รายละเอียด | พระร่วงยืนหลังรางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพปี15 จ.เชียงใหม่ ปลุกเสกโดยลพ.กวย ลป.โต๊ะ ลป.แหวน ลพ.เกษม ลพ.เงินอ.นำ และเกจิดังมากมายในยุคนั้น
***********
เหรียญดีพิธีใหญ่พระร่วงยืนหลังรางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพปี15 จ.เชียงใหม่ ปลุกเสกโดยลพ.กวย ลป.โต๊ะ ลป.แหวน ลพ.เกษม ลพ.เงินอ.นำ และเกจิดังมากมายในยุคนั้นครับเป็นของดีราคาเบา พิมพ์เจดีย์ลอยแตกนิยมสวย เนื้อทองแดงรมดำ ปรอทขึ้นไม่ผ่านการใช้เก็บเก่ามาเป็นสิบๆปีแหล่ะ สวยจริง
พระร่วงยืนหลังรางปืน ปี 2515 ผิวสวยดำกริ๊ปๆปรอทขึ้น ไม่ผ่านการใช้เก็บมาดี มาพร้อมกล่องเดิม ของวัดป้อมแก้ว ( นำไปปลุกเสกซ้ำที่วัดป้อมแก้วครับ แล้วออกให้ทำบุญในงานผูกพัทธสีมา ในปี๑๗ ) มาแบบสวยแชมป์กันเลย
หนึ่งในพระร่วงหลังรางปืนที่จัดว่าเป็น "ของดีราคาเบา" ที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ "พระร่วงหลังรางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพ" ซึ่งจัดสร้างและปลุกเสกร่วมกับพระกริ่งเชียงแสน, เหรียญพระพุทธสิหิงค์, เหรียญพระเจ้าเสตังคมณี วัดเชียงมั่น, เหรียญหลวงพ่อทันใจ, เหรียญครูบาศรีวิชัย, เหรียญเจ้าคุณพระราชสิทธาจารย์, เหรียญพระอภัยสารทะ วัดทุงยู เป็นต้น
พระหลังร่วงรางปืนรุ่นนี้มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์หลังเจดีย์นูน และพิมพ์หลังเจดีย์จม บ้างก็เรียกว่า พิมพ์พระธาตุลอย และพิมพ์พระธาตุ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ในอิริยาบถยืนบนแท่นภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ พระกรซ้ายทอดลงขนานกับลำพระองค์แบบหงายฝ่าพระ หัตถ์ออกด้านหน้าเป็นกิริยาประทานพรครองเครื่องจีวรห่มคลุมพลิ้วบางขนานกับพระองค์ตกลงมาเบื้องล่าง รายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน สีพระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม สวมศิราภรณ์ได้แก่ กะบังหน้า และมงกุฎรูปกรวยหรือเรียกกันว่า หมวกชีโบ นุ่งสบงคาดด้วยรัดประคดที่มีการตกแต่งลวดลายที่ปรากฏในศิลปะเขมร แบบบายนที่มีชื่อเรียกว่า "พระร่วงรางปืน" หรือ "พระร่วงหลังรางปืน"
พิธีปลุกเสกที่วัดพระธาตุดอยสุเทพในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธสิหิงค์จำลอง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2515 โดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน โดยนิมนต์สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ 108 รูป ร่วมนั่งปรกปลุกเสก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก จังหวัดลำปาง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม, ครูบาคำแสน อินทจักรโก วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่, ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จังหวัดเชียงใหม่, ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุ่ย จังหวัดลำพูน, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจารย์ชุม ไชยคีรี เจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส เป็นต้น
นับเป็นพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ แถมมีพระเกจิอาจารย์ดังทั้งภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้ รวมพลังปลุกเสกกันอย่างเข้มขลัง ดูพิธีและเกจิที่ร่วมปลุกเศกจะว่าว่ารุ่นนี้สุดยอดขนาดไหน |