(0)
พระผงแม่แก่ วัดก้างปลา ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี 2524 เนื้อว่าน หลังยันต์ หายาก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระผงแม่แก่ วัดก้างปลา ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี 2524 เนื้อว่าน หลังยันต์ หายาก
รายละเอียดพระผงแม่แก่ วัดก้างปลา ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี 2524 เนื้อว่าน หลังยันต์ ปลุกเสกโดยพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง หายากมากๆ เคาะเดียว





รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง 0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]
จำนวน 0 โหวต

อ่านความคิดเห็น






ชื่อพระเครื่อง พระผงแม่แก่ วัดก้างปลา ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี 2524 (องค์ที่ 2) เนื้อว่าน หลังยันต์ ปลุกเสกโดยพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง หายากมากๆ เคาะเดียว
รายละเอียด ก้างปลา ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช พระแก่ ๗๕๖ ปี “พระแก่”หรือ “แม่แก่” หรือ “หลวงพ่อแก่” เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดก้างปลา หมู่ที่ ๓ ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระแก่เป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ไม่มีคู่ครอง เป็นผู้ที่มีใจบุญ สุนทาน มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ชอบทำบุญบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 1800 ท่านทราบว่าที่เมืองนครศรีธรรมราช มีการบูรณะซ่อมแซมพระบรมธาตุ ท่านได้บอกบุญแก่ผู้มีจิตศรัทธารวบรวมทรัพย์สินที่มีค่าพร้อมเสบียงอาหาร ชวนคณะผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายพร้อมทั้งบริวารลงสำเภาเดินทางมาทางทะเลสิ้นระยะเวลาแรมเดือน เดินทางมาตามเส้นทางแม่น้ำตรัง มาตามลำคลอง(คลองใหญ่) มาถึงคุ้งน้ำวน(คลองเภาลายในปัจจุบัน)เรือสำเภาก็อับปางลง ทรัพย์สินต่างๆจมลงในแม่น้ำสิ้น ผู้คนที่มาต่างก็กระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ส่วนองค์พ่อแก่เองมาติดอยู่ที่เกาะวัดก้างปลา และสิ้นพระชนม์ที่เกาะวัดก้างปลาแห่งนี้ ต่อมาพระภิกษุเชื้อสายจีนได้สืบทราบว่าคณะที่เดินทางมาจากประเทศจีนเพื่อมาร่วมบูรณะพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้เสียชีวิตในระหว่างทางเพราะเรือสำเภาอับปางลง จึงได้สร้างพระไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา และคุณความดีของพ่อแก่ท่านไว้ที่เกาะก้างปลาแห่งนั้น และที่เรียกกันหลายชื่อก็เพราะสาเหตุ ดังนี้ คือ เรียกว่า “แม่แก่”เรียกตามคนในสมัยโบราณ เพราะเมื่อมีคนมาบนบายศาลกล่าวขอพรเมื่อได้สำเร็จตามความปรารถนา ก็เรียกตามความรู้สึกของตนด้วยความเคารพว่า “แม่แก่”(แม่เฒ่า)เนื่องจากอยู่มานานแต่ไม่มีใครรู้จักชื่อ ที่เรียกว่า “พระแก่” เพราะชาวบ้านมีความรู้สึกว่าท่านเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรมมีความบริสุทธิ์เช่นเดียวกับพระ เป็นที่พึ่งไดในยามที่พวกเขามีทุกข์ จึงเรียกว่า “พระแก่” เรียกว่าหลวงพ่อแก่ เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันในสมัยพระครูวิฑิตธรรมโสภณ(มหาเลียบ ฐิตธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดก้างปลา ซึ่งเป็นพระที่เก่งทางด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม มีคนมาสักการะท่านมากและถามถึง เรื่องพระแก่ แม่แก่ ท่านจึงสร้างวิหารและเขียนไว้ที่หน้าวิหารว่า วิหารหลวงพ่อแก่ เพื่อให้เป็นชื่อสากล เพราะเป็นชื่อที่เรียกง่ายและเป็นคำที่ไพเราะ คนในสมัยปัจจุบันจึงเรียกว่า “หลวงพ่อแก่” กันทั่วหน้า อภินิหารหรือความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแก่ ในสมัยโบราณ มีคณะของศิลปินมโนราห์ ไม่ว่าคณะใหญ่ หรือคณะเล็กเมื่อเดินทางผ่านหน้าวัดก้างปลา ถ้าไม่แวะรำถวายก่อนก็ไม่สามารถะดินทางต่อไปได้ จะต้องแวะรำถวายก่อนเสมอจึงจะผ่านไปได้ จนเป็นที่ร่ำลือกันทั้งใกล้ไกลและเมื่อปี พ.ศ. 2505 พระครูวิฑิตธรรมโสภณ(มหาเลียบ ฐิตธมฺโม) ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดก้างปลาได้ทำการเคลื่อนย้ายรูปพระแก่ไปไว้ที่หน้าวัด เป็นเหตุให้ท่านเจ็บป่วยลงโดยหาสาเหตุไม่ได้ ไม่ว่าจะไปหาหมอที่ไหนก็ไม่พบสาเหตุของอาการป่วย ท่านคิดขึ้นมาได้ว่าน่าจะมาจากเหตุที่เคลื่อนย้ายรูปพระแก่เป็นแน่ จึงได้บนบานศาลกล่าวขอขมาพ่อแก่ อาการของท่านจึงได้ทุเลาจากการอาพาธ หลังจากนั้นจึงได้ย้ายพ่อแก่มาไว้ที่เดิม และมีหลายครั้งที่พระแก่ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้เห็น จนประชาชนกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระแก่ต่างพากันมากราบไหว้ขอพรท่านตลอดมาตราบจนปัจจุบัน ของแก้บนในสมัยก่อน ใช้เผือก มัน กล้วย ปิดทอง ถ้าบนหนัก ๆ และสำเร็จส่วนใหญ่ก็จะเป็นมโนราห์ ปิดทอง สตางค์ใส่ตู้ ปัจจุบันของแก้บน ประทัด บนบวช ปัจจัยใส่ตู้ ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน240 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 04 มี.ค. 2567 - 16:49:28 น.
วันปิดประมูล - 05 มี.ค. 2567 - 20:45:33 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSiriarpa (182)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     240 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    chaiyan45 (1.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM