(0)
<<วัดใจ20บาท..เสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี จ.สมุทรปราการ เนื้อเขี้ยวหมีแกะ 2450-2475 จารเต็มตัวครบสูตร เก่ามันส์จัดจ้าน สวยเดิมทุกประการ ตัวจริงเสียงจริง เอกลักษณ์การสร้างชัดเจน น่าบูชามากๆครับ>>








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง<<วัดใจ20บาท..เสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี จ.สมุทรปราการ เนื้อเขี้ยวหมีแกะ 2450-2475 จารเต็มตัวครบสูตร เก่ามันส์จัดจ้าน สวยเดิมทุกประการ ตัวจริงเสียงจริง เอกลักษณ์การสร้างชัดเจน น่าบูชามากๆครับ>>
รายละเอียดมาอีกแล้ว>>รายการวัดใจ..20บาทพีๆสมาชิกท่านใดสนใจใส่ราคามาได้เลย


1.อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างนะครับ


2.พระเครื่องที่ลงประมูลในแต่ละรายการนั้นราคาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเพื่อนสมาชิกที่ร่วมประมูล โดยกระผมไม่สามารถที่จะกำหนด หรือเรียกร้องราคาได้ (ถึงขาดทุนผมก็ต้องขาย)หากสมาชิกที่ต้องการเช่าไปเก็บไว้เพื่อออกต่อทำกำไรก็กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลไปนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วขายไม่ได้ และต้องมีการขอคืนกันตามมาในภายหลัง ดูให้ชอบนะครับจะได้ไม่เสียโอกาศทั้ง2ฝ่าย


3.พระเครื่องหรือเครื่องรางต่างๆที่กระผมเอามาลงทุกรายการยินดีส่งออกบัตรรับรองทุกรายการแต่บางรายการทางสำนักงานไม่มีข้อมูลก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ผมประกันแท้ตลอดชีพทุกชิ้น


4.รับประกันตามกฎของเว็บ G-PRA ทุกประการ


5.กระผมขอขอบพระคุณพี่ๆ สมาชิกทุกๆท่านที่ยอมรับยูซเซอร์เนมนี้มาโดยตลอด โปรดติดตามพระเครื่อง เครื่องรางและพระกรุดีๆ ที่นำมาประมูล ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ


6.ทุกรายการไม่มีการปิดประมูลให้สมาชิกนอกรอบอย่างแน่นอน ใครให้ราคาไว้สูงสุดก็ได้บูชาไปตามกฏ
ราคาเปิดประมูล20 บาท
ราคาปัจจุบัน3,010 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 02 ก.ค. 2567 - 06:52:24 น.
วันปิดประมูล - 03 ก.ค. 2567 - 06:56:35 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลTHAITANIUM (2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 02 ก.ค. 2567 - 06:53:55 น.



เพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความชัดเจนนะครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 02 ก.ค. 2567 - 06:54:17 น.



เพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความชัดเจนนะครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 02 ก.ค. 2567 - 07:06:00 น.



ประวัติ หลวงพ่อนก วัดสังกะสี (วัดนาคราช)
หลวงพ่อนก ท่านเป็นชาวสมุทรปราการ เกิดที่ตําบลบางกะเจ้าเมื่อวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2392 ตั้งแต่เติบโตมาท่านได้อยู่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ด้วยบิดามารดาท่านได้ส่งไปร่ำเรียนหนังสือที่วัดบางบ่อตั้งแต่เยาว์วัยจนเมื่ออายุท่านได้ 15 ปี จึงได้ให้ท่านบวชเป็นสามเณรที่วัดกองแก้ว อําเภอพระประแดง ในปัจจุบัน

หลังจากที่ท่านได้บวชเป็นสามเณรท่านจึงเริ่มศึกษาวิชาการทางพุทธศาสนาจนเมื่อท่านมีอายุครบบวชท่านมีความตั้งใจที่จะบวชจนตลอดชีวิต มารดาท่านที่เป็นชาวบางบ่อจึงนําท่านมาฝากไว้กับหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยและได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบางเหี้ย (วัดมงคลโคธาวาส) โดยมีหลวงพ่อปาน (พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ธมมโชติ”

หลังจากท่านได้บวชอยู่กับหลวงพ่อปานด้วยความที่ท่านชื่นชอบในการศึกษาวิชาความรู้และขยันขันแข็งในการช่วยงานให้กับพระอาจารย์ทําให้หลวงพ่อปานท่านรักและเมตตาสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาอาคมให้อย่างเต็มที่ ซึ่งในทุกๆ ครั้งที่หลวงพ่อปาน นําขบวนพระออกธุดงค์หลวงพ่อนกจะติดตามคอยช่วยงานเป็นกําลังสําคัญตลอดมา

จนประมาณปี พ.ศ.2430 ท่านได้เดินทางมาที่หมู่บ้านคลองพระยานาคราช ตําบลบางพลีน้อย อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีขุนสําแดงเดชาเกิดศรัทธาในหลวงพ่อนกและได้ขอบริจาคที่ดินสร้างวัดและขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ตั้งชื่อว่า “วัดสังกะสี ภายหลังเปลี่ยนเป็นชื่อ วัดนาคราช” แต่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกกันว่าวัดสังกะสี ตลอดเวลาที่ปกครองวัด ท่านได้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านสร้างความเจริญรุ่งเรือง จนถึงปี พ.ศ.2475 ท่านได้มรณภาพอย่างสงบที่ วัดสังกะสี สร้างความเศร้าเสียใจแก่บรรดาลูกศิษย์ต่อการจากไปของท่านเป็นอย่างยิ่ง


การสร้างวัตถุมงคลและการพิจารณาเสือเขี้ยวแกะ
ในบรรดาลูกศิษย์ของหลวงพ่อปาน จะนับถือให้หลวงพ่อนกเป็นศิษย์รุ่นพี่ และให้ความเคารพนับถือต่อท่านเป็นอย่างมากเช่น หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่ออี้ วัดสัตหีบ ฯลฯ ยังมี หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ที่มักไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อนกเป็นประจํา

สําหรับวัตถุมงคลของท่านมีทั้ง ผ้ายันต์ ตระกรุด ลูกอม เหรียญรูปพระพุทธแต่ที่โด่งดังสร้างชื่อเสียงเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์มาเนิ่นนาน คือ เครื่องรางเสือเขี้ยวแกะ ด้วยตั้งแต่สมัยที่ท่านคอยติดตามอยู่กับหลวงพ่อปาน บางครั้งหลวงพ่อปานท่านก็ให้หลวงพ่อนก ลงจารยันต์ตามตัวเสือและหลวงพ่อปานท่านจะลงกํากับสุดท้ายที่ใต้ฐานเสือ ด้วยยันต์กอหญ้าเป็นประจํา

เมื่อท่านมาอยู่วัดสังกะสี บรรดาลูกศิษย์ที่รู้ต่างขอให้ท่านทําให้บ้างและต่างประสบกับความศักดิ์สิทธิ์ใช้แทนของหลวงพ่อปานได้ดีทีเดียว ในการพิจารณา ต้องจดจําศิลปะของช่างที่แกะเท่าที่พบเจอของแท้ๆ มักจะมีศิลปะการแกะที่ใกล้เคียงกัน น่าจะมีช่างแกะให้ท่านเพียงไม่กี่คนต้องจดจําการยืนของเสือ การอ้าปากทั้งฟันและเขี้ยวรวมถึงลิ้นในปากเสือ เท่าที่พบเจอจะเป็นเสือในลักษณะอ้าปากแทบทั้งสิ้น ที่สําคัญที่สุดคือ รอยจาร จะเป็นลายมือท่านทั้งหมด และท่านมักจะจารอย่างเป็นระเบียบสวยงาม ลายมือจะมนโค้งเป็นเหลี่ยมเพียงเล็กน้อย และจะเป็นเส้นเล็กอ่อนพลิ้ว ยิ่งดูลายมือยิ่งเพิ่มความขลัง ยิ่งถ้าเสือตัวไหนมีการจารตัวพระพุทธหรือที่เรียกกันว่า “ตุ๊กตา" จะได้รับความนิยมมีราคาสูงกว่ากันอย่างมาก

สําหรับเขี้ยวที่นํามาแกะมักจะเป็นเขี้ยวหมีเสียเป็น ส่วนใหญ่มีพบเจอเขี้ยวเสือบ้าง แต่หาได้ยาก และส่วนมากท่านมักจะให้แกะแบบเต็มเขี้ยวที่ตัดปลาย ด้านแหลมให้เหลือเพียงตัวเสือก็เคยพบแต่มีน้อยเพียงไม่กี่ชิ้น สุดท้ายขนาดของเขี้ยวก็มีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ไม่แน่นอนเขี้ยวหมีมักจะมีลายขวางๆ ด้านปลายแหลมและจะมีสีเหลืองน้อยกว่าเขี้ยวเสือซึ่งจะให้ดีคงต้องพบเจอของแท้และ จดจําลายมือให้แม่นยําเพราะของเทียมเลียนแบบมีจํานวนมากมายจริงๆ


ปัจจุบันเขี้ยวแท้ๆ ของหลวงพ่อนก หาได้ยาก มีราคาสูงตัวแชมป์ๆ มีราคาเกินหลักแสนบาท ด้วยเชื่อถือกันมาแต่เนิ่นนานว่าเสือเขี้ยวแกะของท่านมีพุทธคุณที่เชื่อถือได้ เข้มขลังเป็นอย่างยิ่งจนถึงขนาดเป็นที่กล่าวขานว่าเคยมีผู้ถูกยิงด้วยปืนทั้งที่ยังไม่เข้าและยิงไม่ออกเพียงพกแค่เสือของท่านติดตัวไว้เท่านั้น ทั้งข้าราชการผู้ใหญ่มักชอบพกเพื่อพุทธคุณด้านมหาอํานาจแบบขาดไม่ได้เลยทีเดียว


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 03 ก.ค. 2567 - 00:50:49 น.



แจ้งพี่ๆทุกท่าน ทางสำนักงานยังไม่มีข้อมูล ในการออกบัตรรับรองสำนักนี้นะครับ

แจ้งพี่ๆทุกท่าน ทางสำนักงานยังไม่มีข้อมูล ในการออกบัตรรับรองสำนักนี้นะครับ

แจ้งพี่ๆทุกท่าน ทางสำนักงานยังไม่มีข้อมูล ในการออกบัตรรับรองสำนักนี้นะครับ

แจ้งพี่ๆทุกท่าน ทางสำนักงานยังไม่มีข้อมูล ในการออกบัตรรับรองสำนักนี้นะครับ

แจ้งพี่ๆทุกท่าน ทางสำนักงานยังไม่มีข้อมูล ในการออกบัตรรับรองสำนักนี้นะครับ

แจ้งพี่ๆทุกท่าน ทางสำนักงานยังไม่มีข้อมูล ในการออกบัตรรับรองสำนักนี้นะครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     3,010 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    asticar (352)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1