ชื่อพระเครื่อง | พระอุปคุต หลังยันต์ เนื้อชินเขียว กรุวัดวังบัว จ.เพชรบุรี |
รายละเอียด | พระอุปคุตหลังยันต์ เนื้อชินเขียว กรุวัดวังบัว ตำบลลาดโพธิ์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี พระบรรจุกรุเก่า แตกกรุที่วัดวังบัวชัดเจน แต่ปัจจุบันก็มีบางท่านนำไปขายเป็นของพิษณุโลกก็มี กรุวังบัวเป็นกรุเก่า กรุมาตรฐานวงการนิยมประกวดเช่นกัน ลังยันต์เป็นเอกลักษณ์ของกรุนี้ มีทั้งพิมพ์มเหศวร ชินราช และ อุปคุต เนื้อหาส่องศึกษาง่าย สะสมง่าย รู้กรุชัดเจน เพราะ กรุวัดวังบัว จ.เพชรบุรี เป็นพระกรุเนื้อชินเขียวที่นิยมเล่นหากันอีกกรุหนึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สรา้งตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราว ปี ๒๓๒๕ มีอายุยาวนานกว่า ๒๐๐ กว่าปี ตามประวัติกล่าวว่า สมัยก่อนมีคนพะเยามาเทียวเมืองเพชรบุรีและได้นำพระชุดนี้กลับไปจำนวนหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อนำไปบูชาแล้วเกิดประสบการณ์มากมาย เลยเที่ยวสืบหากัน พระเนื้อชินเขียว ถือเป็นพระกรุที่เก่าแก่เทียบได้กับพระเนื้อชินเงิน และพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถึงจะเป็นพระยุคเก่า และยังเป็นพระกรุ แต่นักเล่นก็ไม่ค่อยให้ความสนใจสักเท่าไร แถมราคาในการเล่นหาก็ไม่แพงอย่างที่คิด โดยเฉพาะนักเล่นรุ่นใหม่ๆ แทบจะไม่ให้ความสนใจเลย อาจเป็นเพราะหายาก ?และดูไม่เป็นแต่ก็ยังมีกลุ่มนักเล่นรุ่นเก่าๆ ที่ยังให้ความสนใจ และเก็บสะสมอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ก็จะเลือกเก็บพระเนื้อชินเขียวที่ได้รับความสนใจอยู่ในวงการ ประกอบกับต้องเป็นผู้ที่สามารถดูพระเนื้อชินเขียวเป็น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในกระบวนการของพระเนื้อชินเขียวนั้น จะมีตระกูลพระที่เหมือนกับพระเนื้อชินเงินและเนื้อตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นที่นิยมของนักเล่นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันพระเนื้อชินเขียวถึงจะเป็นพระไม่ค่อยจะแพงแต่ก็หายากมากๆ โดยเฉพาะพระยอดนิยม พระเนื้อชินเขียวกรุนี้ จัดเป็น ๑ ใน ๑๐ อันดับพระเนื้อชินเขียวยอดนิยม และ เล่นหาด้วยเช่นกัน ๑.พระร่วงทรงเกราะ จ.สุโขทัย ๒.พระยอดอัฎฐารส จ.พิษณุโลก ๓.พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย ๔.พระหูยาน จ.ลพบุรี ๕.พระมเหศวร หรือ พระสี่ศวร จ.สุพรรณบุรี ๖.พระชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก หรือ พระชินราช กรุวังบัวจ.เพชรบุรี ๗.พระลีลา จ.สุโขทัย ๘.พระนาคปรก จ.พิจิตร ๙.พระรอด จ.พะเยา ๑๐.พระปิดตา วัดทุ่งผักกูด จ.นครปฐม การเรียก "พระอุปคุตเถระ" หรือ "พระเถรอุปคุต" ใน บางท้องถิ่นล้านนา เชื่อว่า พระอุปคุตจะตะแหลง (แปลงร่าง) เป็น สามเณรน้อย ขึ้นมาบิณฑบาตใน วันเป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ (วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธพอดี) เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตไปตามถนน ทางสี่แพร่งสามแพร่ง ตลอดจนถนนหนทางตามริมน้ำท่าน้ำต่างๆ จนกระทั่ง ตี๋นฟ้ายก หรือแสงเงินแสงทองออกมา จึงเนรมิตกายหายไป เชื่อกันว่า หากผู้ใดมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุต มักทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยทั้งปวง มีสมาธิจิตดี ไม่หลงลืม ชีวิตเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สร้าง พระอุปคุต ปางต่างๆ ที่นิยมกันมากได้แก่ ปางล้วงบาตร หมายถึง กิ๋นบ่เสี้ยง หรือกินไม่หมด ให้คุณทางทรัพย์สินเนืองนอง มากมาย ร่ำรวย พระอุปคุต ผู้เป็นพระอรหันตสาวก ที่ทรงมหิทธานุภาพ ชอบความวิเวกวังเวง และอยู่ตามลำพังผู้เดียว ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับผู้อื่น เป็นพระอรหันต์หลังสมัยพุทธกาล เพราะไม่พบประวัติของท่านในพระไตรปิฎก แต่ปรากฏอยู่ใน จารึกพระเจ้าอโศก ซึ่งเขียนขึ้น เมื่อร้อยกว่าปีหลังพุทธปรินิพพาน และยังปรากฏอยู่ใน พระปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยอยู่ปริจเฉทที่ ๒๘ ที่มีชื่อว่า มารพันธ-ปริวรรต คติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธคุณ ของผู้ที่บูชา พระอุปคุต เชื่อว่า มีพุทธโดดเด่นด้านโชคลาภ และคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง วิธีสวดขอลาภ ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอม น้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระ ในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ขอให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวดนะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วยคำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงาน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 1,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | - 12 ก.ย. 2567 - 12:59:21 น. |
วันปิดประมูล | - 22 ก.ย. 2567 - 14:22:15 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | Natchu (664)
|