่ำคืนวันหนึ่งมีสามีภรรยาสูงวัยคู่หนึ่งอาศัยอยู่หมู่บ้านลุงปุง ได้เดินทางตามถนนหลัก ท่าตูม-สุรินทร์ สองข้างฝั่งเป็นป่าหนาทึบ ได้เกิดสีลำแสงสว่างจ้าสีฟ้าครามลูกใหญ่ในป่าหนาทึบนั้น พุ่งเป็นปล่องทะยานขึ้นตรงบนท้องฟ้าสูงจนลับตา ทั้งสองจึงตัดสินใจเดินเข้าไปดูที่กำเนิดลำแสงนั้น บริเวณตำแหน่งที่ลำแสงส่องท้องฟ้านั้นกลับพบพระสงฆ์รูปหนึ่งนั่งสมาธิ อยู่บนแคร่ไม้ไผ่เล็กๆ อยู่ในท่ามกลางป่าหนาทึบ ไม่มีอะไรเลยนอกจากเครื่องอัฏฐะบริขารเพียงน้อยนิด จึงทราบภายหลังว่าพระสงฆ์รูปนั้นท่านมีชื่อว่า หลวงปู่ธรรมรังษี ด้วยบารมีธรรมอันแกร่งกล้า และด้วยเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของหลวงปู่ธรรมรังษี สามารถทำให้วัดพระพุทธบาทพนมดินได้สำเร็จดังเจตนารมณ์พัฒนาบุกเบิกเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อสงครามสงบทางการประเทศกัมพูชาได้ นิมนต์ขอให้หลวงปู่ธรรมรังษีกลับไปดำรงค์ตำแหน่งพระสังฆราช แห่งประเทศกัมพูชา แต่ท่านได้ปฏิเสธไป เพราะหลวงปู่ท่านต้องการอยู่ที่ประเทศไทย และหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาของชาวอีสานใต้และภาคใกล้เคียง เป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงขอรับสมณศักดิ์ทางการประเทศกัมพูชา ในพระยศสมณะศักดิ์ชั้นธรรม เพียงเท่านั้นวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕ หลวงปู่ธรรมรังษี เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชพระสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี ที่ประเทศกัมพูชารับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “ พระธรรมวิริยาจารย์ กัมพูชา ”
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ เนื่องในวโรกาสอันเป็นวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราช ด้วยความเมตตาของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ หลวงปู่ธรรมรังษีได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ “ พระครูมงคลธรรมวุฒิ ” โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน และ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “ พระมงคลรังษี ”
ด้วยจริยาวัตรอันงดงาม ตลอดชีวิตหลวงปู่ท่านพูดน้อยมาก ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา ไม่เคยดุด่าว่ากล่าว ไม่เอ่ยคำกระทบจิตใจ ให้ผู้ใดขุ่นข้องหมองใจ ทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง กิริยางดงามวางเฉย ไม่ยึดถือทรัพย์สิน เงินทองเป็นของท่าน ปฏิบัติดั่งสายวัดป่าอย่างเคร่งครัด ชาวบ้านและเหล่าศิษยานุศิษย์ต่างทราบกันดี รวมถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน , หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ฯลฯ ต่างก็มีความเคารพและศรัทธาเลื่อมใสในหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นอย่างสูง หลวงปู่ธรรมรังสีท่านเป็นพระสุปฏิปัณโณอย่างแท้จริง
วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ เวลา ๒๒.๔๘ น. หลวงปู่ท่านละสังขารด้วยโรคชรา สิริอายุ ๘๗ ปี ๖๘ พรรษา สังขารของหลวงปู่ธรรมรังษี บรรจุโลงในปราสาทศิลปะเขมร สังขารหลวงปู่ท่านไม่เน่าเปื่อยแม้สังขารของท่านจะดับขันธ์ไปแล้วก็ตาม
วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๘ ขอเชิญเหล่าศิษยานุศิษย์และผู้มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ธรรมรังษี ณ วัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ขอขอบคุณ หนังสือ " ธรรมรังษี ส่องสว่าง กลางพนมดิน " ผู้เขียนขอน้อมจิตกราบสักการะพระอริยสงค์เจ้า..ด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธาถวายเป็นพุทธบูชาต่ององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า
ราคาเปิดประมูล199 บาท
ราคาปัจจุบัน249 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 06 พ.ย. 2566 - 22:45:27 น.
วันปิดประมูล - 10 พ.ย. 2566 - 11:06:39 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtextile007 (9.1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     249 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    manbenzsurin (178)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1