(0)
(-0-)
-หายาก เนื้อจัดๆ-250-พระผงพิมพ์นางพญา วัดอ่างทอง พ.ศ.2491 จ.อ่างทอง ผสมมวลสารสมเด็จเกศไชโย ที่ชำรุด
รายงานผลโหวต
จากรูปพระแท้
0%
[0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง
0%
[0]
จากรูปพระเก๊
0%
[0]
พระดูยากจากรูป
0%
[0]
จำนวน
โหวต
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ผู้โหวตจะต้องโหวตพระแท้หรือเก๊พร้อมทั้งเหตุผลในการโหวตแท้เก๊เท่านั้น
ห้ามสมาชิกแสดงว่าคิดเห็นอื่นๆ
มิฉะนั้นท่านจะถูกพิจารณาตามกฏกติกาการโหวต
จากรูปพระแท้
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง
จากรูปพระเก๊
พระดูยากจากรูป
ความคิดเห็น :
กรุณารอสักครู่...
ชื่อพระเครื่อง
-หายาก เนื้อจัดๆ-250-พระผงพิมพ์นางพญา วัดอ่างทอง พ.ศ.2491 จ.อ่างทอง ผสมมวลสารสมเด็จเกศไชโย ที่ชำรุด
รายละเอียด
วัดอ่างทองวรวิหาร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัดอ่างทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่บริเวณข้างศาลากลางจังหวัดอ่างทอง เดิมเป็นวัดเล็กๆ 2 วัด ชื่อวัดโพธิ์เงินและวัดโพธิ์ทอง
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ.2443 สมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จทางชลมารคผ่านวัดทั้งสองนี้ จึงโปรดฯ
ให้รวมวัดสองวัดเป็นวัดเดียวกัน และพระราชทานนามว่า วัดอ่างทอง
พระพิมพ์ของวัดอ่างทองวรวิหาร มีห้าทรงพิมพ์ คือ
1. พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้นอกวี
2. พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้นไหล่ตรง
3. พิมพ์ขุนแผน
4. พิมพ์อู่ทอง
5. พิมพ์นางพญา
สำหรับพิมพ์อู่ทองและพิมพ์นางพญา แกะเป็นรูปหลวงพ่อทอง ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใช้แม่พิมพ์
เดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนกรอบกระจกเท่านั้น พระทั้ง 5 พิมพ์ใช้แม่พิมพ์ทองเหลือง ซึ่งสั่งทำพร้อมกับแม่พิมพ์
พระพิมพ์ที่ระลึกของวัดไชโยวรวิหาร
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
เพื่อให้เป็นที่ระลึกในการบูรณะพระอุโบสถของวัดอ่างทองวรวิหารและเป็นพระประจำวัดของทั้งสองวัด สร้างพร้อมกับพระพิมพ์ที่ระลึกแห่งชาตกาล ครบรอบ 160 ปี ในปี พ.ศ.2491 ที่จะมาถึง จึงเริ่มสร้างพระพิมพ์ทั้งสองวัดพร้อมกัน ราวเดือนมีนาคม พ.ศ.2491 เพื่อให้พิมพ์ทั้งหมดถึงแดดในหน้าแล้ง (คือการตากพระให้แห้ง
สนิท ในฤดูร้อนและฤดูหนาว)
มวลสารที่ใช้ในการสร้าง ใช้พระสมเด็จเกษไชโย ของสมเด็จฯโต ที่ชำรุดนำมาบดรวมกับมวลสารอื่น ๆ ตาม
กรรมวิธี โดยวัดไชโยวรวิหารเป็นผู้ทำการผสมเนื้อหา ซึ่งในการสร้างพระแต่ละครั้งต้องใช้กำลังคนมาก พระ
เณร ที่ต้องศึกษาพระธรรมวินัย ชาวบ้านต้องประกอบสัมมาอาชีพ เด็กวัด ก็ต้องเรียนหนังสือ เมื่อได้เนื้อหา
ตามความต้องการ ก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับวัดไชโยวรวิหาร 1 ส่วน ของวัดอ่างทองวรวิหาร 1 ส่วน เนื้อหายุคแรก ๆ จะออกวรรณเหลืองนมข้น ส่วนผสมครั้งต่อ ๆ มา จะออกเหลืองอ่อน ถึงขาวนวล เข้าพิธี
พุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดไชโยวรวิหาร ราวต้นปี พ.ศ.2490 เพื่อให้ทันงานฉลองเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระ
ราชาคณะชั้นเทพและทำบุญอายุครบ 64 ปี ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ ที่จะมาถึงใน
ไม่กี่เดือนข้างหน้า สำหรับพระพิมพ์ของวัดไชโยวรวิหาร ได้ออกให้เช่าบูชา ในปี พ.ศ.2491 ในวาระครบรอบ 160 แห่งชาตะกาลของสมเด็จ ฯ โต
ต่อมาราวปี พ.ศ.2495 ช่วงฤดูน้ำ เกิดน้ำเซาะตลิ่งหน้าวัดพัง ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล
โสภโชติเถระ(วร อินทรสมบูรณ์) เจ้าอาวาสสมัย นั้น ได้ดำริที่จะสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งหน้าวัดไชโยวรวิหาร ให้แล้ว
เสร็จภายในปี พ.ศ.2496 ก่อนที่ฤดูน้ำหน้าที่จะมาถึงอีก แต่เนื่องจากเหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคล ที่จัดสร้างไว้
ลดจำนวนลง ไม่เพียงพอที่จะหาปัจจัย พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ สุนธรมหาเถระ (แผ้ว
อัมพชาติ) ท่านได้ปรารภต่อท่านเจ้าคุณพระมหาพุธพิมพาภิบาล โสภโชติเถระ(วร อินทรสมบูรณ์) ซึ่งหลวงปู่วร
มีอายุและกาลพรรษา มากกว่า 2 ปี ว่ามีความประสงค์ขอให้ทางวัดไชโยวรวิหาร จัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหารายได้ในการสร้างเขื่อน ทางวัดไชโยวรวิหาร จึงได้จัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นอีกครั้งราวปี 2498 โดยใช้แม่พิมพ์เดิมทั้งหมด วรรณจะออกขาวนวล ถึง ขาว และเข้าพิธีพุทธาภิเษก ราวต้นปี พ.ศ.2500
(นี่คือที่มาของเขื่อนเหลือง และ เขื่อนขาว ของวัดไชโยครับ) และนำออกให้เช่าบูชา ในวาระครบรอบ 170 ปี
แห่งชาตะกาลของสมเด็จฯ โต ท่าน ในปี พ.ศ.2501
ขอขอบคุณข้อมูล...จาก คุณ ว._อ่างทอง
ราคาเปิดประมูล
200 บาท
ราคาปัจจุบัน
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
เพิ่มขึ้นครั้งละ
50 บาท
วันเปิดประมูล
ศ. - 15 พ.ย. 2567 - 09:22:19 น.
วันปิดประมูล
จ. - 25 พ.ย. 2567 - 09:22:19 น. (เหลือเวลา 12 ชั่วโมง 46 นาที)
ผู้ตั้งประมูล
คอปแมน
(
45.1K
)
(0)
ราคาปัจจุบัน :
200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :
50 บาท
!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!
(0)
ประวัติการเสนอราคา
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
Copyright ©G-PRA.COM
www1