ชื่อพระเครื่อง | พระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง จ.นครปฐม รุ่นแรก เนื้อนวโลหะ ปี 2505 จัดสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะ (กลับดำ) |
รายละเอียด | พระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง จ.นครปฐม รุ่นแรก เนื้อนวโลหะ ปี 2505 จัดสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะ (กลับดำ) โดย พระองค์เจ้าเฉลิมพล ฑิฆัมพรฯ ซึ่งเป็นศิษย์ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เมื่อปี พ.ศ.2505 (พระองค์เจ้าเฉลิมพลศรัทธาหลวงพ่อแช่มมากจึงได้นำกริ่งพิมพ์นี้ถวายวัดตาก้องซึ่งสร้างหลังหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง มรณภาพแล้ว) โดยใช้แบบของพระกริ่งเฉลิมพล วัดช้างให้ ที่ท่านได้จัดสร้างถวายท่านอาจารย์ทิม แต่เพื่อมิให้เกิดการสับสน ในการสะสม " พระกริ่ง เฉลิมพล " ทั้งสองวัด ท่านจึงได้มีรับสั่งให้ ตบแต่งพิมพ์พระกริ่ง เฉลิมพล ที่หล่อแล้วเสร็จแล้ว ของ วัดช้างให้ ให้ชลูดกว่าของ วัดตาก้อง และ ที่ใต้ฐาน ของพระกริ่งเฉลิมพล วัดช้างให้จะแปะด้วยแผ่นทองแดง แบบก้นถ้วย ส่วนใต้ฐานของพระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง จะไม่มีแผ่นทองแดงปิด แต่ตอกโค๊ต คำว่า เฉลิมพล อันเป็นพระนามของพระองค์ไว้ ทุกองค์ นอกจากนี้ยังมีการตอก โค้ดอุ และหมายเลขประจำองค์พระไว้ด้วย
หลังจากที่ท่านอาจารย์ทิม ได้ปลุกเสกพระกริ่งทั้งสองรุ่นนี้ที่ช้างให้ จ.ปัตตานี ในปี พ.ศ.2505 พร้อมกับพระเครื่อง หลวงปู่ทวดรุ่นอื่นๆ ที่โด่งดังในปัจจุบันแล้ว พระองค์ท่านจึงได้นำพระกริ่ง เฉลิมพล วัดตาก้อง จาก วัดช้างให้ มามอบให้วัดตาก้อง จ.นครปฐม เพื่อเปิดให้บูชา และ หาทุนทรัพย์ในการสร้างกำแพงวัดตาก้อง โดยได้มีการจัดพิธีมหาพุทธภิเษก อย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ของ จังหวัดนครปฐม และ พื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวนมาก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา และ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น
พระกริ่งเฉลิมพล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรเป็นผู้สร้าง ท่านได้ให้ช่างแกะพิมพ์พระกริ่งใหญ่ขึ้นมาจำนวน 4 พิมพ์ จัดพิธีเททองหล่อพระกริ่งที่วัดช้างให้ โดย ท่านพระครูวิสัยโสภณ (หลวงพ่อทิม วัดช้างให้)เป็นเจ้าพิธี หลังจากเททองแล้วได้นำพระกริ่งใหญ่เข้าพิธีปลุกเสกที่วัดช้างให้พร้อมเหรียญหลวงปู่ทวดพิมพ์หลังเตารีด รุ่น พ.ศ.2505 พร้อมทั้งแบ่งพระกริ่งใหญ่ดังกล่าวถวายวัดช้างให้ไว้จำนวน 300 องค์ ต่อมาบรรดาเซียนได้เรียกนามของพระกริ่งดังกล่าวว่า "พระกริ่งใหญ่หลวงปู่ทวด"
ส่วนพระกริ่งที่เหลือเสด็จองค์ชายกลาง ท่านนำมาถวายวัดตาก้องปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์นครปฐมรุ่นเก่าหลายรูป ต่อมา พระกริ่งใหญ่หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ได้รับความนิยมจากเซียนเป็นอย่างสูงถึงขนาดเช่าบูชากันถึงหลักแสน ส่วนพระกริ่งใหญ่หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ผู้คนเรียกเสียใหม่ตามพระนามของผู้สร้างว่า พระกริ่งเฉลิมพล ได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นเดียวกัน จึงได้เกิดการเปรียบเทียบกันว่าพระกริ่งองค์ใดเป็นพระกริ่งหลวงปู่ทวด องค์ใดเป็นพระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง ซึ่งได้ข้อ ยุติตรงที่ พระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง จะอุดกริ่งที่ฐาน พร้อมทั้งตอกหมายเลข และ ลายเซ็นต์คำว่า "เฉลิมพล" บางองค์ก็มีเพียงลายเซ็นต์ บางองค์ก็มีแต่หมายเลข และ บางองค์ก็ไม่มีทั้งลายเซ็นต์และหมายเลขกำกับ บางองค์ตอกโค๊ต ฉ บางองค์ก็ไม่ตอก แม่พิมพ์พระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง กับ กริ่งเฉลิมพล วัดช้างให้เป็นแม่พิมพ์แบบเดียวกัน แต่คนละพิมพ์ทรง ส่วนพระกริ่งหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ที่ใต้ฐานก็กว้านเป็นรูปก้นถ้วยแล้วจึงบรรจุเม็ดกริ่ง ผิดกับพระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง ที่ฐานจะเรียบไม่ได้กว้านลึกเป็นก้นถ้วย
กริ่งเฉลิมพลหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ปี 2505
....หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของมหาชนมาตั้งแต่ครั้งสงครามอินโดจีน หลวงพ่อแช่ม เป็นพระผู้วทรงอภิญญาอันแก่กล้า มีญาณทัศนะหยั่งรู้วาระจิต อีกทั้งเรืองวิทยาคม มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นที่กล่าวขวัญของบรรดาผู้ที่มีโอกาสพบปะหรือใกล้ชิดกับท่าน จนบางเรื่องเมื่อฟังแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเรื่องจริง อย่างเช่นทอดแหหาปลาบนบก ใช้ลอกดักเงินกลางอากาศ ฯลฯ บางเรื่องก็พอจะฟังได้บ้าง อาทิ ย่นหนทาง และ หยุดรถไฟที่กำลังวิ่งอยู่ เสกผ้าเช็ดหน้าให้เป็นกระต่าย หรือ เสกผ้าอาบให้กลายเป็นงู ฯลฯ สามารถคลุกคลีกับสัตว์ร้ายต่าง ๆ เช่น เสือ หมูป่า และ สัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษเช่น งูจงอาง และ งูเห่า ได้โดยที่มันไม่ทำอันตราย
วัตรปฏิบัติของท่านพ่อแช่มค่อนข้างประหลาด เช่นเดียวกับ หลวงพ่อโอภาสี พฤติกรรมที่ต่างไปจากพระภิกษุอื่น วัตรปฏิบัติหลวงพ่อแช่มท่านปฏิบัติแบบพระป่า จึงทำให้แตกต่างจากภิกษุอื่นเป็นเหตุให้หลวงพ่อแช่มต้องอธิกรณ์ แต่ก็ไม่สามารถเอาผิดกับท่านได้ เพราะการปฏิบัติของท่านอยู่ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า โดยถือการปฏบัติด้วยการเตือนตนเอง
หลวงพ่อแช่มมีฐานะเป็นเพียงลูกวัดธรรมดา และตัวท่านก็รักความสันโดษ ไม่ยินดีในลาภยศสมณศักดิ์ใด ๆ ชอบความเป็นอยู่ง่าย ๆ สมถะ ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และ ไม่พิถีพิถัน นุ่งห่มแต่จีวรเก่า ๆ กุฏิ หรือ ที่พัก เป็นเพียงกระต๊อบหลังคามุงจาก ไม่ปูพื้น ท่านนอนเพียงไม้กระดานแผ่นเดียว ที่ปูอยู่กับพื้นดิน มีไม้ขอนวางรอง ไม่มีเตียง ไม่มีตั่ง ไม่มีเก้าอี้ ไม่มีม้านั่ง ไม่มีหมอนอิง แม้กระทั่งเสื่อก็ไม่มีปูรอง กุฏิหลวงพ่อ ปราศจากฝากั้น ปลูกอยู่ข้างกำแพงพระอุโบสถหลังเก่า
อาหารที่หลวงพ่อแช่มฉัน ท่านฉันตามมีตามเกิดเพียงมื้อเดียว หลวงพ่อแช่มปีหนึ่งจะสรงน้ำเพียงครั้ง หรือ สองครั้ง เท่านั้น ซึ่งท่านจะทำเมื่อมีสานุศิษย์ร้องขอ เพื่อเป็การแสดงมุทิตาจิต และเป็นเรื่องที่แปลกหลวงพ่อแช่มไม่มีกลิ่นตัวให้ผู้ใกล้ชิดได้สัมผัสรับรู้
หลวงพ่อแช่มท่านเรียนวิชามาจาก หลวงพ่อทา ท่านเดินธุดงค์ไปทั่วสารทิศ ท่านมีอาจารย์มากมาย ลูกศิษย์ลูกหาที่ร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อแช่ม ได้แก่ หลวงพ่อเต๋ คงทอง หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อสี วัดปากคลองบางครก ฯลฯ เป็นต้น
................. |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 29,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | - 27 พ.ย. 2566 - 14:13:00 น. |
วันปิดประมูล | - 07 ธ.ค. 2566 - 14:13:00 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | Mahamonkkol888 (8K) 
|