(0)
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย หลังยันต์ เนื้อผงน้ำมัน วัดชนะสงคราม กรุงเทพ ปี ๒๔๙๑ "ชำรุดด้านหลังมุมล่าง"






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย หลังยันต์ เนื้อผงน้ำมัน วัดชนะสงคราม กรุงเทพ ปี ๒๔๙๑ "ชำรุดด้านหลังมุมล่าง"
รายละเอียดกรุณาอ่านรายละเอียดก่อนเคาะประมูลด้วยครับ

1. เพื่อเป็นการไม่ให้เสียเวลาทั้ง 2 ฝ่าย กรุณาตรวจสอบความพร้อมทางการเงินของท่านให้ดีก่อนเคาะประมูล
2. กรุณาพิจารณารูปพระให้ดีก่อนเคาะประมูล หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพระที่ตั้งประมูล สอบถามก่อนที่จะเคาะประมูลทาง mailbox
3. ผู้ชนะการประมูลแจ้งโอนเงิน หรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่ง โปรดแจ้งทาง mailbox เพื่อความถูกต้องและรวดเร็วในการจัดส่ง
4. พระจบการประมูลราคาไม่เกิน 600 บ.จัดส่งลงทะเบียน - Eco post (ระยะเวลาไปรษณีย์จัดส่ง 3-5วัน)
ถ้าจบประมูลราคา 600 บ.ขึ้นไป จัดส่งEms (ระยะเวลาไปรษณีย์จัดส่ง 1-3วัน)
5.ถ้าต้องการเลขพัสดุไปรษณีย์ โปรดเเจ้งทางเมล์ ระบุให้ชัดเจน!!

รับประกันตามกฎการันตีพระ
ราคาเปิดประมูล250 บาท
ราคาปัจจุบัน450 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 06 มิ.ย. 2567 - 11:14:36 น.
วันปิดประมูล - 07 มิ.ย. 2567 - 12:47:53 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลhooligan (6.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 06 มิ.ย. 2567 - 11:15:50 น.

พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย หลังยันต์ เนื้อผงน้ำมัน วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ปี ๒๔๙๑ พระผงน้ำมันวัดชนะสงคราม พุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ มีเกจิอาจารย์มากมายเข้าร่วมพิธี ในปี 2491 มากมาย อาทิ พลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ฯลฯ แค่รายนามเกจิปลุกเสก ก็ล้วนแต่เป็นสุดยอดเกจิแห่งยุค ทั้งนั้น ควรค่าแก่การสะสมบูชาอาราธนาติดตัวเป็นอย่างยิ่ง พุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม ปัจจุบันยังพอหาเก็บได้ สนน ราคายังเบาๆ น่าเก็บน่าใช้อีกละคราฟ ************************************************************************************************************************************* จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๑ โดยท่านพระครูอุดมชัย (ทองม้วน ป.ธ.๕) ได้ขอผงต่างๆ จากคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณชื่อดังทั่วประเทศ ผงอันเป็นส่วนหักป่นของกรุต่างๆ และดอกไม้นานาชนิด ที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งผงและส่วนหักป่นกรุวัดชนะสงคราม (วังหน้า) ที่ได้สะสมไว้ พระสงฆ์และสามเณรได้ช่วยกันสร้าง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นคนผสมผง โขลกหรือพิมพ์ก็ตาม ห้ามพูดตลกคะนอง ใช้วาจาไม่สุภาพ ให้ตั้งจิตเป็นสมาธิ อธิษฐานขอบารมีตั้งใจสร้างเป็นพุทธบูชา น้ำซึ่งเป็นส่วนผสมการพิมพ์พระก็ใช้เฉพาะน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งเราถือกันว่าเป็นน้ำมนต์ร้อยปี อยู่ในพระอุโบสถตรงหน้าองค์พระประธาน รวมทั้งน้ำพระพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง และน้ำพระพุทธมนต์จากวัดต่างๆ นำมาคลุกเคล้ากับผงแล้วสร้างพระพิมพ์ชุดนี้ ครั้นสร้างเสร็จได้จัดพิธีพุทธภิเศกตลอดไตรมาส โดยได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในยุคนั้น จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศรวม ๑๐๘ รูป พระเนื้อผงของวัดชนะสงครามนี้มีด้วยกัน ๑๐ พิมพ์ เป็นพิมพ์พระประจำวันเกิด ตั้งแต่วันอาทิตย์จนถึงวันเสาร์ รวม ๗ พิมพ์ พิมพ์ปางป่าเลไลยก์หนึ่งพิมพ์ พิมพ์พระฉิมหนึ่งพิมพ์ และพิมพ์พุทธกวักหนึ่งพิมพ์ รวมเป็น ๑๐ พิมพ์ พุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม โดยเฉพาะพิมพ์พุทธกวักและพิมพ์พระฉิมเป็นที่นิยมกันมาก โดยถือว่ากวักโชคลาภ กวักสิ่งที่เป็นมงคล ค้าขายดี พิมพ์พระประจำวันก็ถือเป็นพลังและเป็นมงคลแก่เจ้าของวันเกิด วัดชัยชนะสงคราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหารตั้งอยู่จดถนนจักรพงศ์ ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดเล็กๆ มีมาก่อนสร้างกรุงเทพฯ ในสมัยนั้นบริเวณรอบๆ วัดยังเป็นท้องทุ่งนาค่อนข้างกว้างใหญ่ เรียกกันในสมัยนั้นว่า "วัดกลางนา" ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เรื่องราวของวัดนี้เริ่มมีหลักฐานขึ้น คือเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราช ปรารภว่าพระราชาคณะฝ่ายรามัญยังหาตัวมิได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาพระมหาเถระฝ่ายรามัญ ซึ่งรู้พระวินัยปริยัติได้ ๓ รูป ทรงตั้งเป็นพระมหาสุเมธาจารย์ รูปหนึ่ง พระไตรสรณธัช รูปหนึ่ง พระสุเมธน้อย รูปหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงสร้างวัดกลางนาขึ้นใหม่และทรงโปรดให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่ที่วัดกลางนาและ ให้พระสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาส พระไตรสรณธัชนั้นมีพระบรมราชโองการให้ไปอยู่วัดบางหลวง เป็นเจ้าคณะรามัญในแขวงนนทบุรี สามโคก พระสุเมธน้อยนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดบางยี่เรือใน หลังจากนั้นต่อมาชาวบ้านก็เรียกวัดกลางนา ว่า "วัดตองปุ" สันนิษฐานว่าจะเรียกกันตามอย่างในสมัยอยุธยา ซึ่งในสมัยอยุธยามีวัดตองปุ ที่เป็นวัดพระสงฆ์รามัญ ต่อมาเมื่อสยามทำศึกและได้ประชุมพลก่อนออกสงคราม ณ ที่วัดแห่งนี้ และได้รับชัยชนะกลับมาจึงพระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า วัดชัยชนะสงคราม


 
ราคาปัจจุบัน :     450 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    suthon (7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1