(0)
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว" วัดนางสาว สมุทรสาคร พร้อม บัตร
ชื่อพระเครื่อง
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว" วัดนางสาว สมุทรสาคร พร้อม บัตร
รายละเอียด
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว" วัดนางสาว สมุทรสาคร พร้อม บัตร
ของดีทรงคุณค่าแห่งเมืองสมุทรสาคร พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว ติสฺสสุวณฺโณ วัดนางสาว อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร สุดยอดของดีพิธีใหญ่ ด้วยอายุการสร้างเกือบร้อยปี
พระปิดตารุ่นนี้สร้างขึ้นในคราวหล่อองค์พระประธาน นามว่า หลวงพ่อดำ วัดนางสาว เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๔ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมงานและสละทรัพย์ในการหล่อพระครั้งนั้น
พระหล่อโบราณรุ่นนี้ มี ๓ พิมพ์ คือ ๑. พิมพ์พระปิดตา ๒. พิมพ์สมาธิปรกโพธิ์ และ ๓.พิมพ์พระพุทธชินราช ทั้ง ๓ พิมพ์นี้จำนวนสร้างไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า บอกว่า จำนวนพระที่สร้างแต่ละพิมพ์มีเกือบเต็มบาตรพระถึง ๓ ลูก
พิธีพุทธาภิเษก หลวงพ่อแก้ว ได้นิมนต์ พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) วัดกลางบางแก้ว เจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี เป็นประธานในพิธี เนื่องจาก หลวงพ่อแก้ว มีความเคารพนับถือหลวงปู่บุญมาก อีกทั้งชาติภูมิเดิมของหลวงปู่บุญ เป็นชาว ต.ท่าไม้ (หรือ อ.กระทุ่มแบน ในปัจจุบัน) มาก่อน
นอกจากนี้ ยังมีพระเถราจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในพิธีนี้อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน, พระวินัยธร (บัว) วัดกลางอ่างแก้ว, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงปู่แขก วัดบางปลา, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ฯลฯ
พุทธลักษณะพิมพ์พระปิดตา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง องค์พระประทับอยู่บนอาสนะบัวสองชั้น มีเม็ดโพธิ์ทรงกลมอยู่ทั้งด้านซ้ายและขวาขององค์พระ ด้านหลังเรียบ ปรากฏรอยตะไบแต่งหลังและด้านข้างทั้ง ๔ ด้าน
กรรมวิธีการหล่อพระชุดนี้ หล่อแบบเทเป็นแผ่นประกบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายกับการทำขนมเปียกปูน จากนั้นช่างหล่อได้ตัดแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมทุกองค์ แตกต่างจากการเทหล่อพระของสำนักอื่น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมหล่อแบบเป็นก้านช่อ
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว
วัดนางสาว เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา มีอายุมากกว่า ๔๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร มีเรื่องเล่าว่า มีชาวไทยกลุ่มหนึ่งอพยพหนีภัยสงครามพม่า มาอาศัยวัดร้างแห่งนี้ พม่าได้ติดตามมาทัน จนเกิดการสู้รบกันขึ้น โดยชายไทยฉกรรจ์เข้าต่อสู้กับทหารพม่า ส่วนเด็ก ผู้หญิง และคนชรา พาหลบหนีเข้าไปอยู่ในโบสถ์เก่าหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นโบสถ์มหาอุด ไม่มีหน้าต่าง มีเพียงประตูเข้าทางเดียว มีผู้หญิง ๒ คนซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโบสถ์ว่า หากรอดพ้นจากภัยอันตรายครั้งนี้ได้ จะบูรณะโบสถ์หลังนี้ และเสนาสนะต่างๆ ในวัดนี้ให้ดีขึ้น ปรากฏว่าการสู้รบชายฉกรรจ์ชาวไทยชนะทหารพม่า ทุกคนที่หลบซ่อนอยู่ในโบสถ์มหาอุดต่างปลอดภัย
ต่อมา พี่น้องสองสาวจึงคิดที่จะบูรณะโบสถ์และวัดตามที่ได้อธิษฐานไว้ แต่คนพี่เห็นว่าเป็นโบสถ์เก่ายากการแก่การบูรณะ จึงได้ไปสร้างวัดขึ้นใหม่อีก ชื่อว่า วัดกกเตย แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดพี่สาว ส่วนหญิงคนน้องได้ครองตัวเป็นโสด ได้บูรณะโบสถ์และวัดร้างดังกล่าว ตามที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้จนสำเร็จ ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ว่า วัดพรหมจารีราม แต่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า วัดน้องสาว ต่อมาได้เพี้ยนกลายเป็น วัดนางสาว จนถึงทุกวันนี้ เป็นโบสถ์มหาอุด คือ ไม่มีหน้าต่าง และมีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียว โบราณาจารย์นิยมใช้เป็นสถานที่เหมาะแก่ปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง จะทำให้มีอานุภาพทางมหาอุด แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรี
เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ หลวงปู่แก้ว เจ้าอาวาสวัดนางสาว ได้ทำพิธีเททองหล่อพระประธาน เพื่อประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่ ที่กำลังก่อสร้างขึ้น พร้อมกับหล่อพระเครื่องอีก ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์พระพุทธชินราช, พิมพ์หลวงพ่อโต (ปางสมาธิปรกโพธิ์) และพิมพ์ปิดตามหาอุด ด้วยเนื้อโลหะผสมชนิดเดียวกับที่หล่อพระประธาน เป็นการเททองหล่อแบบโบราณ โดยได้นิมนต์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ (สมัยนั้น วัดนางสาว ขึ้นอยู่กับมณฑลนครชัยศรี) พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้นร่วมนั่งปรกปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด, หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน, หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี, พระอาจารย์พา วัดระฆังฯ, หลวงปู่แก้ว วัดนางสาว ฯลฯ (มีผู้ให้ความเห็นว่า พระหล่อโบราณ ทั้ง ๓ พิมพ์ เป็นฝีมือช่างคนเดียวกับที่แกะแม่พิมพ์ เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ และที่สำคัญ ฎีกา (หนังสือ) ที่หลวงปู่แก้ว วัดนางสาว ที่นิมนต์หลวงปู่บุญ ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็น ประธานคณะกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี" เป็นประธานในพิธีหล่อพระที่วัดนางสาว ปี ๒๔๖๔ นั้นยังเก็บรักษาไว้ในตู้กระจกที่พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว จนถึงทุกวันนี้)
พระปิดตามหาอุด วัดนางสาว พิมพ์ปรกโพธิ์ หล่อโบราณ มีขนาดกว้างประมาณ ๑.๕ ซม. ยาวประมาณ ๒.๕ ซม. รวมทั้ง พระพิมพ์หลวงโตสมาธิปรกโพธิ์ และพระพิมพ์ชินราช ที่สร้างในคราวเดียวกันนี้ ก็มีขนาดเท่ากัน กรรมวิธีการสร้าง เป็นการเททองแบบโบราณ โดยมีแม่พิมพ์เป็นแผ่นแบบพระแผง มีแม่พิมพ์องค์พระหลายๆ องค์ เมื่อเนื้อโลหะเย็นลงแล้วจึงมีการตัดแบ่งออกเป็นองค์ๆ จุดสำคัญของพระพิมพ์นี้ คือ หากดูด้านข้างจะเห็น เนื้อพระเป็น ๒ ชั้น ทุกวันนี้มี ของปลอม ออกมาหลายฝีมือ ส่วนใหญ่จะไม่มีเนื้อพระ ๒ ชั้นดังกล่าว แต่มีรอยตะไบ ซึ่งหากมีการเลี่ยมพลาสติกก็จะมองไม่เห็นจุดสำคัญนี้
พระวัดนางสาว หล่อโบราณ ทั้ง ๓ พิมพ์กำลังเป็นที่สนใจของนักสะสมพระเครื่องในวงกว้าง จากอดีตที่เช่าหากันที่หลักพันปลายๆ ถึงหลักหมื่นเศษ ชั่วโมงราคาขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีความเก่าถึง ๙๒ ปี ประกอบกับพระเกจิอาจารย์แต่ละท่านที่นั่งปรกปลุกเสกพระรุ่นนี้ก็ล้วนเป็นเจ้าของพระหลักแสนขึ้นไปทั้งนั้น จึงนับว่า พระวัดนางสาว หล่อโบราณ ทั้ง ๓ พิมพ์นี้ควรค่าแก่การนิมนต์ขึ้นคอเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ มี พระปลอม มากกว่า พระแท้ ผู้สนใจจึงต้องหาเช่าจากผู้ที่เชื่อถือได้ และมีหลักประกัน พระแท้ ให้ด้วย
ขอขอบพระคุณ คุณฐกร บึงสว่าง ผู้บริหาร บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง ผู้เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูล
ราคาเปิดประมูล
28,400 บาท
ราคาปัจจุบัน
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
(!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ
100 บาท
วันเปิดประมูล
อ. - 19 พ.ย. 2567 - 22:57:26 น.
วันปิดประมูล
อ. - 26 พ.ย. 2567 - 22:57:26 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล
Atta77
(
515
)
(
1
)
(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1
อ. - 19 พ.ย. 2567 - 22:57:41 น.
****
ราคาปัจจุบัน :
28,400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :
100 บาท
!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!
(0)
ประวัติการเสนอราคา
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
Copyright ©G-PRA.COM
www1