ชื่อพระเครื่อง |
รูปหล่อพระพุทธชินราชนเรศวร วัดใหญ่ พิษณุโลก เนื้อนวะโลหะ+พิธีนเรศวรปี 36 พระดีพิธีใหญ่วัดใจเคาะแรกแดงครับ |
รายละเอียด |
พระพุทธชินราช ที่ระลึกในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร เนื้อนวะ จ.พิษณุโลก ปี 2536
ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของพระพุทธชินราช หรือ หลวงพ่อพระพุทธชินราช หรือ หลวงพ่อใหญ่ ที่ชาวพิษณุโลกเรียกกันจนติดปาก มีอยู่มากมายเหลือคณานับ อย่างเช่น ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระนเรศวรมหาราช ทุกครั้งที่พระองค์จะเสด็จออกทำศึกสงคราม พระองค์จะเสด็จเข้าไปในวิหารทรงกราบไหว้อธิษฐานขอพรจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธชินราช ขอให้ทรงมีชัยชำนะศึกต่ออริราชศัตรูของแผ่นดินและก็เป็นดั่งคำอธิษฐานขอพรจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธชินราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชำนะศึกทุกครั้ง เมื่อเสด็จกลับสู่เมืองพิษณุโลก พระองค์ก็ทรงนำเครื่องทรงที่มีชัยชำนะศึกถวายเป็นเครื่องสักการะ แด่พระพุทธชินราชเสมอมา ส่วนพุทธศาสนิกชนตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ก็ยังพากันไปกราบไหว้บูชาพระพุทธชินราชด้วยความศรัทธา บางคนมีความทุกข์ร้อนในใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัว การงานหรือค้าขาย ต่างก็ได้บนบานศาลกล่าวอธิษฐานขอพรที่ปรารถนา แล้วก็เหมือนความอัศจรรย์ที่ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ คำบนบานศาลกล่าวอธิษฐานขอพรต่างก็ประสบความสำเร็จไปตามๆ กันและก็มีประสบการณ์ให้เห็นอยู่ทุกวัน กับการแก้บนในวิหารพระพุทธชินราช
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่สวยงาม เด่นสง่าที่สุดของประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยผสมผสานกับศิลปะเชียงแสนอย่างลงตัว นับได้ว่าเป็นประติมากรรมชั้นสูงสุดแห่ง " พุทธศิลป์ " พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สร้างจากโลหะเนื้อสัมฤทธิ์ลงน้ำรัก ปิดทอง
ในการสร้างพระพุทธชินราช จากหลักฐานของหนังสือพงศาวดารของทางเหนือได้เขียนกล่าวยืนยันเอาไว้ว่าในปีพุทธศักราช 1500 หรือ จุลศักราช 319 เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก หรือ พระธรรมราชาลิไท ได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว พระองค์ทรงพระประสงค์จะทรงสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นจำนวน 3 องค์และพระองค์ก็ได้ช่างฝีมือดีที่เป็นพราหมณ์มา 5 คน มาเป็นแม่งาน พร้อมทั้งได้ทรงหาช่างฝีมือเอกจากเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก เมืองเชียงแสน และเมืองหริภุญชัย มาร่วมช่วยกันหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
วัสดุ สำฤทธิ์ ปิดทอง
พระพุทธชินราช ที่ระลึกในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จ.พิษณุโลก ปี 2536 เนื้อนวโลหะ
พระพุทธชินราช รุ่นที่ระลึกในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ปัจจุบันพบเห็นได้ยากเนื่องจากสวยและสร้างน้อยจึงมีผู้นิยมเช่าเก็บไว้จึงไม่มีหมุนเวียนในตลาดครับ จึงน่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังษราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเททอง ในวันจันทร์ที่ 3 พ.ค. 2536 ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2536 ณ.พระวิหารพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2536 ณ.ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ประธานพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในครั้งนี้
รายนามพระเกจิอาจารย์นังปรก
1.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
2.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวิเวการาม
3.หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
4.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
5.หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
เป็นต้น |
ราคาเปิดประมูล |
140 บาท |
ราคาปัจจุบัน |
200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ |
20 บาท |
วันเปิดประมูล |
ศ. - 08 พ.ย. 2567 - 15:41:00 น. |
วันปิดประมูล |
อา. - 10 พ.ย. 2567 - 06:08:25 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล |
นัทกะน้ำ (15.5K)
|