ชื่อพระเครื่อง |
((วัดใจ))พระพุทธชินสีห์ภปร.ทันโตเสฎโฐพิมพ์เล็ก พร้อมกล่อง |
รายละเอียด |
พระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ ปี 2533
จัดสร้างโดย คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จำนวนการจัดสร้าง
1.พิมพ์ใหญ่ จำนวน 63,000 องค์
2.พิมพ์เล็ก จำนวน 21,000 องค์ (จำนวนการจัดสร้างพิมพ์เล็กน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่ถึง 3 เท่า)
พระผงพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. พุทธลักษณ์จำลองจากพระพุทธชินสีห์อยู่ในครอบแก้วมัดหวายผ่าซีก ทางด้านหน้าที่บริเวณฐานมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานอยู่
ส่วนที่ด้านหลังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระนามย่อ ญสส. และคติพจน์ ทนฺโต เสฎฺโฐ ตัวจม มีพลอยแดงฝังอยู่
ขนาดพิมพ์ใหญ่
ความกว้าง ๒๓.๕ ม.ม. ความสูง ๓๓.๕ ม.ม. ความหนา ๔.๙ ม.ม.
ขนาดพิมพ์เล็ก
ความกว้าง ๑๗.๒ ม.ม. ความสูง ๒๔.๙ ม.ม. ความหนา ๓.๙ ม.ม.
***มวลสารที่บรรจุในพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.***
เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ แบบหล่อพระทนต์ และชิ้นส่วนวัสดุอุดพระทนต์ ซึ่งเป็นมวลสารที่สำคัญ อีกทั้งยังทรงพระราชทานผงจิตรลดาอันเป็นมวลสารรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาของชาวไทยทั่วประเทศ มาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ครั้งนี้ ด้วยศรัทธาของทันตแพทย์และประชาชนทั่วไป จึงมีผู้บริจาคมวลสารอื่นๆ ที่นับว่าหายากยิ่ง ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ เพื่อนำมาผสมเป็นมวลสาร ซึ่งผู้ศรัทธาได้เก็บรักษามานาน คณะกรรมการฯ ได้นำมวลสารที่รวบรวมได้ทั้งหมดเข้าทูลถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก เพื่อทรงอธิษฐานจิตตลอดไตรมาส แล้วจึงนำมวลสารเหล่านี้มาผสมกับมวลสารหลัก เพื่อนำมาบรรจุในองค์พระที่จัดทำ โดยพระบูชาบรรจุในองค์พระใต้ฐาน พระกริ่งเจาะรูบรรจุพร้อมกับเม็ดกริ่งที่บริเวณใต้ฐาน ส่วนพระผงได้ผสมเข้ากับเนื้อพระ
*** การจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. แบ่งขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน***
1.พิธีทำสารละลายพระบรมทนต์ พิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระจายทุอณูของชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ถ่ายทอดไปยังพระทุกองค์ที่จัดสร้าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สารละลายพระบรมทนต์ถูกนำมาทำให้เป็นกลางและนำมาผสมกับผงพุทธคุณอื่นแล้วนำมาตากแห้ง กรองในตะแกรงแล้วผสมกับมวลสารอื่น เช่น ผงจิตรลดา พระทุกองค์ที่จัดสร้างจะมีอณูของชี้นส่วนพระทนต์อยู่ เพื่อคงไว้ซึงความศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์
2.พิธีเททองหล่อพระ
3.พิธีมหาพุทธาภิเษก
***พิธีมหาพุทธาภิเษก***
พิธีมหาพุทธาภิเษก ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญมากในการจัดสร้างพระ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ทรงพระเมตตารับเป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรงประทานในฤกษ์ ในวันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๓ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๑๙ นาที เป็นฤกษ์จุดเทียนชัย การจัดพิธีได้รับความร่วมมือจากกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง และที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิจารณาถึงพิธีและฤกษ์พิธีจะเห็นได้ว่า ความสมบูรณ์ของพิธีครั้งนี้นับได้ว่าฤกษ์ที่ดี เพราะฤกษ์ที่ทรงประทานเป็นฤกษ์เสาร์ห้า ถือว่าเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุดในการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแต่โบราณกาล ทั้งตรงกับวันมหาสงกรานต์ซึ่งเป็นวันอุดมมงคลของชาวไทย ประธานในพิธีคือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นองค์ประธานของพระพุทธศาสนา พิธีจัดทำในอุโบสถวัดวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์ เสมือนหนึ่งเป็นพระประธานในการปรก โดยมีเถระคณาจารย์จากทั่วทุกภาค ๕๔ องค์ ร่วมนั่งปรกในครั้งนี้
***รายนามพระสงฆ์ ผู้สวดภาณวสรในพิธีมหาพุทธาภิเษก***
พระครูประสิทธิพุทธมนต์
พระมหาถาวร
พระมหาจิรพล
พระมหาวงศ์ไทย
พระเสน่ห์
พระมหานิรันดร
พระมหาฉลอง
พระมหาเพชร
***รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมหาพุทธาภิเษก***
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
พระพรหมคุณาคุณาภรณ์ วัดสระเกศ กทม.
พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม กทม.
พระอุดมญาณโมลี วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
พระสุธรรมาธิบดี วัดราชาธิวาสวิหาร กทม.
พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระเทพวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระมงคลรัตนมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระมหานายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
***รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก***
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระอุดมสังวรเถระ (อุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์,หลวงพ่อเมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา
พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
พระราชพุทธิรังสี (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
พระราชสุพรรณนาภรณ์ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ (หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
พระครูสมุห์อวยพร (มาแทนหลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
พระสำอาง อนาลโย (มาแทนหลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
พระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) วัดเม็งรายมหาราช เชียงราย
พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
พระครูนิยุตธรรมวิถี (แบน) วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์
พระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ ตาก
พระมหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม กทม.
พระอาจารย์แว่น ธมมปาโล วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
พระครูพิศาลปัญโญภาส (คำดี) วัดป่าอรัญญิกาวาส นครพนม
พระอาจารย์วิโรจน์ ฐานวโร วัดห้วยเกษียรใหญ่ ปราจีนบุรี
ฯลฯ
ขอบพระคุณแหล่งที่มาของความรู้ครับ
: เอกสารคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และเว็บไซต์อุดมมงคลพระเครื่อง |
ราคาเปิดประมูล |
150 บาท |
ราคาปัจจุบัน |
550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ |
50 บาท |
วันเปิดประมูล |
พ. - 13 พ.ย. 2567 - 16:18:23 น. |
วันปิดประมูล |
พฤ. - 14 พ.ย. 2567 - 18:11:41 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล |
boom6449 (2.9K)
|