(0)
เหรียญเนื้อทองแดง พิมพ์ยืน ครูบาอิน ปี 45 รุ่นอายุครบ 100 ปี (ตัดรุ้ง) ออกวัดทุ่งปุย เลี่ยมเดิม ผิววิ้งๆ อีกเกจิที่หลวงพ่อกวยแนะนำ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง เหรียญเนื้อทองแดง พิมพ์ยืน ครูบาอิน ปี 45 รุ่นอายุครบ 100 ปี (ตัดรุ้ง) ออกวัดทุ่งปุย เลี่ยมเดิม ผิววิ้งๆ อีกเกจิที่หลวงพ่อกวยแนะนำ
รายละเอียด เหรียญที่ได้รับความนิยมมากๆอีกรุ่นของครูบาอิน อินโทครับ เหรียญพิมพ์ยืน ทองแดง รุ่นอายุครบ 100 ปี ออกวัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) ปี 2545 เป็นอีกรุ่นที่ประสบการณ์มากมาย สร้างในพิธีรุ่นมงคลอายุ ๑๐๐ ปี "ขอให้รวย ขอให้อยู่ดีมีสุข" หลวงปู่ครูบาอินปลุกเสกเดี่ยว ณ วัดทุ่งปุย เป็นรุ่นที่กล่าวถึงกันมากมายเพราะมีประสบการณ์กันหลายคน ที่มีการบันทึกไว้คือตัดรุ้งขาด ตามที่ลูกศิษย์ได้เคยลองกัน รุ่นนี้ออกแบบได้สวยงามเหมือนหลวงปู่ยืนถือไม้เท้ามากๆ เป็นรุ่นยอดนิยมของสายท่านครูบาอิน ^^

===================================
ข้อมูลประวัติการจัดสร้างอย่างละเอียดจากพี่ไก่ ธีรยุทธ นะครับ
เหรียญรุ่น "ตัดรุ้ง" นี้ แต่เดิมไม่ได้ชื่อรุ่นตัดรุ้ง แต่เป็นชื่อรุ่น "ลายเซนต์"
ด้วยเหตุเพราะด้านหลัง แกะพิมพ์ลายมือหลวงปู่ เขียนชื่อท่านว่า
"ครูบาอิน อินโท" "ขอให้รวย ขอให้อยู่ดีมีสุข"
ประกอบกับช่วงนั้นมีการจัดสร้างล็อคเก็ต และพระกริ่งด้วย
เลยเฉลิมนามพระชุดนี้ทั้งหมดว่า รุ่น "วัฒนมงคล ๑๐๐ ปี"
มูลเหตุก็คือ...
ณ ตอนนั้น หลวงปู่มีอายุ ๑๐๐ ปี ย่าง ๑๐๑ สุขภาพร่างกายของท่านก็เริ่มทรุดโทรมไปตามวาระ
พระอาจารย์อินทร เจ้าอาวาสวัดใหม่หนองหอย ก็ได้ดำริถึงเรื่องในกาลอนาคต
หากว่าหลวงปู่ท่านดับขันธ์ ละสังขารไป การจะจัดงานประราชทานเพลิงศพของหลวงปู่
ให้สมกับสมณะฐานะ และความเป็นพระมหาเถระที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย
คงจะต้องใช้งบประมาณไม่น้อย... ส่วนตัวของหลวงปู่เอง ท่านก็ไม่ได้สะสมทรัพย์
ใครทำบุญมาบริจาคมา ท่านก็เอามาสร้างวัด พัฒนาวัดมอบให้โรงพยาบาล
แจกเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน อุปถัมภ์ค้ำชูส่วนราชการต่างๆ อยู่มิได้ขาด
เงินเป็นแสนเป็นล้าน ที่จะใช้ในการบำเพ็ญกุศล ท่านไม่เคยมีเก็บ
ควรที่ลุกศิษย์ลูกหาจะได้จัดเตรียมงบประมาณไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อวันข้างหน้าจะได้ไม่ฉุกละหุก
อีกทั้งไม่เป็นภาระให้กับศรัทธาญาติโยม ชาวบ้านทุ่งปุย
พระอาจารย์อินทร จึงได้ชักชวนท่านประครูป๋า (หรือพระอาจารย์พรชัย) เจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย
ร่วมกันขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ขึ้นมา ซึ่งมีทั้งเหรียญ ล็อคเก็ต รูปหล่อและผ้ายันต์
พูดถึงเรื่องเหรียญก่อน....
รูปแบบของเหรียญนี้ พระอาจารย์อินทรเป็นผู้ออกแบบให้เป็นเหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ ล้อมรูบด้วยดอกบัว
และในช่องกลีบบัวแต่ละช่องก็ลงอักขระหลายๆ ชุด ซึ่งเป็นอักขระที่หลวงปู่ท่านเคยใช้
เป็นพระยันต์ทางด้านเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ เช่น นะชาลีติ อิสวาสุ เป็นต้น
ส่วนด้านหลัง เป็นพระยันต์ที่หลวงปู่ท่านเลือกให้ คือยันต์บัวคำเก้ากาบ
ยันต์ "บัวคำเก้ากาบ" เป็นพระยันต์ที่มีมาแต่โบราณ มีอิทธิฤทธิ์อิทธิคุณในทางเมตตา มหานิยม
ในอดีต ครูบาอาจารย์ นิยมนำมาทำเป็นผ้ายันต์ เขียนลงผ้าขาว ผ้าแดง
ให้พกพาติดตัว เวลาไปค้าไปขาย หรือเดินทางต่างบ้าน ต่างเมือง
คนที่ได้พบเจอจะได้มีเมตตาต่อเรา
และอีกคุณหนึ่งก็คือ แคล้วคลาดปลอดภัย
ในแผ่นยันต์ต้นฉบับบ หลวงปู่ท่านเมตตาลงอักขระ "เต" ตรงกลางยันต์ให้ตัวหนึ่ง
ส่วนที่เหลือ ท่านให้พระอาจารย์อินทร เป็นผู้ลง เนื่องด้วยหลวงปู่ท่านชราภาพมากแล้ว
ชนวนมวลสารก็มีแผ่นพระยันต์ ที่พระอาจารย์อินทร พระครูป๋า พระอาจารย์ไพบูลย์
ได้จารแผ่นเงินแผ่นทองไว้ แล้วขอเมตตาหลวงปู่ปลุกเสกมวลสาร
ก่อหล่อหลอมผสมเข้ากับโลหะเนื้อเหรียญ เนื้อต่างๆ
พูดถึงเรื่องรูปถ่ายต้นแบบเหรียญ...
ปกติแล้ว เวลาทำเหรียญ ผู้สร้างก็จะเลือกรูปที่ถ่ายหลวงปู่ในโอกาสต่างๆ
คัดที่ชอบ แล้วก็ส่งช่างแกะบล็อคขึ้นรูปเป็นเหรียญเลย
แต่ครั้งนี้ ออกจะพิเศษหน่อย เพราะท่านให้ช่างถ่ายรูป (ช่างจิต ดอยหล่อ)
มาถ่ายรูปท่านหลายๆ ด้าน หลายๆ มุม เพื่อเอามาคัดเลือกทำต้นแบบเหรียญ
ต้นแบบล็อกเก็ต ผ้ายันต์และรูปถ่ายบูชา
เรียกว่า ท่านเต็มใจให้ทำอย่างที่สุด....
เหรียญเสร็จแล้ว ตอกโค้ดรูปกระต่าย ซึ่งเป็นปีเกิดของหลวงปู่
ในส่วนของการปลุกเสก พระชุดนี้ เสกเช้า เสกเย็น 3 เดือน ตลอดไตรมาส
สมัยนั้น หลวงปู่ยังพักอยู่ในห้องด้านหลังศาลาการเปรียญ
กุฏิหลังใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ พระที่จะเสกก็กองอยู่ตรงหน้าพระประธานในศาลา
เรียกว่าหลวงปู่เดินออกมาจากห้อง ก็ก็อธิษฐานจิตปลุกเสกพระได้เลย
อีกอย่าง พระตั้งอยู่ตรงจุดเดียวกับบริเวณที่เวลามีใครเอาพระมาขอให้หลวงปู่เสก
ก็จะต้องตั้งตรงนี้....
หมายถึงว่า... ถ้าวันไหนมีคนเอาพระมาของให้หลวงปู่เสก
วัตถุมงคลชุดนี้ ก็จะได้รับการอธิษฐานจิตปลุกเสกไปด้วย
ไหนจะทำวัตรเช้าเย็นอีก...
เรียกว่าอัดพุทธคุณกันเต็มๆ ครับ...
นี่กระมัง ที่ทำให้เหรียญนี้เกิดปาฏิหาริย์ ถึงขั้นตัดรุ้งขาด
ซึ่งเรื่องนี้ สำหรับท่านที่ยังไม่เคยรู้ ผมขอยกยอดไปไว้ในอีกกระทู้หนึ่งครับ
มาถึงจำนวนการสร้าง....
เหรียญก่อนนะครับ
1. เหรียญทองคำ เหรียญยืน 9 เหรียญ เหรียญรุปไข่ 9 เหรียญ
2.เหรียญเงิน แบบละ 309 เหรียญ
3.เหรียญเงินลงยา 3 สี (เขียว, น้ำเงิน, แดง) เหรียญยืน 309 เหรียญไข่ 309 (สีละ 103 เหรียญ)
(((สรุปกันงง... คือเหรียญเงินลงยามีรวมทั้งหมด 618 เหรียญ แบ่งเป็นเหรียญยืน 309 เหรียญไข่ 309....
เหรียญยืน 309 เหรียญ แบ่งเป็น 3 สี สีละ 103 เหรียญไข่ 309 ก็แบ่ง 3 สี สีละ 103 เช่นกัน)))
4. เหรียญทองแดงรมดำ แบบละ 5,000 เหรียญ รวม 10,000 เหรียญ
5. เหรียญตะกั่ว แบบละ 100 เหรียญ
ต่อไปล็อคเกต
1. ล็อกเกตใหญ่ หลังเคลือบ พร้อมห่วง 600 องค์ (มี 3 สี สีละ 200 องค์)
2. ล็อกเก็ตใหญ่ หลังอุดผง สร้าง 700 องค์ (มี 3 สี สีละประมาณ 200 กว่าองค์)
3. ล็อกเกตเล้ก หลังเคลือบ พร้อมห่วง 300 องค์ (มี 3 สี สีละ 100 องค์)
รูปหล่อ ๑๐๐ ปี
1.รูปหล่อตั้งหน้ารถ พร้อมครอบพลาสติด (หน้าตักประมาณ 2 นิ้ว) 309 องค์
2. รูปหล่อบูชานั่งหน้าตัก 5 นิ้ว 209 องค์
3. รูปหล่อบูชายืนถือไม้เท้า สูง 9 นิ้ว 209 องค์
เสกเสร็จออกพรรษาก็เริ่มออกให้บูชา
ค่อยๆ ทะยอยเอาเงินไปจ่ายให้โรงหล่อ และโรงพิมพ์พระ
เพราะงานนี้ไม่ได้มีเจ้าภาพหรือนายทุน อาศัยทำก่อนแล้วผ่อนชำระทีหลัง
ด้วยงบประมาณของวัดที่มีจำกัด เลยทำได้แค่นี้
แต่ไม่น่าเชื่อว่า... ด้วยวัตถุมงคลเพียงเล้กน้อยนี้... (เมื่อเทียบราคากับจำนวนการสร้าง)
จะเอาเงินที่ไหนมาพอกับการจัดงานพระราชทานเพลิงศพถวายหลวงปู่
คำตอบก็คือ สายธารศรัทธาครับ... หนึ่งเหรียญราคา 59 บาท
ชักนำคนมาร่วมทำบุญนับหมื่นนับแสนต่อไป...
มีประเด็นหนึ่งที่อยากจะเล่าเพิ่มเติม....
หลังจากเหรียญปลุกเสกเสร็จใหม่ๆ หลวงปู่ได้สั่งให้พระอาจารย์อินทร
เอาเหรียญยืนเนื้อเงินลงยาจำนวนหนึ่ง ไปเลี่ยมเงินเตรียมไว้
เพื่อมอบให้กับแขกผู้ใหญ่ ที่มากราบนมัสการหลวงปู่อยู่เสมอๆ
เด่วจะจัดรูปมาให้ชมครับ ว่าที่เลี่ยมเดิม มันเป็นยังไง
จบประวัติการสร้างเหรียญรุ่น "ตัดรุ้ง" ไว้เพียงเท่านี้ครับ
เรื่องเหรียญตัดรุ้ง ขอเล่าเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ
เนื่องด้วยเหรียญรุ่นนี้ ทางวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างเอง
เป็นการสร้างแบบลูกทุ่งๆ การตอกโค้ดก็เพื่อกันของปลอมของเสริม
โค้ด "มีเพียงโค้ดกระต่ายเพียงโค้ดเดียว"
มิได้มีโค้ดกรรมการ โค้ดนำฤกษ์ หรือโค้ดพิเศษอื่นๆ
ทั้งนี้เพราะ "ไม่มี" พระชุดกรรมการ แจกกรรมการ เพราะไม่มีกรรมการ
ลูกศิษย์ลูกหา ที่มาช่วยกัน ก็ต้องแบ่งบูชาเหรียญไปตามปกติ
ส่วนบางเหรียญที่เห็นมีสองโค้ด
ก็เป็นเพราะตอกครั้งแรก ไม่ติดชัด เลยซัดไปอีกโป๊กนึง
ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นเหรียญพิเศษแต่อย่างใดครับ
ดีนะที่ไม่มันส์มือ ซัดไปเก้าโค้ด เหมือนตอนที่ผมตอกโค้ดกระต่ายเหรียญปลอดภัย...
แฮ่ะๆๆๆ
พบเจอเหรียญโค้ดแปลกๆ ก็สันนิษฐานไว้ก่อนนะครับว่า
"เค้าตอกกันเอง ทีหลัง" มิได้ตอกมาจากวัดแน่นอน
ราคาเปิดประมูล 770 บาท
ราคาปัจจุบัน 790 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 20 บาท
วันเปิดประมูล พฤ. - 07 พ.ย. 2567 - 09:57:18 น.
วันปิดประมูล อ. - 12 พ.ย. 2567 - 15:57:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล เพื่อนแมวเหมียว (616)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     790 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ปากเกร็ด345 (3.2K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  ปากเกร็ด345 (3.2K) 790 บาท จ. - 11 พ.ย. 2567 - 15:57:24 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM
www1