(0)
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม กรุงเทพฯ หลังราหู ปี13 จารหน้าหลัง






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม กรุงเทพฯ หลังราหู ปี13 จารหน้าหลัง
รายละเอียดหลวงปู่หล่ำ เป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัด และเปี่ยมด้วยคุณธรรม เป็นที่พึ่งของชาวบ้านและสาธุชน และมีจิตที่เปี่ยมด้วยความเมตตา
อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า หล่ำ แซ่เจ็ง เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2472 ที่บ้านหมู่ที่ 1 ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปรา การ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจุ๊ยเตียง แซ่เจ็ง และนางปิ่น แซ่ซิ้ม
ช่วงวัยเยาว์ อายุ 7 ขวบ มารดาได้ถึงแก่กรรม จึงย้ายมาอยู่กับตาและยาย พ.ศ.2482 เข้าโรงเรียนประชาบาลวัดแหลม จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นจึงออกมาช่วยครอบครัวทำสวน เมื่อ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทร ปราการ มี พระครูสิริศีลคุณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเผย เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ผ่อง เจ้าอาวาสวัดปุณหังสนาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทเข้า อยู่ในสังกัดวัดบางหญ้า แพรก ได้ท่องสวดมนต์ เรียนพระปริยัติธรรมและเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในปี พ.ศ.2492 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

หลวงปู่หล่ำ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเผย วัดบางหญ้าแพรก อีกทั้งได้สืบสานวิชาของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า กับอาจารย์พานต์ นนทตา ฆราวาสศิษย์เอกของหลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
ลำดับความทรงจำ พระภิกษุหล่ำได้มีโอกาสเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อเผย ที่เป็นพระเกจิอาจารย์ในขณะนั้น ท่านได้ฝึกออกท่องธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อฝึกฝนจิตใจให้มั่นคง

ยาม ว่างจากธุดงค์อยู่กับวัด ท่านก็มิได้อยู่นิ่งเฉย ขออนุญาตหลวงพ่อเผย นำสมุดข่อยโบราณมาศึกษา ในช่วงที่หลวงพ่อเผยชรา ภาพมาก ท่านได้มอบหมายหน้าที่ทั้งหมดให้พระภิกษุหล่ำเป็นผู้ดำเนินการแทน แม้กระทั่งการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเผย

นอกจากนี้ ยังเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อ ครื้น วัดสังโฆสิตาราม จ.สุพรรณบุรี ครั้งหนึ่งท่านเดินทางธุดงค์ผ่านไปแถบเมืองสุพรรณบุรี ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อครื้น จึงเดินทางไปฝากตัวขอเป็นศิษย์เรียนวิทยาคม

หลวงพ่อครื้น ได้ถ่ายทอดวิทยาคมและการสร้างเครื่องรางของขลัง อาทิ การสร้างยันต์ ผ้าประเจียด ตะกรุดนานาชนิด โดยเฉพาะวิชาที่เลื่องชื่อของหลวงพ่อครื้น คือ วิชาทำตุ๊กแก

หลวงปู่หล่ำ อธิบายว่า "หลวงพ่อครื้นได้ถ่ายทอดการสร้างตุ๊กแก คือ การสร้างหุ่นพยนต์ ตามแบบพระเกจิอาจารย์โบราณ แต่แทนที่จะสร้างเป็นหุ่นแบบคน ก็สร้างเป็นตุ๊กแก ปกติสร้างด้วยดิน แล้วนำไปเผาไปทาสีให้เหมือนจริง แต่หัวใจสำคัญคือการปลุกเสกวิทยาคมลงไป ให้ตุ๊กแกพยนต์มีธาตุทั้งสี่ ทำให้เสมือนมีชีวิต"

หลวงพ่อครื้น เคยให้หลวงปู่หล่ำเสกตุ๊กแก โดยท่านนั่งสมาธิคุมอยู่ด้านหลังพิธีกรรม ในครั้งนั้นหลวงพ่อครื้น เอ่ยปากชมว่า "หล่ำทำได้เหมือนพ่อเลยนะ" จากนั้นหลวงปู่หล่ำได้รับความไว้วางใจ เสกตุ๊กแกแทนหลวงพ่อครื้นตลอดเวลา

หลวง ปู่หล่ำ เป็นศิษย์ที่หลวงพ่อครื้นให้ความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง ช่วงที่หลวงพ่อครื้นใกล้มรณภาพท่านได้อยู่ในอ้อมกอดของหลวงปู่หล่ำ ท่ามกลางศิษยานุศิษย์มากมาย ท่านได้บอกว่า "หล่ำเอย พ่อจะไปแล้วนะ วิชาของพ่อมอบให้หล่ำไปหมดแล้ว ต่อไปต้องสงเคราะห์ชาวบ้านแทนพ่อด้วยนะ"

จวบจนหลวงพ่อครื้นได้ละสังขาร หลวงปู่หล่ำได้ย้ายไปพำนักที่วัดไกรสีห์(น้อย)อยู่ได้ระยะหนึ่ง ญาติโยมที่วัดคลองบางปิ้ง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ได้นิมนต์ให้ท่านมาช่วยพัฒนาวัด

ได้ไปช่วยพัฒนาวัดคลองบางปิ้งอยู่ 2 พรรษา จนกระทั่งวัดคลองบางปิ้งมีความเจริญรุ่งเรือง

ต่อ มา หลวงปู่หล่ำได้รับนิมนต์จากศรัทธาญาติโยมให้มาช่วยสร้างวัดสามัคคีธรรม แขวงวังทองหลาง ที่เพิ่งเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2510 จนวัดเริ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคง

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2522 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามพระครูสิริธรรมรัต

กว่ากึ่งศตวรรษแห่งการครองสมณเพศ หลวงปู่หล่ำได้สั่งสมประสบการณ์ รู้หนาวรู้ร้อน ผ่านกาลฝนมามาก มีประสบการณ์ทุกอย่าง

เกียรติคุณ ของหลวงปู่หล่ำ เป็นที่รู้จักศรัทธาเลื่อมใส ความชราไม่เป็นปัญหา ด้วยความเมตตาที่เปี่ยมล้น หากใครมาขอพบ ท่านไม่เคยปฏิเสธ ญาติโยมที่มีทุกข์นานา จะมาขอให้ท่านช่วยปัดเป่าสิ่งอัปมงคลออกไปจากตัว ด้วยวิทยาคมที่ได้ร่ำเรียนมา จนเป็นที่เลื่องลือ

บางครั้งลูกศิษย์ของท่านเองต้องขอร้อง เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ

หลวง ปู่หล่ำ ได้ปรารภสอนศิษย์ ว่า "มนุษย์เราเกิดมาใช้ชีวิตในโลกนี้สั้นนัก อย่ามัวแต่เล่นหัวสนุกสนาน กินแล้วนอน นอนจนมากกว่าทำงาน เรียกว่าเสียเวลาเปล่า เราควรเอาเวลานอนส่วนหนึ่งมาทำงาน มาสวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญ นั่งสมาธิ มาทำอะไรที่มันเกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม"
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน160 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ30 บาท
วันเปิดประมูล - 03 ธ.ค. 2566 - 22:17:48 น.
วันปิดประมูล - 04 ธ.ค. 2566 - 22:19:49 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลRainbow1990 (342)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     160 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     30 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    fully (1.8K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM