(0)
พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
รายละเอียดพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ประวัติความเป็นมาอย่างไร
เพราะเป็นที่สนใจของนักสะสมพระเครื่องอยู่ในขณะนี้ เท่าที่ทราบ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ซึ่งขุดขึ้นมาจากกรุใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ในมุมมองของผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์หรือหลวงพี่เสวยเจ้าอาวาส วัดชัยมงคลและ รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ท่านพระครูหลวงพี่เสวยได้ถามถึง พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ซึ่ง ขุดขึ้นมาจากกรุใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ซึ่งเป็น พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสิ่งที่ผมจะกล่าวถึงก็เป็นเพียงเฉพาะ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เท่านั้นและด้วยปรัชญาการวินิจฉัยพระเครื่องพระบูชานั้นไม่ควรจะใช้หูฟัง ไม่ควรจะเชื่อหรืออ่านจากพุทธประวัติทั้งสิ้น ให้ใช้ตาพิจารณาถึงความเป็นไป ได้ขององค์พระพุทธปฏิมากรรม คือ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เท่านั้น
พระสมเด็จอันล้ำค่ากรุขุนอินทประมูล เป็นพระผงสีขาว ที่มีมวลสารตาม ทฤษฎีของพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตารามเป็นพระรูป ทรงสี่เหลี่ยมและมีขนาดเท่าๆ กับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พุทธ ศิลป์ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังมาก แต่ก็มีพุทธพิมพ์ในรายละเอียดที่แตก ต่างกันบ้าง อันเป็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ของ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูล โดยเฉพาะ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล นั้นท่านผู้รู้ใน จ.อ่างทอง แบ่งออกเป็น ๔ พิมพ์ คือ ๑.พระพิมพ์พระประธาน ๒. พระพิมพ์ใหญ่ ๓. พระพิมพ์ทรงเจดีย์ และ๔.พระพิมพ์คะแนน ส่วนแต่ละพิมพ์จะมีพิมพ์ย่อยเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังอีกหรือไม่ ผมยังไม่ทราบ เพราะยังไม่ได้ไปวิเคราะห์ หรือเห็นพระให้ทั่วถึงทั้งหมด พิมพ์พระประธาน เอกลักษณ์ของพระประธานนั้นเป็นพระ พิมพ์ ๓ ชั้น มีเส้นแซมใต้ตักที่มีขนาดค่อนข้างหนา อย่างเห็นได้ชัด ซุ้มเรือนแก้วเป็นซุ้มผ่าหวายที่เส้นใหญ่และคมลึกมาก องค์พระประธานมีพุทธศิลป์ ที่ล่ำสันสง่างามมาก มีความลึกมากกว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อยเศียรขององค์พระเป็น รูปกลมรี ในพุทธลักษณะของศิลปะสุโขทัย คือ มีคางเล็กลง และเชื่อมลงมายัง ต้นพระศอขององค์พระ ซึ่งเห็นอยู่ในทีเท่านั้น มิได้เป็นรูปแท่งของลำคอ เหมือนพระรุ่นใหม่ทั่วไป พุทธศิลป์ที่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ คือ ไม่ปรากฏมี หูอยู่รำไรพระพักตร์ไม่ปรากฏมีหน้าตาชัดพระเกศเป็นกรวยยาวแหลมขึ้นไปจรด ครอบแก้ว พระพุทธศิลป์ที่คล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆัง คือ ที่รักแร้ขององค์พระประธานด้านซ้ายมือจะลึกสูงกว่า ซอกรักแร้ด้านขวามือขององค์พระ ประธาน หน้าตักซ้ายขององค์พระประธานจะสูงขึ้นกว่าหน้าตักทางขวามือขององค์ พระประธาน เป็นเหตุให้พุทธลักษณะขององค์พระประธานจะนั่งเอียงจากฐานเล็กน้อย ซึ่งเหมือนกับพุทธศิลป์ของ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ฐานทั้ง ๓ ชั้นใหญ่และลึก มีฐานสิงห์ปรากฏที่ฐานชั้นสองทั้ง ๒ ข้าง พุทธศิลป์พิมพ์พระสมเด็จวัดขุนอินทประมูล หลังองค์พระเรียบทั้ง๓ พิมพ์เหมือนกัน การตัดพิมพ์ ขององค์พระนั้น เมื่อปั๊มแม่พิมพ์แล้วน่าจะตัดด้วยตอกจากด้านหลังขององค์พระ เสร็จแล้วจึงถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ เหมือนพระสมเด็จ วัดระฆัง จึงไม่ ปรากฏมีเนื้อปลิ้นบนขอบตัดด้านหน้า แตกต่างจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ซึ่ง ตัดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง จึงปรากฏขอบตัดที่ปลิ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การตัดแม่พิมพ์นั้นถึงจะเป็นการตัดแม่พิมพ์จากด้านหลังมาสู่ด้านหน้า แต่ก็ใช้กรรมวิธีตัดขอบที่ไม่เหมือนกัน จึงไม่ปรากฏรอยปูไต่บนพิมพ์ ด้านหลังทั้ง ๔ ขอบ สันนิษฐานได้ว่าอาจจะใช้ตอกตัดตรงทั้ง ๔ ด้านทุกองค์
มวลสารขององค์พระนั้นมีเอกลักษณ์ของสมเด็จวัดระฆัง ค่อนข้างจะครบสูตร คือ มีรอยพรุนบนองค์พระทั่วๆ ไปจึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีส่วนผสมของ ผงธูปที่บูชาพระ เมื่อพระได้อายุนานปี ผงธูปได้หดตัวและเสื่อมหายไปจึงเกิดรอยรูพรุน หรือรอยเข็มทั่วไป รอยบุ้งไต่หรือรอยหนอนด้น ซึ่งเกิดจากมวลสารที่เป็นดอกไม้ พืชผัก หรือเนื้อสัตว์ที่เป็นเศษอาหาร เมื่อสลายตัวแล้วจึงปรากฏร่องรอยที่เหลือ อยู่เป็นรอยคล้ายบุ้งไต่ หรือหนอนด้นคล้ายกับ พระสมเด็จวัดระฆัง เม็ดพระธาตุซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จ วัดระฆัง คือ เป็นมวลสารที่ผสมด้วยเศษปูนเก่าที่ตำละเอียด ผสมอยู่ในมวลสารของการสร้างพระ เมื่อ พระสมเด็จมีอายุเป็นร้อยปี เศษปูนเก่าและส่วนผสมของปูนใหม่มีการหดตัวและมี รอยแยกกันเป็นธรรมชาติ สำหรับไม้ก้านธูปหรือเศษมวลสารอื่นๆ ซึ่งมีในพระสมเด็จ วัดระฆังนั้น ยังไม่พบอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ กรุขุนอินทประมูล ซุ้มครอบแก้วจะเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด พุทธลักษณะของพระประธานจะไม่ล่ำสันเหมือนพิมพ์พระประธาน แต่พุทธศิลป์ ยังคงรักษาเอกลักษณ์เหมือนหรือคล้ายกับพิมพ์พระประธาน เส้นแซมใต้ตักมีขนาด เล็กลงบ้างเท่านั้น พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พุทธศิลป์ดูจะล่ำสันกว่าพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่เสียอีก แต่ก็ไม่เท่ากับพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน เส้นแซมใต้ตัก เป็นเส้นเล็กและแหลมคม นอกนั้นพุทธศิลป์จะเหมือนและคล้ายกับพระสมเด็จพิมพ์ พระประธาน และพิมพ์ใหญ่ ทำไมจึงขนานพระนามเป็น"พระสมเด็จ" ในความเป็นจริงนั้น พระพุทธปฏิมากรรม หรือพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยพระคณาจารย์ที่มีตำแหน่งระดับ พระสมเด็จเช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่ เถื่อน) คนไทยจะขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จ วัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จอรหัง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยพระคณาจารย์ ที่ไม่มีตำแหน่งชั้นสมเด็จพระเครื่องเหล่านั้นจะไม่ขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จ เช่น พระวัดรังษีพระวัดพลับ พระหลวงปู่ภู เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันแนวทางการขนานพระนามของพระเครื่องในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ พระสมเด็จ วัดระฆัง ได้มีการขนานพระนามเป็น พระสมเด็จเช่นกัน เช่น พระสมเด็จ วัดไชโย เป็นต้น สำหรับ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูล นั้นเนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จวัดระฆัง ทั้งพุทธศิลป์และมวลสารทั้งหมดอีกทั้งตาม ประวัติท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มากราบนมัสการ พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลเหมือนเช่น วัดไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง และบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ ขุนอินทประมูล หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็น พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 01 มิ.ย. 2567 - 12:43:47 น.
วันปิดประมูล - 02 มิ.ย. 2567 - 12:58:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเกื้อหนุน (2.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 01 มิ.ย. 2567 - 12:43:58 น.





ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 01 มิ.ย. 2567 - 12:44:06 น.





ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 01 มิ.ย. 2567 - 12:44:15 น.





 
ราคาปัจจุบัน :     250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    honghirun (1.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1