(0)
พระพุทธสิหิงค์ ปี30 รุ่นแรก เนื้อขาว รับประกันตามกฎครับ (ออกบัตรเองลด 500 บาทจากราคาปิดประมูล)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง พระพุทธสิหิงค์ ปี30 รุ่นแรก เนื้อขาว รับประกันตามกฎครับ (ออกบัตรเองลด 500 บาทจากราคาปิดประมูล)
รายละเอียด ประวัติการสร้างพระพุทธสิหิงค์ ปี30 รุ่นแรก
วัตถุมงคลหลักเมืองนคร พระพุทธสิหิงค์ ปี ๓๐ เป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมาในวาระสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๓๐ ซึ่งเป็นวาระเดียวกันกับที่สร้างพระผงสุริยัน-จันทรา เมื่อปี ๓๐ ตลอดจนเนื้อหามวลสาร รวมถึงพิธีปลุกเสก หากจะถามถึงเรื่องความ ศักดิ์สิทธิ์ คงจะไม่ต้องบรรยายให้มากความ เพราะเราท่านก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระผงสุริยัน-จันทรา ปี ๓๐ มีกฤษดาอภินิหารเช่นไร เมื่อแกงหม้อเดียวกัน หรือพิธีเดียวกัน ความเข้มขลังในตัววัตถุมงคลของพระพุทธสิหิงค์ ปี ๓๐ ก็ย่อมเจิดจ้าจรัสแสงประดุจเพชรน้ำงามของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งก็คงไม่ต่างอะไรกับการแขวนองค์พ่อจตุคามรามเทพ
***ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารขององค์พ่อจตุคารามเทพมีจริงหรือไม่อย่างไร ท่านจะประสบพบเห็นด้วยตนเอง ประวัติการสร้างพระพุทธสิหิงค์ รุ่นแรก ปี2530 สำหรับ วัตถุมงคลทางสาย จตุคามรามเทพ ที่ได้มีการจัดสร้างกันมา ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน ในการสร้างในยุคแรกนั้น พระพุทธสิหิงค์ รุ่นแรก ปี ๓๐ นั้น น่าพูดกันได้อย่างเต็มปากว่า เป็นของดีที่ทรงคุณค่า เพราะทั้งเนื้อหามวลสาร ตลอดจนพิธีรวมถึงวาระในการจัดสร้างก็เป็นคราวเดียวกับการสร้าง ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช แต่ในความเป็นจริงแล้ว อานุภาพแห่งความศักดิ์สิทธิ์ก็มิได้ลดน้อยถอยลง หรือต่างจากการห้อยบูชาแขวนองค์พ่อจตุคามฯ แต่อย่างใด
เมื่อครั้งที่ ได้มีการเริ่มสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์พ่อจตุคามรามเทพที่ประทับร่างทรงได้ชี้แนะทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง เห็นควรให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคล โดยเป็นการจำลองพระพุทธสิหิงค์ขึ้นมา ท่าน พล.ต.ท.สรรเพชร ธรรมาธิกุล จึงเป็นผู้ออกแบบรูปทรง ส่วนผู้ที่เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ คือ อาจารย์มนตรี จันทพันธ์ รูปทรงพุทธพิมพ์เป็นรูปทรงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบ “ชิ้นฟัก” ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ประทับนั่งปางมารวิชัย บนอาสนะฐานบัวเล็บช้าง ๒ ชั้น รองรับด้วยฐานเขียง ประทับอยู่ภายในซุ้ม เส้นซุ้มแกะเป็นรูปก้นหอย หรือสะดือทะเลน้อยใหญ่ จำนวน ๒๑ วง และรองรับฐานซุ้มด้วยฐานหน้ากระดาน ๓ ชั้น ส่วน ด้านหลัง เป็นรูปราหูอมสุริยัน-จันทรา ด้านล่างกำกับด้วยยันต์หัวใจพระคาถา ๓ ตัวคือ ยันต์หัวใจธรณี, หัวใจมนุษย์ และหัวใจพระคาถากำกับธาตุ ตามคติธรรมชาวศรีวิชัย ในการจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ในปี ๓๐ นั้น เนื่องจากจำนวนในการจัดสร้างพระในครานั้นมีมากเป็นจำนวนหลักแสนองค์ ซึ่งมีจำนวนการสร้างโดยประมาณสูงกว่า พระผงสุริยัน-จันทราปี ๓๐ เกินกว่าห้าเท่าตัว เพื่อให้ทันกับระยะเวลาในการจัดสร้าง แม่พิมพ์จึงมีหลายบล็อก เมื่อ สังเกตดูให้ดีจะมีลักษณะเป็นพิมพ์ทรงเดียว เพียงแต่จะมีความแตกต่างกันในปลีกย่อย หรือที่เรียกว่าต่างแม่พิมพ์กัน ของพิมพ์ทรงด้านหน้า
ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป คือ ลักษณะของเกศที่แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ เช่น เกศบัวตูม, เกศแหลม, เกศยาว (คล้ายรูปเปลวเพลิงชนซุ้ม) ส่วนจุดต่างที่องค์พระยังแบ่งเป็น มีเม็ดพระถัน (หัวนม) และไม่มีเม็ดพระถันด้วย ถ้าสังเกตลักษณะวรกายขององค์พระพุทธสิหิงค์แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า องค์พระจะมีลักษณะอวบอ้วนสมบูรณ์ พระอุทรมีลักษณะพลุ้ยเล็กน้อย ทั้งปรากฏให้เห็นถึงเส้นจีวร และเส้นสังฆาฏิ บางองค์พระอังสกุฏ (ไหล่) ข้างขวาจะกว้าง พระพาหา (แขน) จะอ่อนเข้าหาองค์เล็กน้อย ซึ่งโดยมากแล้ว พระพาหาข้างขวา จะอยู่ในลักษณะกางพระกัปปะระ (ศอก) เล็กน้อย ส่วนในรูปของ พระราหู ด้านหลังก็มีการจัดแบ่งลักษณะเป็น ๒ แบบด้วยกันคือ แบบราหูทรงเครื่อง ซึ่งรูปราหูจะมีลวดลายที่สวยงามด้วยเครื่องทรง กับ ราหูแบบธรรมดา ซึ่งราหูจะเป็นรูปเรียบง่ายไม่ทรงเครื่อง
ในส่วนของเนื้อหาและมวลสาร พระพุทธสิหิงค์ ปี30 ทั้ง หมดนั้น ด้วยมีลักษณะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อผงเพียงอย่างเดียว และเป็นเนื้อเดียวกันกับพระผงสุริยัน-จันทราปี ๓๐ มวลสารที่สำคัญ เช่น ไม้ตะเคียนทองหลักเมือง, ปูนเปลือกหอย, ปูนหิน, ดินสังเวชนียสถานทั้ง ๔, ดิน ๗ ป่าช้า, แร่ ๗ เหมือง, ข้าวสุก ๗ นา, ผงกะลาตาเดียว, เกสรดอกไม้๑๐๘ ชนิด, ว่านมงคล ๑๐๘ ชนิด, น้ำตาลอ้อย, น้ำผึ้งหลวง, กล้วย, เกลือ, อับเพชร, น้ำศักดิ์สิทธิ์ ๔ บ่อ, ผงอิทธิเจ, น้ำมันจันทน์, เงิน, ทอง, นาก
สำหรับเนื้อพระพุทธสิหิงค์ปี ๓๐ สามารถจัดกลุ่มสีสันวรรณะได้เป็น ๔ กลุ่มหลักๆ คือ
๑.เนื้อสีขาว ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยผงปูนเปลือกหอย สีที่ปรากฏจะประกอบไปด้วยสีขาวล้วน, ขาวอมส้ม (ผสมผงว่านเล็กน้อย)
๒. เนื้อสีน้ำตาล ซึ่งมีส่วนผสมค่อนข้างจะมีส่วนผสมหลายชนิด จึงทำให้เนื้อพระที่ออกมาเป็นสีน้ำตาล มีความหลากหลายมาก แต่ส่วนผสมหลัก คือปูนเปลือกหอย, ผงถ่าน และผงไม้ตะเคียนทอง สีที่พบเห็นเท่าที่รวบรวมได้ ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งมีสีคล้ายสีของกาแฟเย็น (แก่ปูนเปลือกหอย) สีน้ำตาลอมดำ ซึ่งมีส่วนผสมของผงไม้ตะเคียนทอง และผงดำค่อนข้างมาก
๓. เนื้อสีน้ำตาลอมแดง ซึ่งมีสีออกทางสีเปลือกมังคุดแห้ง จะมีส่วนผสมของเนื้อผงว่านล้วนๆ ข้อที่น่าสังเกตของสีน้ำตาล ก็คือ จะมีผงไม้ตะเคียนทองผสมเกือบทุกองค์ และผงไม้ตะเคียนทองนี้เอง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สีสันของสีน้ำตาลนั้น เกิดความอ่อนแก่ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ สีน้ำตาลอมแดง หรือสีเปลือกมังคุดแห้ง จะเป็นชุดที่มีส่วนผสมของเนื้อผงว่านล้วนๆ กับผงไม้ตะเคียนทอง และจะมีลักษณะที่พิเศษคือ มีน้ำยางสีขาวใส ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ออกมาเคลือบที่ด้านหน้าขององค์พระ
๔.เนื้อสีดำ ยังสามารถแยกออกเป็นสีดำเทา สีดำอมน้ำตาล, สีดำสนิท ลักษณะของเนื้อที่มีความแตกต่างกันทั้ง ๓ แบบ คือ ประเภทเนื้อปูนเปลือกหอยผสมกับผงถ่าน หรือไม้ตะเคียนทองผสมกับผงถ่าน ตามสัดส่วนมากน้อยที่แตกต่างกันออกไป เนื้อพระจึงออกไปทางสีดำสนิท หรือสีดำอมน้ำตาลดังที่เห็น
.................................
พระผงพุทธศรีวิชัยอันนำโชค

พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งชาวพุทธในประเทศไทยบูชานับถือและบูชา แท้ที่จริงแล้วเดิมเรียกกันว่า “พระพุทธสิงหลปฏิมา” สร้างโดยชาวศรีลังกาที่เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย ดังนั้นพุทธศิลป์ที่ปรากฏจึงเป็นส่วนผสมระหว่างศิลปะศรีวิชัยและศิลปะลังกา ในยุคสมัยหนึ่ง มีข่าวกระเซ็นกระสายว่า ศรีลังกาแข็งเมืองก่อการกบฏต่ออาณาจักรศรีวิชัย เพื่อยืนยันถึงความถูกต้อง พระเจ้าจันทรภาณุ หรือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช หรือ จตุคามรามเทพ จึงได้ขอเครื่องราชบรรณาการที่มีค่าควรเมืองนั่นก็คือ “พระพุทธสิงหลปฏิมา” เมื่อศรีลังกาปฏิเสธ พระเจ้าจันทรภาณุจึงยกกองทัพเรือไปโจมตีและนำพระพุทธสิงหลปฏิมา มายังอาณาจักรศรีวิชัย

เหตุที่องค์จตุคามรามเทพ กำหนดให้สร้างพระพุทธสิหิงค์ร่วมเป็นหนึ่งในวัตถุมงคลหลักเมืองนครศรีธรรมราชด้วยนั้น ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ในสมัยหนึ่งซึ่งผู้นำรัฐบาลกับผู้นำกองทัพ มีเหตุประลองกำลังเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ขณะเดียวกันกลุ่มคนร้ายและผู้มีอิทธิพลในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ถูก พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ขณะดำรงยศพันตำรวจเอกในตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช ในขณะนั้น และผู้ใต้บังคับบัญชาปราบปรามอย่างเด็ดขาด บ้านเมืองกำลังจะกลับคืนสู่ความสงบ กลุ่มอิทธิพลอำนาจมืดเกรงว่าจะหมดบารมีของความเป็นเจ้าพ่อ จึงเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจทางราชการย้ายพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ออกไปจากพื้นที่โดยด่วน แต่ไม่มีผู้ใดทำได้ เพราะเป็นนโยบายของหัวหน้ารัฐบาล จึงมีผู้สมคบร่วมคิดวางแผนใช้วิธีการพิเศษเพื่อจะย้ายพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ออกไปให้ได้ ด้วยการวางระเบิดศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช คล้ายกับเหตุการณ์เคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งถูกระเบิดทำลายเสียหาย

“องค์จตุคามรามเทพ” ล่วงรู้แผนการจึงการบอกกล่าวให้ พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ไปทำพิธีปลุกพระพุทธสิหิงค์ โดยตั้งจิตอธิษฐานว่า บ้านเมืองกำลังจะลุกเป็นไฟ ขอให้ช่วยดับยุคเข็ญด้วย แล้วจุดประทัดถวายให้สนั่นเมือง ในเบื้องต้นพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ไม่เชื่อว่าจะเป็นความจริงก็นิ่งเฉยเสีย แต่ต่อมาองค์จตุคามรามเทพบอกเตือนอีกครั้งว่าถ้าไม่ทำจะเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นในบ้านเมืองอย่างคาดคิดไม่ถึงแน่นอน ขอให้ตัดไฟเสียแต่ต้นลม

ในตอนดึกของคืนหนึ่งพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล จึงนำผู้ใต้บังคับบัญชาไปที่หอพระพุทธสิหิงค์ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัดกับศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช บอกความประสงค์ให้ตำรวจและเจ้าหน้าที่เฝ้าสถานที่ราชการทราบ จุดเทียนบูชาพระพุทธสิหิงค์ ถวายดอกไม้ หมากพลู ตั้งจิตอธิษฐานบอกกล่าวไปตามที่องค์จตุคามรามเทพบอกทุกประการ แล้วจุดประทัดเสียงดังสะเทือนเลื่อนลั่นควันโขมง จากนั้นก็เฝ้ารอดูว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นหรือไม่

ต่อมาอีกไม่นาน คืนหนึ่ง พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ได้รับแจ้งจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า มีเหตุคนร้ายวางระเบิดศาลากลางจังหวัด แต่ไม่ระเบิด และตำรวจหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษซึ่งเชี่ยวชาญการเก็บกู้วัตถุระเบิด ตัดชนวนระเบิดได้แล้ว จากการสอบสวนคดีในครั้งนั้น ผู้เข้าไปเก็บกู้วัตถุระเบิดยืนยันว่า เป็นวัตถุระเบิดแสวงเครื่องประกอบขึ้นโดยผู้ที่มีความรู้ชำนาญการก่อวินาศกรรม นาฬิกาปลุกซึ่งใช้เป็นตัวกำหนดเวลาระเบิดอยู่ในสภาพใหม่ทำงานตามปกติ ถ่านไฟฉายซึ่งใช้ทำหน้าที่ตัวจุดชนวนระเบิดต่อสายไฟยังไปยังแก๊ปเชื้อประทุก็ของใหม่ ส่วนดินระเบิดไดนาไมต์ก็มีจำนวนมาก มีพลังทำลายศาลากลางและสิ่งปลูกสร้างในแถบนั้นให้พินาศไปได้ แต่ก็ไม่เกิดระเบิด ทั้งๆที่เข็มนาฬิกาเลยเวลาที่กำหนดให้ระเบิดไปแล้ว สร้างความมึนงงและสงสัยให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดเป็นอย่างยิ่ง

เหตุการณ์เบื้องหลังในเสี้ยววิกฤติครั้งนั้น กล่าวกันเวรยามเฝ้าศาลากลางจังหวัดในคืนนั้นคนหนึ่งได้หนีเวรออกไปดื่มสุราและรับประทานอาหารนอกสถานท่ีเวรยาม จนมึนเมาได้ที่แล้วจะกลับไปศาลกลางตอนกลางดึก โดยแอบเข้าไปทางประตูด้านหลังศาลากลาง แต่ด้วยความมึนเมาจึงเดินไปสะดุดกล่องกระดาษวางอยู่ตรงประตูทางเข้า นึกสงสัยก้มลงไปดูก็พบว่าในกล่องบรรจุระเบิดไว้ และได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกเดินอยู่ เชื่อว่าน่าจะเป็นการวางระเบิดศาลากลางจังหวัดจึงรีบแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

จนถึงปัจจุบันยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า เหตุใดวัตถุระเบิดศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงไม่ทำงาน แต่ในปี ๒๕๓๐ องค์จุคามรามเทพ และคณะผู้สร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช เห็นว่า ควรที่จะสร้างรูป “พระผงพุทธศรีวิชัยอันนำโชค” โดยจำลองรูปแบบมาจาก “พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระพุทธสิงหลปฏิมา” ด้วยการผสมผสานศิลปะศรีวิชัย และรูปพระราหูอมพระอาทิตย์ -พระจันทร์ รวมทั้งหัวใจคาถา ให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคารพนับถือทางศาสนา ขึ้นมาเพื่อเป็นการยกย่องและระลึกถึง “พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระพุทธสิงหลปฏิมา” ซึ่งช่วยปัดเป่าเหตุร้ายบ้านเมืองในครั้งนั้นให้ผ่านพ้นไปด้วยดี
CR.ตามรอยองค์จตุคามรามเทพ
ราคาเปิดประมูล 5,950 บาท
ราคาปัจจุบัน 6,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 50 บาท
วันเปิดประมูล พ. - 01 พ.ค. 2567 - 22:41:04 น.
วันปิดประมูล ศ. - 10 พ.ค. 2567 - 19:20:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล Sayumpoo (41)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     6,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Sotuspixs (62)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Sotuspixs (62) 6,000 บาท พฤ. - 09 พ.ค. 2567 - 19:20:09 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM
www1