ชื่อพระเครื่อง |
พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง พ.ศ.2539 เนื้อนวโลหะ (พิมพ์ใหญ่) สวย กล่องผ้าไหมเดิม |
รายละเอียด |
พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี2539
เนื้อนวโลหะ (พิมพ์ใหญ่) สวยมาก ผิวเดิม พร้อมกล่อง
รับประกันตามกฎ
ในปี พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี คณะกรรมการมีความเห็นที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้พสกนิกรได้สักการบูชาแสดงความจงรักภักดีน้อมเกล้าฯ ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว และหากจะพึงมีรายรับก็จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง ดังนี้ พระพุทธรูปบูชา ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว,พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา, พระพิมพ์จิตรลดา เป็นพระพิมพ์นูนบนพื้นสามเหลี่ยม,และพระพิมพ์จิตรลดาเนื้อผง การจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากคณะกรรมการได้พิจารณาเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธนวราชบพิตรและพระราชทานเพื่อ ประดิษฐาน ณ จังหวัดต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตร ได้ทรงบรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งทรงสร้างด้วยพระหัตถ์จากผงศักดิ์สิทธิ์นานา ชนิด ทั้งในพระองค์และจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดต่างๆ ดังปรากฏรายละเอียดการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตรที่พระราชทานเป็นพระประจำ จังหวัด ดังนี้
พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซม. สูง40 ซม. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาเขต เมื่อ พ.ศ.2509โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เข้ามาปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมานี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธลักษณะของพระปฏิมานั้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อพระพุทธรูปนั้นขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2509 และได้โปรดเกล้าฯให้ขนานนามพระพุทธรูปนั้นว่า พระพุทธนวราชบพิตร
พระพุทธนวราชบพิตรนั้น นอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดแห่งพุทธศาสนิกชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นนิมิตหมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างองค์พระมหากษัตราธิราชกับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัดทั่วพระ ราชอาณาจักร และพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งได้บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงายนั้น ก็ประกอบด้วยวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อันศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรได้ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธนวราชบพิตร จึงเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในรัชกาลปัจจุบัน
พระพุทธรูปพิมพ์ที่ทรงสร้างนี้ นอกจากที่ทรงประดิษฐานไว้ที่ฐานบัวของพระพุทธนวราชบพิตรแล้ว ยังทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานแก่ข้าราชบริพารและพสกนิกรบางคนนำไปบูชาด้วย แต่จำนวนไม่มากนัก และได้เรียกขานนามพระกันเป็นสามัญ จนเป็นที่รู้จักว่า พระสมเด็จจิตรลดา
คณะกรรมการได้เห็นความสำคัญของพระพุทธนวราชบพิตรและพระสมเด็จจิตรลดาดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญและหาได้ยากยิ่ง จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในโอกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสสักการบูชา เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ (นามพระพิมพ์จิตรลดา เพื่อให้แตกต่างจากพระสมเด็จจิตรลดา) จึงได้เกิด โครงการสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขึ้น
โครงการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการนั้นมีมูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นที่ปรึกษา หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ และคุณวัลลภ เจียรวนนท์ เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน
การจัดสร้างนั้น แบ่งเป็นพระเนื้อโลหะส่วนหนึ่ง และพระเนื้อผงอีกส่วนหนึ่งคณะกรรมการได้ดำเนินการ ดังนี้ ด้วยการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาในครั้งนี้ มีทั้งพระเนื้อโลหะและพระเนื้อผง พระเนื้อโลหะมีหลายรายการ แต่สร้างจำนวนไม่มาก แต่พระเนื้อผงรายการเดียวนั้นจัดสร้าง 1 ล้านองค์ ดังนั้น การจัดเตรียมเนื้อพระจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่คณะกรรมการได้เตรียมการล่วงหน้า ไว้เป็นเวลานาน
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานประกอบพิธี ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2538 โดยมีพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศนั่งปรกปลุกเสก ดังนี้
1.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
2.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
3.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
4.พระเทพสุธี วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
5.พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
6.พระปริยัติวิธาน (บุศย์) วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพมหานคร
7.พระราชวิสุทธิคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลักประจวบคีรีขันธ์
8.พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
9.พระราชพิพัฒนโกศล (โกศล) วัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
10.พระราชภาวนาวิกรม (ธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
11.พระพิศาสพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
12.พระอุดมประชานาถ (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
13.พระครูวิมลสีลาภรณ์ (พูนทรัพย์) วัดอ่างศิลา ชลบุรี
14.พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (เก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
15.พระครูมานิตสมณวัตร (เนื่อง) วัดสวนจันทร์ นครศรีธรรมราช
16.พระครูนนทสิทธิการ (ประสิทธิ์) วัดไทรน้อย นนทบุรี
17.พระครูพิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม ปทุมธานี
18.พระครูอรรถธรรมาทร (เฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
19.พระครูปริยัติคุณาธาร (อัมพร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
20.พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
21.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
22.พระครูการุณธรรมนิวาส (หลวง) วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
23.พระครูขันติยาภรณ์ (พรหม) วัดบ้านสวน พัทลุง
24.พระครูภัทรกิจโสภณ (หวล) วัดพทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
25.พระครูสุนทรยุติกิจ (เอียด) วัดไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา
26.พระครูเกษมคณาภิบาล (มี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
27.พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา
28.พระครูสังฆรักษ์ (เฉลิม) วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา
29.พระครูปลัดสุรินทร์ กิตติโก วัดนครหลวง พระนครศรีอยุธยา
30.พระครูสุวิธานศาสนกิจ (ไพรินทร์) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลก
31.พระอธิการคล้อย ฐานธัมโม วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
32.พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม นครปฐม
33.พระอธิการสมชาย วัดโพรงอากาศ ฉะเชิงเทรา
34.พระอธิการบุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู
35.หลวงปู่จันทรา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย พิจิตร
36.พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว หนองคาย
รับประกันตามกฎ |
ราคาเปิดประมูล |
100 บาท |
ราคาปัจจุบัน |
350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ |
10 บาท |
วันเปิดประมูล |
ส. - 19 ต.ค. 2567 - 13:51:47 น. |
วันปิดประมูล |
จ. - 21 ต.ค. 2567 - 19:25:39 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล |
anankiya (8.4K)
|