ชื่อพระเครื่อง |
พระรอด แร่บางไผ่ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี พ.ศ.2549 /หลวงพ่อตัด วัดชายนา / หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง /หลวงปู่ทิม วัดพระขาว / หลวงพ่อเพี้ยน / ปลุกเสก |
รายละเอียด |
พระรอด แร่บางไผ่ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี พ.ศ.2549
ขนาดฐานกว้าง 1.5 x สูง 2.7 เซนติเมตร / จำนวนสร้าง 2,549 องค์
พระแร่บางไผ่ หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี พ.ศ.2549 (รุ่น4)
รุ่นสร้างเจดีย์ห้ายอด วัดหนองสิม ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
แร่บางไผ่ แร่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิฤทธิ์อานุภาพในตัวเอง ถ้านำมาสร้างพระเครื่องประจุพุทธาคมที่เข้มขลัง ยิ่งทวีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ที่วงการพระเครื่องยกย่องให้เป็นหนึ่งในการสร้างพระเครื่องเนื้อโลหะด้วยกัน ซึ่งในอดีต หลวงปู่จัน วัดโมลี จ.นนทบุรี เป็นผู้ค้นพบ และได้หายสาบสูญไปจากวงการพระเครื่องร้อยกว่าปี
ในปัจจุบัน พระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข เป็นผู้ค้นพบแร่บางไผ่ และนำมาสร้างพระเครื่อง พระปิดตาแร่บางไผ่ จนเป็นที่รู้จักและนิยม กล่าวขานกันอีกครั้งในปัจจุบัน
แร่บางไผ่ แร่วิเศษมหัศจรรย์ ที่มีอยู่เพียงแห่งเดียว ในเมืองไทย คือที่...คลองบางคูรัด จังหวัดนทบุรี ค้นพบโดยหลวงปู่จัน วัดโมลี อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังชาวเขมร ผู้มีวิชาอาคมขลัง เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว
หลวงปู่จัน ได้นำแร่วิเศษนี้ มาสร้างเป็นพระปิดตา จนปรากฏชื้อเสียงโด่งดังไปทั่ว วงการพระเครื่องยกย่องเป็น พระปิดตายอดนิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน สนนราคาเช่าหาแพง องค์ละหลายหมื่นบาท จนถึงหลักแสนบาทขึ้นไป และยังมีของปลอมมากอีกด้วย
หลังจากนั้นไม่เคยปรากฏว่ามีพระเกจิอาจารย์ท่านใด ได้สร้างพระปิดตา ด้วยเนื้อแร่บางไผ่อีก ต่อมาเมื่อพ.ศ.2536 หลวงพ่อสมศักดิ์ ฐิตสกฺโข วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ผู้เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ได้นิมิตเห็นแหล่งแร่บางไผ่ ที่หลวงปู่จัน ได้เคยนำมาใช้สร้างพระปิดตาในอดีต
หลวงพ่อสมศักดิ์ จึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน ขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทาง และขอบารมีแห่งหลวงปู่จัน นำแร่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้พบนี้ มาสร้างเป็นพระเครื่อง ขึ้นภายในวัด และจัดพิธีพุทธาภิเษก ขึ้นอย่างถูกต้อง จนพระเครื่องรุ่นนี้ได้รับความนิยมชมชอบ จากศรัทธาสาธุชนโดยทั่วไป ที่ได้มีโอกาสสักการบูชาพระเครื่องรุ่นนี้ และมีประสบการณ์อภินิหารในด้านต่างๆมากมาย สุดจะพรรณนาได้หมดสิ้น จนพระเครื่องที่สร้าง ได้หมดไปทุกพิมพ์ ในเวลาอันรวดเร็ว
เนื่องจากยังมีผู้ที่ต้องการสักการบูชาพระเครื่อง เนื้อแร่บางไผ่ อันวิเศษสุดยอดนี้อีก พระอาจารย์สมศักดิ์ จึงได้จัดสร้างพระเครื่อง เนื้อแร่บางไผ่ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีแบบพิมพ์แตกต่างไปจากคราวก่อน เรียกชื่อพระเครื่องรุ่นนี้ว่า พระเครื่องรุ่น หลวงปู่ทวดแร่บางไผ่
การจัดสร้างได้ทำตามแบบเดิมทุกประการคือ นำแร่บางไผ่ ที่งมหาได้จากคลองบางคูรัด มาตำบดเป็นผงแล้วหลอมให้เป็นโลหะเหลว เทลงเบ้าแม่พิมพ์ กดพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระทีละองค์ ตกแต่งให้สวยงามคมชัด ทุกขั้นตอนทั้งหมดนี้ พระ- เณร และลูกศิษย์วัดช่วยกันทำภายในวัด
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
เพื่อนำปัจจัยสร้างเจดีย์ห้ายอด เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต และพระปฏิบัติกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น หลายรูป ณ วัดหนองสิม ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
พิธีพุทธาภิเษก
วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2549 เวลา 17.00 น. ณ วัดหนองสิม ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
หลวงพ่อพระเกจิอาจารย์ ที่ได้นิมนต์มานั่งปรกภาวนาอธิษฐานจิต พุทธาภิเษก พระแร่บางไผ่ ล้วนแต่เป็นพระที่มีบารมีมาก พรรษามาก อายุมาก และเป็นพระอริยะสงฆ์ที่มีคุณธรรมสูงส่ง วัตถุมงคลของท่านแต่ละองค์ล้วนแต่มีประสบการณ์มากมายเป็นที่รู้จักกันดี
มีรายนามดังต่อไปนี้
1. หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน วัดป่าโสตถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
2. หลวงพ่อแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม วัดป่าโชคไพศาล บ้านหนองนาหาร ตำบลนาซอ อำเภอวานรนิวาส จ.สกลนคร
3. พระครูสุวรรณปทุมาภรณ์ (หลวงปู่คำพัน) วัดบ้านหนองบัวสร้าง ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร
(เพื่อนสหธรรมิกของหลวงปู่ปาน วัดกุดไผท
4.พระอาจารย์วัชรพล วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
5.หลวงพ่อสมศักดิ์ ฐิตสกฺโข วัดนครอินทร์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
(ผู้บูรณะวัดหนองสิม สกลนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542)
พระเกจิคณาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว
6. หลวงพ่อทิม อัตตสันโต (พระครูสังวรสมณกิจ) วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุทธยา
7. หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม (พระครูวินัยวัชรกิจ) วัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า ต.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
8. หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม (พระครูวิมลสมณวัตร) วัดเกริ่นกฐิน ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
9. หลวงพ่อเพิ่ม อตฺตทีโป (พระครูประโชติธรรมวิจิตร) วัดป้อมแก้ว ต.บ้านกลึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
10. หลวงพ่อเอียด อินทวโส (พระสุนทรธรรมานุวัตร) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
11. หลวงปู่เก๋ ถาวโร (พระมงคลนนทวุฒิ) วัดปากน้ำ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
12. หลวงพ่อตัด ปวโร (พระพุทธวิริยากร ) วัดชายนา ต.หนองจอก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี |
ราคาเปิดประมูล |
500 บาท |
ราคาปัจจุบัน |
525 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ |
25 บาท |
วันเปิดประมูล |
ศ. - 18 ต.ค. 2567 - 09:46:49 น. |
วันปิดประมูล |
ส. - 19 ต.ค. 2567 - 11:25:14 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล |
weera (1.4K)
|