ชื่อพระเครื่อง | พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์พระเลี่ยง |
รายละเอียด | จากตำนานเล่าขานกันสืบมา ถึงการสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสรและดอกไม้ต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์ ในพระวิหารรวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึงพระประธานในพระวิหารของวัด ที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ เมื่อได้มวลสารผงเกสรตลอดจนวัสดุมงคลครบถ้วนตามความเชื่อของศรัทธาชาวบ้านแล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรักโดยมีผงใบลานที่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึกอักขระไว้ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนเหนียวได้ตามประสงค์เจตนา จึงนำเอามากดลงบนแม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นพระเกศาครูบาเจ้าฯ ลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง นำเอาเส้นพระเกศาผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มีจึงปรากฏในภายหลังของพระเครื่องเส้นเกศาฯ นี้ ด้วยบางองค์ก็จะเห็นเส้นพระเกศาชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย สำหรับแม่พิมพ์ที่นำมาสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยนั้นได้ยึดถือเอาแบบพุทธพิมพ์ของพระสกุลลำพูนเป็นตัวอย่างแม่พิมพ์พระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรงไม่ยึดถือเอา พิมพ์ทรงใดพิมพ์ทรงหนึ่ง จากคำบอกเล่าของชาวบ้านผู้มีอายุตั้ง แต่ 60 ปีขึ้นไปก็จะกล่าวคำบอกเล่าแตกต่างกันไป อย่าง เช่นพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์พระรอดนั้นมักจะสร้างโดยคณะศรัทธาชาวบ้านที่มอบไว้ให้แก่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญไชย เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึกมอบแก่ผู้มาร่วมงานบุญฉลองสมโภชน์พระบรมสารีริกธาตุ หริภุญไชยเจ้า
ส่วนพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ก็จะสร้างตามแหล่งกำเนิดหรือตามกรุของพระพิมพ์นั้นๆ แต่จะสร้างกันในเวลาไม่ห่างกันมากนักเรียกได้ว่า ทันยุคกัน จะแตกต่างกันไปของอายุก็ไม่เกิน 4-5 ปีเท่านั้น ข้อนี้เป็นคำยืนยันจากผู้สูงอายุที่เป็นชาวบ้านป่าซางบ้าง ชาวลำพูนเก่าแก่ดั้งเดิมบ้าง แม่พิมพ์ของพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ กันจะสร้างจากดินเผา บางครั้งก็ใช้พระสกุลลำพูนกดลงบนพื้นดินแล้วนำไปเป็นแม่พิมพ์ เรียกได้ว่า ลอกแบบเลยก็มี ดังนั้นมีพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยในรูปแบบพิมพ์ทรงเป็นพระสกุลลำพูนเป็นส่วนมาก จะมีเป็นพิมพ์ทรงแปลกๆ บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านที่ได้เก็บรักษา หรือได้มา ซึ่งเส้นเกศาของครูบาเจ้าฯ แล้วนำเอาไปสร้างไปทำเป็นพระเครื่องเองก็มีมากพิมพ์องค์เหมือนกัน
ตลอดระยะเวลาที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เมื่อยังมีชีวิตอยู่นั้นในครั้งคราใดที่พระครูบาเจ้าจะปลงผม (เส้นเกศา) เหล่าบรรดาพระลูกศิษย์และศรัทธา ชาวบ้านจะพากันเอาผ้าขาวมารอง พร้อมใบบัวมาคอยรับคอยห่อ เอาพระเกศาของท่านครูบาเจ้าฯ เมื่อได้เส้นเกศาที่ครูบาท่านปลงแล้ว ก็จะขออนุญาตินำออกไปแจกให้ คณะศรัทธาชาวบ้านส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้กับวัดที่ท่านจำอยู่คราปลงเส้นผมนั้น ครั้นกาลเวลา ต่อมาบางวัดก็ได้นำเอาไปบรรจุรวมกับอัฐิธาตุ ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยดังปรากฏตามประวัติการสร้างสถูป อนุสาวรีย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สืบมาถึงปัจจุบัน
เส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตามที่ได้พบเห็นจะมีความยาวประมาณมือหยิบ หรือประมาณ เซนติเมตร เป็นส่วนใหญ่ลักษณะเส้นผมจะเป็นสีน้ำผึ้ง, ใส ดุจดั่งเส้นใยแก้วก็มี
พุทธคุณของพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้มากด้วยพุทธคุณทางเมตรตามหานิยมแคล้วคลาดภยันตรายพิษภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่า การเดินทางรอดพ้นภัยดีนักแล อิทธิปาฏิหารย์ด้านคงกระพันชาตรีไม่ปรากฏ จะมีก็ แต่เพียง เมื่อเกิดอุบัติเหตุมักจะแคล้วคลาดรอดพ้นมาได้ อาจมีบาดแผลบ้าง บางครั้งผู้มีประสบการณ์ที่ประสบอุบัติเหตุก็จะพบว่า รถที่ชนกันแหลกพังยับเยิน ตนเองน่าจะไม่รอด แต่กลับรอดพ้นมาได้ โดยไม่รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น |
ราคาเปิดประมูล | 300 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 366 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 33 บาท |
วันเปิดประมูล | - 07 มิ.ย. 2567 - 20:04:23 น. |
วันปิดประมูล | - 08 มิ.ย. 2567 - 21:27:04 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | jackmamking (2.1K)
|