ชื่อพระเครื่อง |
พิธีใหญ่ /// เนื้อเงิน เหรียญพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ร.1 ออกวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ปี2510 หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก |
รายละเอียด |
เหรียญพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ปี 2510 พิธีเดียวกันกับ พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกวัดเชตุพน ปี 2510 ในปี พ.ศ.2508-2509 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ท่าเตียน ในขณะนั้น คือ สมเด็จพระวันรัต ซึ่งต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) ก็ทรงรับรู้ปัญหาและความจำเป็นในการหาทุนมาสนับสนุนการบูรณะพระอารามอันดับหนึ่งของประเทศ จึงทรงมีพระดำริจัดตั้ง มูลนิธิ ขึ้นเพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะพระอารามต่อไป จึงดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต โดยความช่วยเหลือของ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรีในขณะนั้น นำความขึ้นบังคมกราบทูลเกล้าถึงความจำเป็นซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและพราชทานนามมูลนิธิว่า มูลนิธิพระพุทธยอดฟ้า พร้อมทั้งรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์อีกด้วย
สมเด็จพระวันรัต จึงจัดประชุมกรรมการหลายฝ่ายถึงเรื่องระดมทุนมาจัดตั้งเป็น กองทุนมูลนิธิ ผลการประชุมมีมติให้จัดงาน ทอดผ้าป่ามหากุศล 84,000 องค์ พร้อมทั้งมีการจัดทำ ของที่ระลึก สมนาคุณแก่ผู้บริจาคเพราะจะทำให้ให้มีรายได้เข้ากองทุนมากขึ้น โดยสร้างเป็นวัตถุมงคลคือ พระกริ่ง และ เหรียญ
สำหรับ พระกริ่ง ที่ประชุมยังมีมติอีกว่า ควรจัดสร้างด้วย เนื้อทองคำ น้ำหนักไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับสมนาคุณผู้บริจาคตั้งแต่ 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ขึ้นไป และควรสร้างจำนวนจำกัดคือ 1,250 องค์ อันเป็นจำนวนเท่ากับ พระวิสุทธิสงฆ์ องค์อรหันต์ที่มาประชุมพร้อมกันเป็นมหาสันนิบาตในวันมาฆปุรณมีเพ็ญเดือนสาม ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต โดยขอบารมีธรรม ของพระอรหันต์เหล่านั้นมารวมไว้ที่ พระกริ่ง อันเป็น ปฏิมาของ พระพุทธเจ้า โดยตกลงกันว่าควรถวายพระนามว่า พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ด้วยมูลเหตุที่มูลนิธินี้ได้รับพระราชทานนามว่า มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า ดังนั้นเพื่อให้สมกับพระนามจึงสร้างด้วย เนื้อทองคำ เพียงเนื้อเดียว
ครั้นตกลงกันเป็นมติเอกฉันท์จึงจัดหาทองคำนำมารีดเป็นแผ่นบาง 108 แผ่น สำหรับลงอักขระ ยันต์ 108 และอีก 14 แผ่น สำหรับลงอักขระ นะปถมัง 14 นะ ตามตำราของ สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วกรุงเก่า ที่ตกทอดมายัง สมเด็จพระพนรัตน์ ปฐมอธิบดีสงฆ์องค์แรกของ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผู้เป็นพระอาจารย์เจ้าใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตโนรส และมีการคัดลอกลงในสมุดไทยดำแล้วตกทอดไปยัง วัดบวรนิเวศวิหาร วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดเทพธิดาราม เป็นต้น และหลังจาก แผ่นทองคำ ทั้งหมดทำการลงอักขระยันต์แล้วจึงนำมารวมกับทองคำอื่น ๆ ที่มีประชาชนร่วมบริจาคเพื่อหล่อพระไว้ในพระอุโบสถที่มีการจุดตั้ง พระวัตรฉัตรธง โดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ตลอดเวลา 3 เดือน แห่ง ปุริมเข้าพรรษา ซึ่งท่านเจ้าคุณ พระเทพวรมุนี (ฟุ้ง ปุณณโก) เป็นหัวหน้าในการนำสวดพระพุทธมนต์บทต่าง ๆ อาทิ ชินบัญชรคาถา ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร โพชฌงค์ปริตร เจ็ดตำนาน มงคลจักรวาล ฯลฯ
จนกระทั้งถึงวันอาทิตย์ แรม 8 คำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2509 อันเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นโบราณราชประเพณีทุกปี ซึ่งวันนั้นได้เสด็จฯเป็น วัดที่ 3 (วัดแรกคือวัดมกุฎฯ) ซึ่งในบันทึกพระนิพนธ์เรื่อง มูลนิธิทุนพระทุทธยอดฟ้าในพระบรมราชูปถัมถ์ ของ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) ได้บันทึกความสำคัญในวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จฯทรงประกบพิธีเททองหล่อพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าไว้ดังนี้
วันนี้เป็นวันที่ทรงเครื่องยศใหญ่ เสนามาตย์ราชบริพารแต่งตัวเต็มยกทุกคนที่มารับเสด็จฯ และจะหาวันไหนเป็นโอกาสสอนเป็นมงคลยิ่งเสมอวันนี้ยากนัก เพราะวันแรม 8 ค่ำเป็นวันอาทิตย์นั้น ได้รับความนิยมว่าเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ จะหาวันที่เป็นมิ่งมงคลเช่นนี้ไม่ง่ายนักในขวบปีหนึ่ง โบราณ จึงเขียนไว้เป็นแบบว่า
จันทร์ตรีศรีสิทธิเก้า ภุมเมทร์
พุธทวัชอัฏฐสุรเยนทร์ เลศลัน
พฤหัสบดิ์จตุรเกณท์ ศุกร์ค่ำ หนึ่งนา
เสาร์ห้าสถาพรพัน โชคใช้ได้เสมอ
โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกปลุกเสกประกอบด้วย
1.หลวงพ่อเงินวันดอนยายหอม
2.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
3.หลวงพ่อมุ่ย วัดอนไร่
4.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
5.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
6.หลวงปู่ธูป วันแคนางเลิ้ง ฯล เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ทราบถึง ความสำคัญ โดยเฉพาะบรรดา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คหบดี เศรษฐี และ ผู้มีอันจะกิน ในสมัยนั้น จึงร่วมกันบริจาคเพื่อเข้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช อีกด้วย ดังนั้น พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ที่สร้างด้วย ทองคำ เมื่อปี 2510 จึงไม่มีหมุนเวียนออกมาเป็น สมบัติผลัดกันชม เฉกเช่นวัตถุมงคลอื่นๆ เนื่องจาก ใครมีก็หวง อีกทั้งแต่ละบุคคลที่ได้รับพระราชทานครั้งนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ไม่เดือดร้อนทางด้านการเงิน ปัจจุบันจึงพบเห็นได้ยาก เพราะผู้ที่ดีรับพระราชทานต่างอาราธนาบูชาเป็น สมบัติประจำตระกูล ที่บรรดาลูกหลาน ต่างก็ยึดถือเฉกเช่นบุพการี เพราะทราบดี
พระพุทธคุณ ยอดเยี่ยมด้าน คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติ มหาอำนาจก็เป็นเอก ที่สำคัญ มีความมั่นคงก้าวหน้าในชีวิต มีความมั่นคงก้าวหน้าในฐานะ มีความมั่นคงก้าวหน้าในกิจการ
ซึ่งเท่าที่ทางวัดเชตุพนฯ ได้บันทึกไว้ บุคคลที่ได้รับพระราชทานครั้งนั้น ปัจจุบันล้วนกลายเป็น ตระกูลดัง มีชื่อเสียงขจรขจายในสังคม ที่ไม่อาจนำรายชื่อมาเสนอได้ทั้งหมด จึงขอกล่าวถึงเพียง พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ที่ร่วมบริจาคและได้รับพระราชทาน พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งหากท่านผู้ใดเป็นศิษย์ใกล้ชิดสมัยท่านยังมีชีวิตคงทราบดี
เหรียญพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ปี 2510 พิธีเดียวกับพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าฯ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อมุ่ย หลวงปู่ธูป ฯลฯ ปลุกเสก เนื้อเงินแท้ สภาพสวย..ผิวเดิมๆ ดูง่าย ไม่ผ่านการใ
เหรียญ ร.1 เนื้อเงิน ปี 2510
รายละเอียด เสด็จฯ ทรงประกอบพิธี เททอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ทรงเครื่องยศใหญ่ที่เรียก ว่า
ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี
เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
อุดมไปด้วยสรรพมงคลต่าง ๆ ครบถ้วนบริบูรณ์โดยแท้จริง.
รายนามพระอาจารย์ปลุกเสก..เหรียญพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก...
.๕-๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ .. |
ราคาเปิดประมูล |
150 บาท |
ราคาปัจจุบัน |
400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ |
50 บาท |
วันเปิดประมูล |
จ. - 28 ต.ค. 2567 - 16:50:59 น. |
วันปิดประมูล |
อ. - 29 ต.ค. 2567 - 19:52:32 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล |
matee1974 (1K)
|