(0)(-0-)
เหรียญพระแก้วมรกต วัดศรีรัตนศาสดาราม ปีพ.ศ. 2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) " บล็อคลึก"เนื้อทองแดง สวยแดง เดิม เดิม






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระแก้วมรกต วัดศรีรัตนศาสดาราม ปีพ.ศ. 2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) " บล็อคลึก"เนื้อทองแดง สวยแดง เดิม เดิม
รายละเอียด เหรียญพระแก้วมรกต วัดศรีรัตนศาสดาราม ปีพ.ศ. 2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี) " บล็อคลึก"เนื้อทองแดง สวยแดง เดิม เดิม

รายละเอียด เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ.2475 (สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี)
( เอาไปใช้ ของดี พระคู่บ้านคู่เมือง กับ เกจิยุคเก่าพ.ศ.ลึกๆ )
จากใบประกาศบอกบุญในการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ.2473 บ่งบอก ให้ทราบว่า การดำเนินการจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตนั้น มีการดำเนินการ ในช่วงระยะก่อน จะทำการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และได้เปิดให้ประชาชน ได้ร่วมสมทบทุนร่วม บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ.2473 ดังปรากฏข้อความ ในใบประกาศบอกบุญว่า
โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้
1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง.......
อย่างไรก็ตามประกาศระเบียบการรับเงินเรี่ยไรการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอรัษฏากรพิพัฒน์ 16 กันยายน พ.ศ.2473 ยังได้กล่าวไว้ว่า
ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ
เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เป็นเหรียญปั๊มพิมพ์กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้าเหรียญ ภายในซุ้มเรือนแก้วเป็นรูป พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และดอกไม้อยู่โดยรอบ
ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8
ที่ริมขอบเหรียญด้านหลังบางเหรียญ จะมีชื่อผู้ผลิตดังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.
นอกจากนั้นยังมี เหรียญพระแก้วมรกต อีกแบบหนึ่งซึ่งพบเห็นกันน้อยมาก เป็นเหรียญกลม มีหูเชื่อม ลักษณะพิมพ์ด้านหน้า เหมือนกับเหรียญ พระแก้วมรกตที่ได้กล่าวไปแล้ว หากแต่ในส่วนของด้านหลัง จะมีความแปลก ต่างไปจากกัน คือ เป็นข้อความอักษรเรียงกัน 5 บรรทัด ว่า ที่ระฤก ในงานฉลอง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ อักษรมีทั้งแบบตัวนูน และแบบตัวลึกลงไปในเนื้อเหรียญ พบเห็นมี 2 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อเงิน และ ทองแดงกะไหล่ทอง เหรียญพิมพ์นี้
สำหรับ เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี บล็อกที่สั่งทำจาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอักษรบ่งบอกอยู่ที่ด้านหลังเหรียญไว้ว่า Georges Hantz Geneve U.G.D. หรือที่นักสะสมพระเครื่องเรียกกันว่า "บล็อกนอก" เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีมูลค่าการสะสมสูงกว่าเหรียญ "บล็อกใน"
ผมวางรายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในยุคนั้นขึ้นใหม่จากที่ตนเองพอจะรู้จักไม่ได้เรียงลำดับครับแต่ ( อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานวัดพระแก้ว )
รายนามคณาจารย์ร่วมปลุกเสก มีดังนี้

- พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร
- สมเด็จพระวันรัต ( แพ ตสสเทโว ) วัดสุทัศน์
- หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
- หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
- หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
- หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สุมทรสงคราม
- หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
- หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
- หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
- หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
- หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง พิจิตร
- หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
- หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
- หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
- หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
- หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
- หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์
- หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
- หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
- หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
- หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ
- หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
- เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
- หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
- หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
- หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
- หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
- หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
- หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
- หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
- หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
- หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
- หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
- หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
- พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์
- หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
- ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 1,600 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 20 บาท
วันเปิดประมูล จ. - 18 พ.ย. 2567 - 07:29:33 น.
วันปิดประมูล พฤ. - 28 พ.ย. 2567 - 07:29:33 น. (เหลือเวลา 4 วัน 4 ชั่วโมง 1 นาที)
ผู้ตั้งประมูล ammoniamotion (793)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Chansri1 (575)(1) 200 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 08:11:37 น.
  Tida_A (546) 1,000 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 08:20:49 น.
  แป้นบ่อทอง (393) 1,020 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 08:33:57 น.
  หนึ่งในสยาม (1.7K) 1,100 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 10:55:31 น.
  tontot1551 (780) 1,120 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 15:26:23 น.
  supatk (1.2K) 1,200 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 15:37:08 น.
  supatk (1.2K) 1,300 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 15:37:23 น.
  บรีสพระช่วย (2.7K) 1,500 บาท จ. - 18 พ.ย. 2567 - 15:37:38 น.
  Funfun27 (771) 1,520 บาท พฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 00:19:00 น.
  win14 (1K) 1,600 บาท ศ. - 22 พ.ย. 2567 - 13:58:58 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1