(0)
เหรียญรูปไข่ ปลอดภัย เนื้ออัลปาก้า ปี 2532 หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ 2 องค์ สวยๆ เหรียญรูปไข่ ปลอดภัย เนื้ออัลปาก้า ปี 2532 หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ ประวัติการจัดสร้างเหรียญท






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง เหรียญรูปไข่ ปลอดภัย เนื้ออัลปาก้า ปี 2532 หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ 2 องค์ สวยๆ เหรียญรูปไข่ ปลอดภัย เนื้ออัลปาก้า ปี 2532 หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ ประวัติการจัดสร้างเหรียญท
รายละเอียด เหรียญรูปไข่ ปลอดภัย เนื้ออัลปาก้า ปี 2532 หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ 2 องค์ สวยๆ

เหรียญรูปไข่ ปลอดภัย เนื้ออัลปาก้า ปี 2532 หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
ประวัติการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกปลอดภัยโชคลาภรุ่นแรกนี้ ใด้คัดลอกส่วนหนึ่งมาจากใบฝอยเก่าซึ่งพิมพ์แจกตั้งแต่ปี2532พร้อมกับเหรียญ ดังรายละเอียดที่น่าสนใจและน่าศรัทธาในความเป็นมหามงคลดังนี้
โรงเรียนบ้านดงดำมิตรภาพที่. ๘๘ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ และกิจการอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับโรงเรียน ในการนี้ ได้ดำเนินการสร้างเหรียญ หลวงพ่อจ้อย จันทสุวัณโณ วัดศรีอุทุมพร ( วังเดื่อ ) นครสวรรค์ เมื่อ 12 สิงหาคม 2532 เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิ เป็นเหรียญรุ่นแรกที่หลวงพ่ออนุญาตให้จัดทำขึ้น เหรียญรุ่นนี้มีชื่อว่าเหรียญที่ระลึกปลอดภัยโชคลาภ สร้างเป็นเนื้ออัลปาก้าทั้งองค์ สร้างรุ่นเดียวเนื้อเดียวเท่านั้นไม่มีเนื้ออื่น มีลักษณะประณีตสวยงามมาก เพราะออกแบบโดยผู้ชำนาญการในด้านนี้
.
พุทธคุณของเหรียญที่เป็นหัวใจหลัก 4 ข้อ
- ด้านนิรันตรายแคล้วคลาดผองภัยทั้งปวงตลอดจนคงกระพันชาตรี
- ด้านเมตตามหานิยม ( ทำกิน ค้าขาย เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ ตลอดมนุษย์ทั้งหลาย)
- ด้านการเงิน ( มีความคล่องตัวในด้านการเงิน ร่ำรวย )
- ด้านโชคลาภ ( จะเกิดโชคลาภตามกำลังศรัทธาที่มีต่อพระสงฆ์ )
.
พิธีกรรม
หลวงพ่อได้ประกอบพุทธาภิเษกเดี่ยว คือปลุกเสกประจุพุทธคุณองค์เดียว ในการนี้ต้องใช้กำลังสมาธิสูงมาก และเพื่อให้เป็นยอดของเหรียญมหามงคลอย่างแท้จริง ให้ความอุ่นใจมั่นคงแก่ผู้เคารพบูชา หลวงพ่อได้พุทธาภิเษกเข้ม 3 วัน 3 คืน ในวันใกล้ออกพรรษาจนถึงวันออกพรรษา โดยการ
1. งดฉันภัตราหารทุกชนิด 3 วัน
2. งดรับแขก
3. ทำกิจส่วนตัวในกุฏิของท่านจนครบตามประสงค์ จึงเปิดกุฏิ
.
บล็อกเหรียญที่ระลึกปลอดภัยโชคลาภ ทางมูลนิธิได้มอบให้หลวงพ่อพร้อมกับเหรียญ ตั้งแต่วันแรกที่รับเหรียญจากโรงปั๊ม และเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับเหรียญเช่นกัน
.
หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ วัดศรีอุทุมพร ผู้เป็นพระแท้ของจังหวัดนครสวรรค์ผู้มีชื่อเสียงด้านพุทธคุณเลื่องลือไปไกลทั่วประเทศท่านมิได้นิยมอวดอ้างสรรพคุณ ตามหนังสือวงการพระเครื่องทั้งมิได้หลงไหลในทรัพย์สมบัติและลาภยศสรรเสริญกลับทุ่มเทชีวิตช่วงวัยชราอายุ 94 ปี ให้กับการพัฒนาวัดและโรงเรียนอีกทั้งถนนหนทางเพื่อสืบทอดพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
.
ชาติกาล : หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ถือกำเนิดขึ้นวันอังคารที่ 8 เมษายน 2456 (ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู) เป็นบุตรคนที่สองของ นายแหยม นางบุญ ปานสีทา ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
นามเดิม : จ้อย (ภาษาลาวกะลา แปลว่า ผอม)
นามสกุล : ปานสีเทา
มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน ชาย 3 หญิง 3 คือ
1.นางทองดี (ถึงแก่กรรมแล้ว)
2.พระครูจ้อย หรือ หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ
3.พระภิกษุสิงห์ (มรณภาพแล้ว)
4.นางแต๋ว (ถึงแก่กรรมแล้ว)
5.นางหนู เหล่าเขตกิจ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
6.พระภิกษุสุเทพ (มรณภาพแล้ว)
.
อุปสมบท :
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2476 ที่วัดดอนหวาย ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีพระปลัดตุ้ยเป้นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญธรรมเป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ฉายา"จนฺทสุวณฺโณ"
.
วิทยฐานะ :
1. พ.ศ. 2470 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่4 ที่โรงเรียนวัดดอนหวาย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
2. พ.ศ. 2480 สอบนักธรรมชั้นตรีได้
3. พ.ศ. 2481 สอบนักธรรมชั้นโทได้
4. การศึกษาพิเศษ หลักสูตรพระอภิธรรม และ วิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่นาก วัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อคูณปริสุทโธเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมาได้ศึกษา อยู่ที่วัดนี้ด้วย และหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากวัดมหาธาตยุวราชรังสฤษฏ์
5. มีความรู้ความชำนาญในการเผยแพรีธรรมแก่พุธบริษัท และพระสงฆ์ที่ไปอยู่ปริวาสเป็นอย่างดี
6. มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างทุกชนิด
.
เมื่อหลวงพ่อจ้อยฯ อุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาเพื่อศึกษา พระปริยัติธรรมที่วัดดอนม่วง ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำพรรษาอยู่ ๕ พรรษา แล้วไปศึกษาพระอภิธรรม และปวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กับพระอาจารย์เจชินซึ่งมาจากประเทศพม่า และยังไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณภาวนาภิราม (สุกปวโร) และหลวงปู่นาค ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเป็นสายเดียวกันกับสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยมีหลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู ก็ไปศึกษาที่นั่นด้วย ใช้เวลาศึกษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามรวมหลายปี จึได้กลับมาจำพรรษาและพัฒนาวัดศรีอุทุมพร
.
หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อนิยมการออกธุดงค์รุกมูล (อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร) ไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อแสวงหาความวิเวก ทดสอบความทดทน เพื่อเผาผลาญกิเลสตัณหา อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง และเพื่อศึกษาสัจจธรรมอันเป็นหนทาง แห่งความหลุดพ้น ตลอดจน วิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ ต่างๆ ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงโด่งดัง หลวงพ่อจ้อยฯ ได้ขึ้นไปตั่งต้นเดินธุดงค์ที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ลงมาจนถึงจังหวัดนครปฐม และศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
.
พบกับหลวงพ่อฉาบวัดคลองจัน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ต่างๆ แก่กัน และหลวงพ่อยังได้มีโอกาศไปศึกษาวิชาอาคม กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ ชื่อดังในสมัยนั้น จากนันได้ศึกษาอักขระขอมลาวจนมีความรู้แตกฉานเป็นอย่างดี
.
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ เกิดอาการอาพาธอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ที่ร้านข้าวสาร " บุญมาพานิช" ซึ่งเป็นร้านของหลานสาวของหลวงพ่อฯ พระใบฏีกาสมศักดิ์ ปญฺญาธโร รองเจ้าอาวาส วัดศรีอุทุมพรพร้อมด้วยลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ได้นำพาหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ โดยมีรถจากโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มารับ อาจากในระหว่างเข้ารับการรักษานั้น มีแต่ทรงกับทรุดหรือบางครั้งดูเหมือนว่าจะดีขึ้น ลูกหลานและศิษยานุศิษย์เกิดความสงสารเห็น ท่านอยากจะกลับวัด
.
12 กุมภาพันธ์ 2550 ลูกหลานและศิษยานุศิษย์ จึงได้ขออนุญาตนายแพทย์ผู้รักษา นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพรโดยมีรถจากโรงพยาบาลมาส่ง ถึงอาคารอเนกประสงค์วัดศรีอุทุมพร
.
14 กุมภาพันธ์ 2550 ในเช้าวันนี้เองหลวงพ่อให้สัญญาณว่า จะให้พาไปจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปพักผ่อนที่บ้านศิษยานุศิษย์ ผู้หนึ่ง แต่เมื่อถึงที่นั่นปรากฏว่าอาการยิ่งทรุดลงมาก ลูกหลานศิษยานุศิษย์ เลยต้องนำหลวงพ่อฯ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปลาโลวชิรปราการ ระหว่างการรักษาที่แห่งนี้ อาการก็มีทั้งดีขึ้นบ้าง ทรุดลงบ้างสลับกันอยู่อย่างนี้จนกระทั่งนายแพทย์ผู้ให้การรักษาให้ความเห้นกับลูกหลานและ ศิษยานุศิษย์ว่า ควรย้ายหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สะพานควาย กทม.
.
13 มีนาคม 2550 หลวงพ่อฯ ได้รับการดูแลจากคณะแพทย์ แห่งนี้ด้วยดีตลอดมา อาการน่าเป็นห่วงและต่อจากนั้นในความเห้นของแพทย์ ลูกหลาน และศิษยานุศิษย์ ตกลงจะพาหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัด ตามความประสงค์ของหลวงพ่อฯ "ซึ่งจะเหมือนคนชราทั่วไปที่กล่าวว่าถ้าจะตายขอให้ไปตายที่บ้านดีกว่า" ในเวลาเช้าวันที่ 16 เมษายน 2550 แพทย์ได้นำพาหลวงพ่อจ้ยอ จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพร โดยรถฉุกเฉินของโรงพยาบาล
.
เวลาประมาณ 11.09 น. รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลคันนั้นได้นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ถึงวัดศรีอุทุมพร เครื่องช่วยกระตุ้นส่วนต่างๆ หยุดทำงานทันที ท้องฟ้าสีอันงดงามเป็นที่แปลกตาแปลกใจของผู้คนจำนวนมากที่ทราบข่าวแล้วมารอรับอยู่ที่วัด
.
หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้จากลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และประชาชนที่เคารพนับถือ ไป ณ. วันเวลานั้นอย่างไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว
ราคาเปิดประมูล 10 บาท
ราคาปัจจุบัน 200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 10 บาท
วันเปิดประมูล พฤ. - 28 มี.ค. 2567 - 21:42:48 น.
วันปิดประมูล ส. - 30 มี.ค. 2567 - 18:26:25 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล nakornyong (5K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    theeranatch (2.5K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  phanom-psv (5.1K)(1) 100 บาท พฤ. - 28 มี.ค. 2567 - 22:24:14 น.
  จั๊วปากเกร็ด (438) 110 บาท ศ. - 29 มี.ค. 2567 - 12:42:33 น.
  theeranatch (2.5K) 200 บาท ศ. - 29 มี.ค. 2567 - 18:26:25 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM