(0)(-0-)
รูปหล่อลอยองค์นั่งเสือรุ่นแรก หลวงพ่อเที่ยง วัดพระพุทธบาทเ ข ากระโดง จ.บุรีรัมย์ ใต้ฐานอุดกริ่ง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง รูปหล่อลอยองค์นั่งเสือรุ่นแรก หลวงพ่อเที่ยง วัดพระพุทธบาทเ ข ากระโดง จ.บุรีรัมย์ ใต้ฐานอุดกริ่ง
รายละเอียด ประวัติ
หลวงพ่อเที่ยง (พระครูสัจจานุรักษ์ ปภังกโร)
เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง. เจ้าคณะตำบลเสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
สถานะเดิม
ชื่อ เที่ยง อารมณ์ เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเส็ง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 บิดาชื่อนาย เสด มารดาชื่อ นางมั่น อารมณ์ บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 12 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
บรรพชาอุปสมบท
วันเสาร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2513 วัด อิสาน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จนถึงวันนี้ 39 พรรษา อายุ 68 ปี
หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร เป็นชาวบุรีรัมย์โดยกำเนิด ท่านเรียนจบแค่ประถมปีที่ 4 จากนั้นก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนามาตลอด ช่วงชีวิตในวัยรุ่นไม่ค่อยมีอะไรผาดโผนเท่าไรนัก เพราะเป็นคนขยันทำมาหากินอย่างเดียว


กระทั่งอายุ 29 ปี ท่านจึงเข้าอุปสมบทที่วัดอีสาน โดยมีพระเมธีธรรมาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อบุญมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อจำรัส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทเขากระโดง หลวงพ่อเที่ยง ศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานอยู่หลายปี จนเชี่ยวชาญเสมอด้วย หลวงพ่อบุญมาทีเดียว ซึ่งได้รับการแนะนำว่า ถ้าจะบรรลุถึงธรรมปฏิบัติที่แท้จริงแล้วจะต้องออกธุดงค์ เพื่อหาความวิเวกฝึกจิตสมาธิให้กล้าแข็ง ท่านจึงออกเดินธุดงค์จาริกหาความวิเวกไปตามป่าดงดิบทั้งไทย พม่า และเขมร
ต่อมา หลวงพ่อบุญมาถึงแก่มรณภาพ.......ท่านได้เดินทางกลับมาเพื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับศพของหลวงพ่อบุญมา และพระอธิการบุญเย็น พระอาวุโสในวัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา
หลังจากนั้น หลวงพ่อเที่ยงก็ออกธุดงค์อีก คราวนี้ขึ้นไปทางเหนือ จุดหมายปลายทางคือ ฝั่งเมียวดี ประเทศพม่า ท่านผ่านทางแม่สอด จ.ตาก แล้วข้ามฟากมุ่งสู่ยอดดอย "ลิ้นกี่" ฝั่งเมียวดี แล้วเข้ากรรมฐานรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบปี
และวันหนึ่ง ท่านใด้พบกับพระลาวรูปหนึ่งชื่อว่า หลวงมหาตันอ่อน เป็นพระเถระจากเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในคาถาอาคม ออกธุดงค์มานับสิบ ๆ ปีแล้ว ท่านทั้งสองได้แลกเปลี่ยนวิทยาคม และความรู้ด้านปฏิบัติสมถะสำหรับในด้านคาถาอาคมนั้น พระมหาตันอ่อนก็เปรียบเสมือนครูอีกคนหนึ่งของหลวงพ่อเที่ยง ท่านได้สั่งสอนวิทยาคมต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อเที่ยงอย่างไม่ปิดบัง กระทั่งใก้ลเข้าพรรษา ท่านทั้งสองก็ต้องแยกจากกันเพื่อหาที่พักจำพรรษารับอนิสงส์ตามประเพณี พอออกพรรษา หลวงพ่อเที่ยงก็แบกกลดคู่ชีพธุดงค์มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหารเพื่อบำเพ็ญเพียรสร้างสมบารมี
ที่เขาพระวิหารนี้ ท่านได้พบกับพระเถระของเขมรระดับเกจิหลายรูปด้วยกัน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์รับการถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ อย่างเต็มที่ หลวงพ่อเที่ยงธุดงค์เข้าไปในเขมรพร้อมกับพระอาจารย์อุทัยเพื่อนสหธรรมมิก พบกับพระเกจิอาจารย์ขมังเวทชาวเขมรได้รับความเมตาสั่งสอนถ่ายทอดวิทยาคมต่าง ๆ อย่างไม่ปิดบัง จนสำเร็จอภิญญาทางอิทธิฤทธิ์ หรือสมถกรรมฐานนั่นเอง ท่านรอนแรมธุดงค์อยู่ในป่าเสียมากก่วาจะอยู่ในเมือง พยายามที่จะทำวิปัสสนาธุระให้ได้ และศึกษาความรู้จากพระอาจารย์ต่าง ๆ นั่นเอง.....
ราคาเปิดประมูล 500 บาท
ราคาปัจจุบัน -- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
เพิ่มขึ้นครั้งละ 50 บาท
วันเปิดประมูล อา. - 17 พ.ย. 2567 - 21:27:13 น.
วันปิดประมูล อ. - 26 พ.ย. 2567 - 21:27:13 น. (เหลือเวลา 3 วัน 19 ชั่วโมง 33 นาที)
ผู้ตั้งประมูล พรรณราณย์ (1.1K)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --


Copyright ©G-PRA.COM
www1