(0)
ตะกรุดไจยะเบงชร เนื้อตะกั่ว หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่ พิจารณาก่อนประมูลทุกครั้ง ถ้าไม่ชอบหรือไม่มั่นใจอยากให้ผ่านรายการนี้ก่อนค่ะ***พระเก่าเก็บที่บ้าน วัดใจเท่านั้น>>>








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องตะกรุดไจยะเบงชร เนื้อตะกั่ว หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่ พิจารณาก่อนประมูลทุกครั้ง ถ้าไม่ชอบหรือไม่มั่นใจอยากให้ผ่านรายการนี้ก่อนค่ะ***พระเก่าเก็บที่บ้าน วัดใจเท่านั้น>>>
รายละเอียดตะกรุดไจยะเบงชร เนื้อตะกั่ว หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่
รายการนี้ทางเว็ปยังไม่รับออกบัตรนะคะ***พิจราณาก่อนเคาะประมูลนะคะ*** ยาว3นิ้ว
ดอกนี้เดิมๆ ได้จากคนพื้นที่กิ่งอำเภอดอยหล่อ รับมาจากมือครูบาท่านโดยตรง
ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อกวย ชุตินธโร ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก
...ด้วยเดชะบุญญาบารมีแห่งพระพุทธปริตรคาถา “ไจยะเบงชร” (ชินบัญชรล้านนา) ต้นตำหรับแรกสุดแห่งสยามประเทศ ซึ่งทรงกฤษฎาภินิหารอย่างยิ่งยวดและทรงคุณค่าอย่างพิเศษสุด ในอันที่จะได้สำเร็จเป็นพุทธานุสารณียวัตถุ ที่พึ่งพากราบไหว้สาสักการะแห่งมวลหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งแผ่นดินไปสืบ ชั่วกัลปาวสาน
๑. คาถานี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในหมู่ประชาชนทางเมืองเหนือมาแต่โบราณ ทั้งภิกษุสามเณรและชาวบ้านนิยมสวดกันทั่วไป และรู้จักกันในนามว่า “สูตรเชยยเบงชร” หรือออกเสียงตามสำเนียงพื้นเมืองว่า “ไจยะเบงจร” แต่ที่จดจารึกไว้ในใบลานบ้านบันทึกไว้ในสมุดไทยบ้าง ด้วยอักษรล้านนา เท่าที่สำรวจพบแล้วขณะนี้นั้น เรียกชื่อต่างๆ กันเป็นหลายอย่างคือ เชยยเบงชร ชัยเบ็ญชร ไจยะเบงชร ชยา และมีฉบับปรากฏอยู่ทั่วไปนับจำนวนพัน
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรของชาวเมืองเหนือนั้น เป็นไปอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ ใช้สวดสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นธาตุ ขึ้นถ้ำ สวดขอฝน นอกจากนี้ยังนิยมเอาบางตอนของคาถานี้ (คือคาถาที่๑๐, ๑๑, ๑๒) มาเขียนย่อเป็นยันต์ลงในแผ่นกระดาษหรือแผ่นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมสำหรับติดที่ปลายเสาดั้งของบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร เพื่อป้องกันฟ้าผ่า ไฟไหม้ เรียกว่า “ยันต์เทียนหัวเสา” บ้าง “ยันต์เสาดั้ง” บ้าง “ยันต์ฟ้าฟีก” บ้าง ๓. หลักฐานเกี่ยวกับคาถานี้ มีจดจารึกไว้ด้วยอักษรล้านนาเท่าที่ค้นพบในขณะนี้มี ๒ ลักษณะคือ จารไว้ในใบลานหรือสมุดไทย (สมุดข่อย) ที่ชาวล้านนาเรียกว่า ปั๊บ (พับ) เป็นเอกเทศบ้าง เขียนไว้ในปั๊บสา (สมุดกระดาษสา) หรือปั๊บสูตร (หนังสือสวดมนต์ที่ทำด้วยกระดาษสา) รวมกับสูตรอื่นๆ ทั่วไป บางที่จารหรือเขียนไว้เป็นเอกเทศนั้นมีน้อย เท่าที่สำรวจพบแล้วโดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางมีเพียง ๕ ฉบับ ที่พบมากที่สุดนั้นเขียนไว้ในปั๊บสา (คือหนังสือรวมสวดมนต์แบบสมุดข่อย) บางฉบับมีคำแปลเป็นไทยไว้ด้วย บางฉบับก็ไม่มีคำแปล บางฉบับมีวันเดือนปีที่จารหรือจารึกไว้ด้วย เท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ ฉบับที่มีอายุเก่าที่สุดคือฉบับของวัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน จารในใบลานรวมกันหลายสูตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ (จ.ศ.๑๒๒๓)
๔. เกี่ยวกับประวัติความเป็นมานั้น ยังไม่พบหลักฐานแน่ชัด คาถาชินบัญชรฉบับอักษรล้านนาบางฉบับเท่าที่ค้นพบแล้วมีบอกประวัติของคาถานี้ไว้ด้วย เช่นฉบับวัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน บอกว่า “เป็นคาถาของพระมหาพุทธโฆสเถระเจ้าเมื่อคราวลงไปค้นเอาพระธรรมที่:pบ (หรือตู้) หลวง เมืองลังกา (บนั้น) ท่านติดกุญแจไว้ ๗ ชั้น เพื่อไม่ให้ใครไขได้ พระมหาพุทธโฆสเถระเจ้าสวดพระคาถา ๒๙ บทนี้ พร้อมกับเดินพนมมือประทักษิณ:pบพระธรรมของหลวงนั้น ๓ รอบ กุญแจ ๗ ชั้นนั้นก็หลุดออกหมด ท่านจึงได้เอาพระธรรมออกมาเขียนได้ทั้งหมด สร้างขึ้นไว้ในชมพูทวีปเรานี้แล” ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า คาถานี้แต่งขึ้นในลังกา โดยพระอรหันต์ ๘ รูป เพื่อถวายแก่มกุฎราชกุมารของลังกา ซึ่งถูกทำนายว่าจะถูกฟ้าผ่า (แต่ยังหาหลักฐานไม่พบ) บางท่านกล่าวว่า ในตำนานสืบชาตาของเชียงใหม่ ซึ่งมีมาแต่ครั้งพระเมืองแก้ว (ครองราชย์ระหว่างพ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘) มีกล่าวถึง ไจยะเบงจร ซึ่งพระจะต้องสวดรวมกับสูตรอื่นๆ ด้วย อันเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า คาถาชินบัญชรนี้ได้มีมาในเชียงใหม่เกือบ ๕๐๐ ปีแล้ว จากข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ผู้รู้บางท่านของเชียงใหม่จึงสรุปว่า คาถาชินบัญชรนี้แต่งขึ้นที่ลังกา แล้วไทยเรารับเอามาอีกทีหนึ่ง บางท่านสรุปว่า แต่งขึ้นที่เชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชมหาราช รัชกาลที่ ๑๑ แห่งเชียงใหม่ บางท่านสรุปว่าแต่งขึ้นที่เชียงใหม่ โดยพระสีลวังสะ (หรือศีลวงศ์) ผู้แต่งคาถาอุปปาตสันติ ซึ่งมีลีลาและความหมายคล้ายกับคาถาชินบัญชร แต่ทั้งนี้ก็โดยสันนิษฐาน เพราะยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด
๕. ในทางเมืองเหนือถือกันว่า บทว่า “รตนํ ปุรโต อาสิ” ของคาถาชินบัญชรนั้น เป็นหัวใจของคาถาชินบัญชร ถือกันในทางไสยศาสตร์ว่าขลังนัก เรียกกันว่า “คาถาตาลหิ้น” เพราะอยู่ยงคงกระพันถึงขนาดยิงจนยอดตาลหิ้น (น) ก็ไม่เป็นอันตราย
สำหรับคำอ่านไจยะเบงชรหรือชินบัญชรล้านนานี้ ข้าพเจ้าภูชิชย์ สุรรัตน์ได้รับถ่ายทอดคำอ่านมาจากท่านพระครูใบฏีกาหล้า อมรเมโธ วัดพระสิงห์ราชวรวิหาร เชียงใหม่
หมายเหตุในพระคาถาตัวแดงคือคาถาชินบัญชรล้านนาที่แตกต่างกับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ครับ
ที่มา พระคาถาปฐมชินบัญชรล้านนา(ไจยะเบ็งชรชินบัญชรล้านนา)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 22 มิ.ย. 2567 - 21:33:31 น.
วันปิดประมูล - 23 มิ.ย. 2567 - 22:26:07 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลfrenchfry99 (461)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 มิ.ย. 2567 - 21:34:19 น.



ครูบาอิน


 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Jarun888 (987)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1