(0)
พระหลวงพ่อทวด วัดพะโค๊ะ เนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ รุ่นแรก ปี 2506 ไม่มีอุดซ่อม เหลี่ยมทองเปอร์เซ็นสูง ไม่ใช่ทองกระดาษ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง พระหลวงพ่อทวด วัดพะโค๊ะ เนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ รุ่นแรก ปี 2506 ไม่มีอุดซ่อม เหลี่ยมทองเปอร์เซ็นสูง ไม่ใช่ทองกระดาษ
รายละเอียด องค์นี้มีเนื้อหาแก่ว่าน จึงปรากฎเห็นเป็นโทน "สีเทาอมน้ำตาล" เนื้อว่านที่มีปริมาณมากในองค์นี้จึงบังเกิดไขว่านผุดขึ้นทั้งแบบเป็นเม็ด เป็นเสน่ห์เฉพาะองค์ซึ่งหาได้ยากในพระรุ่นนี้ โดยที่พระส่วนใหญ่ที่พบเห็นในวงการฯเป็นพระเนื้อสีเทาแก่ถึงดำ เพราะมวลสารแก่ดินกากยายักษ์

ในช่วงปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา พระหลวงพ่อทวดมีความโด่งดัง เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้วัดต่างๆ ทั้งในแถบภาคใต้ และในภาคอื่น ๆ รวมทั้งในกรุงเทพฯ ต่างหยิบยกเอาหลวงพ่อทวดมาสร้างเป็นพระเครื่องกันถ้วนหน้า วัดพะโค๊ะเป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ หรือหลวงพ่อทวด เคยพำนักจำพรรษามาก่อน เป็นเหตุให้ชาวอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีความประสงค์อยากให้มีพระเครื่องในนามหลวงพ่อทวดมาบูชาบ้าง ด้วยเหตุนี้ "ท่านอาจารย์เขียว ปุญญผโล" ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพะโค๊ะ ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงได้ร่วมกับคณะกรรมการวัดพร้อมชาวบ้านที่นั่น ทำการสร้างพระหลวงพ่อทวดขึ้นมา โดยรวบรวมวัสดุมวลสารที่จะนำมาเป็นเนื้อหาในการจัดสร้างพระอาทิ ว่าน 108 ชนิด ที่นำมาจากเขาต่างๆ , น้ำผึ้งรวง , กล้วยน้ำว้า น้ำมันตังอิ๊ว พร้อมผงพุทธคุณ มาคละเคล้าผสมผสานรวมเป็นหนึ่งเพื่อสร้างพระขึ้น

โดยเริ่มดำเนินการในช่วงเข้าพรรษาเดือน 8 ของปี พ.ศ. 2506 แม่พิมพ์นั้นแกะจากหิน จำนวน 12 แม่พิมพ์ มีทั้งพิมพ์แบบพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตลอดทั้งแกะพิมพ์พิเศษขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่กรรมการที่มาช่วยงานเป็นพิมพ์รูปไข่ที่เรียกขานกันว่า "พิมพ์กรรมการ" โดยมี "ปลัดศักดา ไชยาวรรณ" เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ ท่านนี้ยังเป็นผู้ที่แกะแม่พิมพ์พระให้กับ "วัดยะหา" และ "วัดเมือง" มาก่อน

หลังจากแกะแม่พิมพ์เสร็จแล้วจึงระดมชาวบ้านมาร่วมกันกดพิมพ์พระ โดยทุกคนต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อน นุ่งขาวห่มขาว มารับศีลพร้อมทำสมาธิตามขั้นตอนการสร้างพระเครื่องของวัดพะโค๊ะ อีกทั้งการพิมพ์พระครั้งแรกนั้นก็ต้องให้บุคคลที่มีชื่อเป็นมงคลอย่างเช่น "นายนำ นายชัย นายคง" เป็นต้น เป็นผู้กดพิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ภายในวงสายสิญจน์ครั้งละ 5-6 คน ระหว่างนั้นก็จะมีการสวดมนต์ของพระสงฆ์ตลอดพิธี

การจัดสร้างที่ใช้เวลานับเดือนจึงได้พระครบตามจำนวนพระธรรมขันธ์คือ 84,000 องค์ จากนั้นจึงนำเนื้อพระที่เหลือไปกด "พิมพ์กรรมการ" ต่อจนเนื้อพระหมด ปรากฏว่าพิมพ์นี้กดพิมพ์พระได้น้อยมาก เพราะเนื้อที่ผสมไว้หมดลงก่อน จึงเป็นเหตุให้พิมพ์กรรมการมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์อื่น ๆ

หลังการกดพิมพ์พระเสร็จสิ้น จึงจัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นโดยมอบให้ "ขุนพันธรักษ์ราชเดช" เป็นผู้ดำเนินการด้านพิธีกรรม ด้วยการนิมนต์เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นหลายรูปมาร่วมพิธี โดยไม่ลืมทำการอัญเชิญดวงพระวิญญาณหลวงพ่อทวดมาร่วมในพิธีด้วยเช่นกัน

เนื้อหาของพระมีหลายเฉดสี เช่น ดำ เทา น้ำตาล และน้ำตาลอมแดง เหตุเพราะวัสดุมวลสารที่เป็นส่วนผสมในการกดพิมพ์พระ ว่าแก่ว่าน หรือ แก่ดินกากยายักษ์

ซึ่งจากวันนั้นมาถึงวันนี้ พระหลวงพ่อทวดวัดพะโค๊ะ รุ่นแรก รุ่นนี้ก็มีอายุร่วม 54 ปีล่วงมาแล้วจึงมีความแห้งจองเนื้อพระ อีกทั้งยังปรากฎไขว่านที่ผุดขึ้นมาจากภายในฉาบ หรือเกาะติดที่พื้นผิวในบางบริเวณ จึงสามารถใช้เป็นจุดพิจารณาความเที่ยงแท้ต่อจากพิมพ์ทรงของพระ

ประกอบกับเป็นรุ่นที่มีผู้เสาะแสวงหากันมาก เพราะสนนราคายังไม่แพงเกินไป จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ทองเลี่ยมร้านทอง ตอนทองบาทละ22,000บาทเลี่ยม 11,000บาท ห่วงหนาๆครับ
ราคาเปิดประมูล 1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน 10,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล พฤ. - 25 ก.ค. 2567 - 20:21:26 น.
วันปิดประมูล อา. - 04 ส.ค. 2567 - 20:21:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล siris (687)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     10,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  wealthy83 (427) 5,000 บาท พฤ. - 25 ก.ค. 2567 - 21:30:39 น.
  ภูมิภัทรพระเครื่อง (176) 10,000 บาท พฤ. - 25 ก.ค. 2567 - 23:32:31 น.
  ahatyai (184) 10,100 บาท ศ. - 02 ส.ค. 2567 - 20:44:42 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1