(0)
พระชัยวัฒน์ชินบัญชรมหาโสฬส ปี2533(เคาะแรกแดงเลยครับ)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระชัยวัฒน์ชินบัญชรมหาโสฬส ปี2533(เคาะแรกแดงเลยครับ)
รายละเอียดพระชัยวัฒน์ชินบัญชรมหาโสฬส เนื้อนวโลหะ วัดละหารไร่ ระยอง พศ.2533 เป็นการสร้างพระกริ่งชินบัญชรครั้งที่2 หลังจากการสร้างกริ่งชินบัญชรครั้งแรกที่โด่งดัง ในปี 2517 เนื่องจากยังมีผู้ต้องการพระกริ่งชินบัญชรของลป.ทิมอีกเป็นจำนวนมากแต่ก็ยังไม่สมหวัง ดังนั้นจึงได้มีการสร้างพระกริ่งชินบัญชรขึ้นมาใหม่โดยคุณชินพร สุขสถิตย์ ซึ่งการสร้างครั้งนี้ห่างจากการสร้างครั้ง แรก 16 ปี (เลข 16 หรือโสฬสเป็นเลขมงคลเลยเป็นที่มาของชื่อรุ่นมหาโสฬส) การสร้างพระกริ่งรุ่นนี้มีการเททองที่วัดละหารไร่ บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าวิหารภาวนาภิรัติ(ลป.ทิม) ที่ประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริง โดยช่างที่เททองคือช่างสมร รัชชนะธรรมผู้ซึ่งเททองพระกริ่งชินบัญชรรุ่นแรก มีชนวนโลหะมงคลมากมายรวมทั้งชนวนกริ่งชินบัญชรและตะกรุดของลป.ทิม หลอมผสมในเนื้อโลหะด้วย พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ชินบัญชรมหาโสฬส เททองโดยลป.เริ่ม วัดจุกกะเฌอ (ผู้ปลุกเสกกริ่งปรโม) และมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงนั่งปรกขณะเททอง 4 ทิศ 4 องค์ คือ ลพ.สวัสดิ์ วัดกระแสบน ระยอง(ทิศเหนือ) ,ลพ.ชม วัดโป่ง ชลบุรี (ทิศใต้) ,ลป.วิเวียน วัดดวงแข กรุงเทพ(ทิศตะวันออก) ,ลป.คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง(ทิศตะวันตก)จำนวนการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ชินบัญชรมหาโสฬสเนื้อนวโลหะ อย่างละ 2,296 องค์ โดยพระกริ่งจะมีการตอกโค๊ตและหมายเลข ส่วนพระชัยวัฒน์ตอกโค๊ตอย่างเดียว
ชนวนมวลสารต่างๆที่นำมาจัดสร้าง

1.โลหะชนวนพระกริ่งชินบัญชร พ.ศ. ๒๕๑๗
2.ตะกรุดทองแดงรุ่นเก่าและเหรียญชำรุดหลวงปู่ทิมอิสริโก
3.แผ่นทองแดงจารพระยันต์ ๑๐๘ และ นะ ๑๔ หลวงพ่อบุญมี วัดเกาะ จ.สุโขทัย เป็น ผู้จารอักขระลงและปลุกเสกพระยันต์
4.พระพุทธรูปชำรุด จากพิธีหล่อ พระกริ่งปรโม วัดจุกกะเฌอ อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี
5. โลหะชนวนพระกริ่งวัดตาก้อง จ. นครปฐม สร้างโดยพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
6. โลหะชนวนพระช่อพระชัยหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ. นครปฐม
7. ตะกรุดแม่ทัพ วัดหมูดุด อ.ท่าใหม่ จ. จันทบุรี
8. โลหะชนวนรูปหล่อหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ. นครพนม
9 . นวโลหะคือ โลหะ 9 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ จ้าวน้ำเงิน สังกะสี ชิน บริสุทธิ์

.........พิธีเททอง กระทำในเช้าวันศุกร์ 4 พฤษภาคม 2533 โดยจัดพิธีบวงสรวง คุณชินพร สุขสถิตย์ จุดธูปเทียนบูชาบวงสรวงครูอาจารย์ จากนั้นหมอกุหลาบ จ้อยเจริญ ทำหน้าที่เป็นบัณฑิตอัญเชิญเทวดา บวงสรวงครูอาจารย์ เทพ พรหม เจ้าที่ และเจิมเบ้า หมอกุหลาบผู้นี้เป็นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ทิม ซึ่งท่านเคยใช้ให้หมอกุหลาบ บวงสรวงในพิธีต่าง ๆ เป็นประจำ พิธีสงฆ์ พระโสภณธรรมคณี เจ้าคณะจังหวัดจุดเทียนชัย และเวลา 9.09 น. ซึ่งเป็นทวีฤกษ์พระโสภณธรรมคณี เป็นประธานเททองพระกริ่งบูชาชินบัญชรมหาโสฬส หน้าตัก 32 นิ้ว และรูปหล่อบูชาหลวงปู่ทิม หน้าตัก 16 นิ้ว เวลา 9.49 น. ซึ่งถือเป็นเพชรฤกษ์ หรือ เพชฌฆาตฤกษ์ เป็นฤกษ์ดีทางมหาอำนาจ และจู่โจม พระครูศรีฉฬังคสังวร ( หลวงปู่เริ่ม ปรโม ) เป็นประธานเททอง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์และรูปหล่อ พระนั่งปรก 4 ทิศ 4 องค์ และนั่งปรกในปะรำพิธีอีก 2 องค์ดังนี้
1. พระครูโสภณสังฆการ ( หลวงพ่อสวัสดิ์ ) วัดกระแสบน ทิศอุดร (เหนือ)
2. พระครูสิทธิกิจจาทร ( หลวงพ่อชม ) วัดโป่ง ทิศทักษิณ (ใต้)
3. พระครูปลัดธรรมจริยวัตร์ ( หลวงปู่วิเวียน ) วัดดวงแข ทิศบูรพา (ตะวันออก)
4. พระครูสุตพลวิจิตร ( หลวงพ่อคร่ำ ) วัดวังหว้า ทิศประจิม (ตะวันตก)
5. พระโสภณธรรมคณี ( พระมหาอภัย ) วัดป่าประดู่ ในปะรำพิธี
6. พระครูศรีฉฬังคสังวร ( หลวงปู่เริ่ม ) วัดจุกกะเฌอ ในปะรำพิธี และในเวลาเดียวกันนั้นพระสงฆ์จำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ชัยมงคลคาถา และพระคาถาชินบัญชร นับเป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก หายากเป็นที่เสาะแสวงหา
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 24 ธ.ค. 2566 - 20:30:29 น.
วันปิดประมูล - 25 ธ.ค. 2566 - 21:46:25 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลketanirut (731)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Khak2800 (1.2K)

 

Copyright ©G-PRA.COM