(0)
ลูกเป้งล้านนาสิงห์ปีเกิด (ราศีสิงห์) เนื้อสัมฤทธิ์อายุราวๆ400-500ปี พิจารณาก่อนประมูลทุกครั้ง ถ้าไม่ชอบหรือไม่มั่นใจอยากให้ผ่านรายการนี้ก่อนค่ะ***พระเก่าเก็บที่บ้าน วัดใจเท่านั้น>>>








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องลูกเป้งล้านนาสิงห์ปีเกิด (ราศีสิงห์) เนื้อสัมฤทธิ์อายุราวๆ400-500ปี พิจารณาก่อนประมูลทุกครั้ง ถ้าไม่ชอบหรือไม่มั่นใจอยากให้ผ่านรายการนี้ก่อนค่ะ***พระเก่าเก็บที่บ้าน วัดใจเท่านั้น>>>
รายละเอียดลูกเป้งล้านนาสิงห์ปีเกิด (ราศีสิงห์) เนื้อสัมฤทธิ์อายุราวๆ400-500ปี
รายการนี้ทางเว็ปยังไม่รับออกบัตรนะคะ***พิจราณาก่อนเคาะประมูลนะคะ***
ลูกเป้งเป็นเครื่องราง 12 นักษัตร 12ราศี ชาวล้านนาสมัยโบราณ มักชะใช้ลูกเป้ง ในแต่ละปีเกิดของแต่ละบุคคลมาพกติดตัว เป็นเครื่องราง ค้ำคูณแก่ผู้บูชาในปีเกิดนั้นๆ ช่วยเสริม ทรัพย์ ค้ำคูน กันดวงตกชะตาขาด อีกทั้งคลาดแคล้ว ลูกเป้งสิงห์ ตัวจริงแบบนี้สุดหายาก เนื้อสัมฤทธิ์ เก่าถึงยุคแท้ดูง่ายสบายตาเนื้อหาชัดเจน ครับ
เป้ง หรือ ลูกเป้ง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า opium weight หรือ animal shaped weight หมายถึง ตัวถ่วงน้ำหนักหรือลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักที่ใช้กับเครื่องชั่งโบราณที่มีจานแขวนไว้ 2 ด้าน หรือที่เรียกว่าตราชู เป้งหรือลูกเป้งที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์ (สมัยก่อนเขียนว่าสำริด) มีรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น สิงห์ นก เป็ด หงส์ ช้าง รวมทั้งรูปนักษัตรต่าง ๆ ในสิบสองราศรี เป็นต้น เป้งมีขนาดแตกต่างกัน ขนาดเล็กที่สุดอาจเท่าเมล็ดถั่ว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม วิธีใช้คือ วางของที่จะชั่ง เช่น ฝิ่น เงิน ทอง หรือสิ่งของที่ซื้อขายกันในตลาด เช่น พริก กระเทียม ยา สมุนไพร ไว้ที่จานใบหนึ่งของตราชู แล้ววางเป้งที่เป็นตัวถ่วงน้ำหนักไว้ที่จานอีกใบหนึ่งของตราชู วางเป้งขนาดต่าง ๆ จนทำให้แขนของตราชูขนานกับพื้นทั้งสองข้างก็จะทราบว่าของที่ชั่งนั้นมี น้ำหนักเท่าไหร่
มนุษย์รู้จักใช้เป้งมานานนับตั้งแต่ีมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่ ต้องวัดน้ำหนักกัน ซึ่งลักษณะของลูกตุ้มที่ใช้ถ่วงน้ำหนักมีความแตกต่างกันตามยุคสมัย เช่น เป็นลูกกลม ๆ เป็นแท่งสี่เหลี่ยม เป็นก้อน เป็นรูปกลมแบนเหมือนเบี้ย เป็นต้น วัสดุที่ใช้ทำมีหลายประเภท เช่น หิน โลหะ กระเบื้องดินเผา เป็นต้น
พม่านั้นมีการใช้ระบบการชั่งน้ำหนักแบบนี้มานานแล้ว ตั้งแต่สมัย พะโค พุกาม แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ส่วนรูปสัตว์ต่างๆที่นิยมเอามาทำเป็นรูปทรงของลูกเป้งนั้น จะเป็นรูปพราหมณี รูปสัตว์ประจำวันประสูติหรือรูปสัตว์ประจำปีเกิดของกษัตริย์ และสัตว์ที่เป็นตำนานหรือเป็นศิริมงคล เหตุที่ใช้เป็นรูปสัตว์นั้น ก็เพื่อที่ผู้ที่ซื้อไปใช้จะได้พบกับสิ่งดีและเป็นมงคลแก่ตน แต่ลูกเป้งไม่ได้ใช้แค่ในพม่าเท่านั้น ในล้านนาและล้านช้างก็รับระบบการชั่งแบบนี้มาใช้เหมือนกัน
นักประวัติศาสตร์พม่าชื่อ U Maung Maung Tin ได้ค้นพบคัมภีร์ใบลานสมัยพระเจ้า อะลองพระญา(1752 - 1760 A.D.) ในคัมภีร์ใบลานนั้นได้บันทึกรูปทรงและปีที่ใช้ลูกเป้งนั้นๆ ตั้งแต่สมัย Pinya - Ava (13 -14 A.D.)จนถึงสมัยพระองค์ มีดังนี้ ไก่ นกกระสา ม้าแคะหรือกวาง ช้าง แพะ นกหัสดีลิง หงษ์ หมี นกสาริกา สิงห์ ม้ามีหงอนและวัวมีหงอน
รูปแบบลูกเป้งนั้น กษัตริย์จะเป็นคนกำหนดรูปทรงของลูกเป้งว่าในยุคสมัยนั้นจะใช้เป็นรูปอะไร ส่วนลูกเป้งที่อยู่นอกเหนือจากรายละเอียดในใบลานนั้น คาดว่าเกิดขึ้นจากความคิดและการจินตนาการของช่างผู้ทำลูกเป้ง เช่น เต่า แมงมุม ฯลฯ
ลูกเป้งนั้นบางครั้งเราอาจพบเห็นเจอเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเช่น ส่วนที่เป็นรูปสัตว์ หรือเจอเฉพาะส่วนฐาน ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ตัวลูกเป้งแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูปสัตว์ และส่วนที่เป็นฐาน นำมารวมกันเป็นชิ้นเดียวกัน ลูกเป้งมีวิธีการทำจะคล้ายๆกับกับการหล่อพระ คือใช้วิธีการหล่อแบบขี้ผึ้ง แต่ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ลูกเป้งนั้น จะมีแม่พิมพ์ที่ทำจากตะกั่ว แม่พิมพ์นี้เอาไว้สำหรับทำแบบขี้ผึ้ง ทั้งตัวฐานและรูปสัตว์ต่างๆ พอได้ลูกเป้งที่ทำจากขี้ผึ้งแล้วก็เอาดินเหนียวไปพอกแล้วนำไปเผาไฟ เสร็จแล้วจึงเทโลหะใส่ในแบบ ดังนั้นเราจะสังเกตุเห็นว่าลูกเป้งนั้นจะมีรูปทรงโดยรวมเหมือนๆกันแต่จะต่างกันที่ลวดลายบนตัวของลูกเป้งเท่านั้น ส่วนลวดลายที่อยู่บนตัวลูกเป้งก็เกิดจากการจิรตนาการของช่างว่าจะทำลวดลายแบบไหนและตรงส่วนใดบ้าง
ปัจจุบันในรัฐฉานประเทศพม่า ที่จังหวัดเชียงตุงก็ยังใช้ลูกเป้งที่รูปสัตว์กันอยู่ ใช้ในการขายของทุกประเภทที่ต้องขายเป็นน้ำหนัก แต่ที่เห็นใช้กันเยอะจะเป็นลูกเป้งสิงฐาน4เหลี่ยม และในรูปนี้เป็นรูปพ่อค้าร้านขายเครื่องเงินกำลังชั่งน้ำหนักเชือกเพื่อขายให้กับลูกค้า สังเกตุที่ตราชั่งใช้ที่ชั่งน้ำหนักเป็นรูปหงษ์ฐานเหลี่ยมส่วนด้านล่างในตู้เป็นลูกเป้งที่พ่อค้าจะขายยกชุดให้กับนักท่องเที่ยวและนักสะสม ถ่ายที่กาดหลวงเมืองเชียงตุง เดือนมีนาคม 2552
ลูกเป้งเป็นที่นิยมสะสมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวยุโรบจะชื่นชอบเป็นพิเศษ ลูกเป้งที่เราพบตอนนี้มีไม่ต่ำกว่า 200 แบบ ทุกวันนี้ลูกเป้งยิ่งหายากขึ้นไปทุกที ยิ่งทำให้ราคาของมันสูงขึ้นมากกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะลูกเป้งที่หายากหรือมีรูปทรงแปลก จึงทำให้มีพวกพ่อค้าหัวใสมีการทำของเลียนแบบมาขายให้กับนักสะสม
กเป้งทำจากโลหะส่วนมากเป็นสำริดที่เป็น
ความสำคัญของลูกเป้งนั้น นอกจากจะเป็นเครื่องถ่วงน้ำหนักแล้ว คนล้านนายังใช้ลูกเป้งแทนค่าอีกได้หลายนัย
นัยแรก แทนค่าเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับเงินตรา เช่นในขันตั้งอย่างล้านนาที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ จะใส่ลูกเป้งในขันนั้นด้วย ถือเป็นของมีค่ามีราคาแทนทรัพย์สิน
นัยต่อมาลูกเป้งรูปนักษัตร หรือ เป้งสิบสองราศี ใช้ใส่ขันตั้งนั้นเกิดสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น เพราะฤทธิ์ของลูกเป้ง สามารถปราบแพ้ขึดหรือเสนียดจัญไรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะขันตั้งในพิธีกรรมสำคัญๆ เช่น การสืบชาตาบ้านเมือง เป็นต้น
อีกนัยหนึ่งนั้น ลูกเป้งหมายถึงตัวนำโชค ทำนองเดียวกับโชครางแต่เป็นเครื่องรางที่ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังเรียกถุงผ้าขนาดเล็กมีหูรูดที่ใช้ใส่พกติดเอวโดยเหน็บกับเข็มขัด เรียกว่า ถงเป้ง หรือ ถุงเป้ง ส่วนถุงที่ใส่ลูกเป้งโดยตรงนั้นเท่าที่เคยเห็นจะใช้ผ้าเย็บทำเป็นถุงลักษณะคล้ายร่มชูชีพ ใส่ลูกเป้งหลายๆ ตัว ส่วนยอยเครื่องชั่งตราชูจะใส่ในตลับไม้ ซึ่งต้งออกแบบให้ใส่เครื่องชั่งได้พอดี
ลูกเป้งพบทั่วไปในล้านนา แต่เนื่องจากมีเครื่องชั่งอื่นๆ ที่เหมาะสมและใช้ได้สะดวกกว่าจึงเลิกนิยมกัน
ปัจจุบันลูกเป้งมีผู้เก็บสะสมเป็นชุดๆ เรียงตามลำดับน้ำหนักหรือเก็บตามรูปแบบอื่นๆ เช่น เป็นสัตว์นักษัตร เป็นต้น ลูกเป้งจึงกลายเป็นของสะสมที่มีราคาในที่สุด ในอดีตนั้นลูกเป้งและถุงเป้ง มีความสัมพันธ์กับความเชื่อของคนล้านนาที่สอดคล้องกับคำทำนายหรือที่เรียกว่าหนังสือพรหมชาติล้านนาหลายฉบับที่กล่าวถึงคำทำนายโชคชะตาในด้านต่างๆ จะมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับเป้งและถุงเป้งอยู่หลายตอน เช่น คนใดเกิดปีใดควรพกลูกเป้งกับถุงเป้งใดเพื่อให้เป็นมงคลกับตัว ดังนี้
คนเกิดปีใจ้ (ชวด) ให้ใช้เป้งรูปหนู ใช้ถุงเป้งลายเหลือง
คนเกิดปีเปล้า (ฉลู) ให้ใช้เป้งรูปวัว ถุงเป้งสองชั้น นอกขาวในเหลือง
คนเกิดปียี (ขาล) ให้ใช้เป้งรูปเสือ ถุงเป้งสามชั้น ในเหลือง กลางขาว นอกดำ
คนเกิดปีเหม้า (เถาะ) ให้ใช้เป้งรูปกระต่าย ถุงเป้งสองชั้น นอกขาว ในเหลืองสายแดง
คนเกิดปีสี (มะโรง) ให้ใช้เป้งรูปพญานาค ถุงเป้งสองชั้น ในแดง นอกดำ
คนเกิดปีใส้ (มะเส็ง) ให้ใช้เป้งรูปงู ถุงเป้งสองชั้น นอกเขียว ในขาว
คนเกิดปีสะง้า (มะเมีย) ให้ใช้เป้งรูปม้า ถุงเป้งสามชั้น ในแดง กลางเหลือง นอกขาว
คนเกิดปีเม็ด (มะแม) ให้ใช้เป้งรูปแพะ ถุงเป้งสองชั้น ในหม่น นอกขาว
คนเกิดปีสัน (วอก) ให้ใช้เป้งวอก ถุงเป้งสามชั้น นอกแดง กลางขาว ในเหลือง
คนเกิดปีเร้า (ระกา) ให้ใช้เป้งรูปไก่ ถุงเป้งสองชั้น นอกหม่น ในขาว สายเหลือง
คนเกิดปีเส็ด (จอ) ให้ใช้เป้งรูปหมา ถุงเป้งสองชั้น นอกเหลือง ในขาว
คนเกิดปีไก๊ (กุน) ให้ใช้เป้งช้าง ถุงเป้งสองชั้น ในขาว นอกเหลือง สายเขียวหรือแดง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 16 พ.ค. 2567 - 23:18:54 น.
วันปิดประมูล - 18 พ.ค. 2567 - 08:17:58 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลfrenchfry99 (176)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ไบก้อน (1.5K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1