(0)
เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย รุ่น 2 ปี 2518 วัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร (ตอกโค๊ต อร) สภาพสวยมากไม่ผ่านการใช้ค่ะ แดงวัดใจ 120






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย รุ่น 2 ปี 2518 วัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร (ตอกโค๊ต อร) สภาพสวยมากไม่ผ่านการใช้ค่ะ แดงวัดใจ 120
รายละเอียด พระรุ่นนี้ปลุกเสกโดยพระเกจิชั้นนำหลายท่านด้วยกัน เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ฯลฯ สภาพนี้หายากแล้วค่ะพุทธคุณเยี่ยม หารุ่นแรกไม่ได้ใช้รุ่นนี้แทนได้ค่ะ

หลวงพ่อโบสถ์น้อย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์ศิทธิ์สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย วัสดุทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒๒ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๒๑ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถน้อย วัดอมรินทราราม วรวิหาร

หลวงพ่อโบสถ์น้อยไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิม หลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นไม่ ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและ อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้าง ขวางใหญ่โต ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะ สมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีขนาดยาวถึง ๔ ห้อง

ครั้นต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสาย ใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐมมีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทรารามตรงปากคลองบางกอกน้อยถูกตัดตอนเป็น ทางรถไฟ วางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัดจนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง ๓ ห้อง เท่านั้น ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “โบสถ์น้อย” และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย” ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป กล่าวคือ เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้นเมื่อส่อง กล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น จนนายช่างฝรั่งไม่สามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้ เห็นในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเพลิงเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานี รถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกันจึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่ง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบๆ พระอุโบสถ ในส่วนของเชิง ชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์ และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ตกลงมารอบพระอุโบสถ ครั้งนี้ เป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อย ไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว

เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถาน ต่างๆ ให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทน ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ พระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเรียกกันว่า “โบสถ์น้อย” นั้น ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม และในส่วน การซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปนั้น ทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมา เพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยให้คงเค้า พระพักตร์เดิมไว้ เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านชางหล่อมาหลายท่าน เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนิน การปั้นพระเศียรหลวงพ่อขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงเห็นควรให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบในการปั้นพระเศียร เนื่องจากเป็นผู้ที่เคย อุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษา จึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำ การฉาบปูนลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกันเมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภช

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นจะจัดในเดือนเมษายน (ราวกลางเดือน ๕) แต่ในปัจจุบัน กำหนดให้วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีของหลวงพ่อโบสถ์น้อย เพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าว ได้เกิดเหตุการณ์ สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อยถูกภัยทางอากาศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 1,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 20 บาท
วันเปิดประมูล อ. - 19 พ.ย. 2567 - 12:51:35 น.
วันปิดประมูล พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:13:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล Jazpearls (394)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    p_pegkyman (1.5K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Narathip51 (170)(1) 120 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 13:07:11 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)
  jejoe (285) 300 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 13:17:58 น.
  Narathip51 (170)(1) 300 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 13:17:58 น. (Auto bid)
  Buncha (19.1K) 320 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 13:23:10 น.
  แป๊ะดำเนิน (2.5K)(1) 340 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 14:28:41 น.
  jaijongrak (2.1K)(1) 360 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 15:49:48 น.
  เจ่กเตี้ย (4.6K) 500 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 17:07:17 น.
  jaijongrak (2.1K)(1) 520 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 17:07:17 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 540 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 18:10:00 น.
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 560 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 18:32:18 น.
  จอมเดช (783) 580 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 19:52:29 น.
  joeenok (6.8K) 600 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 20:52:30 น.
  glubglai (1.3K) 620 บาท อ. - 19 พ.ย. 2567 - 22:31:43 น.
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 700 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:07:08 น.
  glubglai (1.3K) 700 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:07:08 น. (Auto bid)
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 720 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:07:22 น.
  p_pegkyman (1.5K) 740 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:09:23 น.
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 760 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:09:23 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 800 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:09:34 น.
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 800 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:09:34 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 820 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 08:09:46 น.
  p_pegkyman (1.5K) 900 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 09:05:28 น. (Auto bid)
  ทนันชนก (152) 920 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 09:05:28 น.
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 960 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 09:31:24 น.
  ทนันชนก (152) 980 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 09:31:24 น. (Auto bid)
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 1,000 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 09:31:51 น.
  ทนันชนก (152) 1,000 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 09:31:51 น. (Auto bid)
  เจ่กเตี้ย (4.6K) 1,020 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 10:46:51 น.
  p_pegkyman (1.5K) 1,100 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 11:31:13 น.
  เจ่กเตี้ย (4.6K) 1,100 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 11:31:13 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 1,120 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 11:31:30 น.
  ชุ้งอุดมสุข (6.8K) 1,160 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 12:48:31 น.
  p_pegkyman (1.5K) 1,180 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 12:48:31 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 1,200 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:00:34 น. (Auto bid)
  glubglai (1.3K) 1,220 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:00:34 น.
  หมวดสไปร์999 (1.4K) 1,300 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:05:48 น.
  glubglai (1.3K) 1,300 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:05:48 น. (Auto bid)
  หมวดสไปร์999 (1.4K) 1,320 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:06:20 น.
  glubglai (1.3K) 1,340 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:06:20 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 1,400 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:06:50 น.
  glubglai (1.3K) 1,400 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:06:50 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 1,420 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:07:10 น.
  glubglai (1.3K) 1,500 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:07:28 น.
  p_pegkyman (1.5K) 1,500 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:07:28 น. (Auto bid)
  glubglai (1.3K) 1,520 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:08:16 น.
  glubglai (1.3K) 1,580 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:08:38 น. (Auto bid)
  p_pegkyman (1.5K) 1,600 บาท พ. - 20 พ.ย. 2567 - 13:08:38 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1