รายละเอียด |
ปี พ.ศ.2514 หลวงปู่เผือก พระปรมาจารย์แห่งวัดสาลีโขภิตาราม ได้คำนวณฤกษ์เห็นควรประกอบมหาพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด สืบเนื่องมาแต่ มหาฤกษ์ ที่ยากจะเกิดขึ้นในแต่ละคราว นั่นคือ "ฤกษ์มหาจักรจตุรงคสันนิบาต
อันได้แก่ ดาวจันทร์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวราหู ต่างเคลื่อนเข้าสถิตอยู่ในองค์เกณท์ราศีอันเป็น มหาจักร แห่งตน และจะปรากฎถึง 4 วาระด้วยกันตลอดไตรมาสพรรษาปี 2514 ซึ่งเหตุการณ์นี้ ทุก 200 ปีจะเกิดมีขึ้นครั้งหนึ่ง
วาระมหามงคลที่จะ ถึงนั้น บรรดาผู้รู้ทั้งหลายไม่อาจปล่อยให้หลุดลอยได้ หลวงพ่อสาลีโขจึงกำหนดการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สมเวลาที่รอคอย ทั้งยังปรารถนาให้เป็น ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต ของท่านทีเดียว
การสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อสาลีโขนั้นไม่เลยแม้สัก ครั้งเดียวที่จะใช้โลหะเปล่า ท่านเพียรพยายามยิ่งในการจารอักขระเลขยันต์สำคัญครอบคลุมสรรพวิชาทั้งมวลลง ในแผ่นโลหะ เน้นหนักในทุกๆสายวิชาทั้งคงกระพัน มหาอุด ชาตรี กำบังตน มหาลาภ มหานิยม เมตตา แคล้วคลาด กันภัยกันคุณไสย กันภูตผี
วิชาเหล่านี้ท่าน เพียรจารเสกเป่า แต่ละอักขระแต่ละพระยันต์ ท่านจะบรรจงเขียนอย่างสวยงาม ปลุกเสกและลงถม นำไปหลอมเอามาลงใหม่ ซับซ้อนเช่นนี้อย่างน้อย ถึง 3 วาระด้วยกัน กระทั่งคราวหลอมเพื่อรีดปั๊มเหรียญ ช่างถึงกับตะลึงเมื่อแผ่นทองวิ่งวนอยู่ในเบ้าหลอม ไม่ยอมละลาย ได้ตักเก็บไว้เป็นหลักฐานจำนวนหลายสิบแผ่น
แผ่นทองชนวนนับสิบกิโล แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และวิริยะอุตสาหะ อันหาได้ยากในพระอาจารย์สมัยปัจจุบัน ไม่ควรแปลกใจเลยที่บังเกิดปาฏิหาริย์แผ่นทองไม่ละลายเพราะ ปราณ ที่ท่านเป่าประจุย่อมสถิตแนบแน่นอยู่ในทุกอณูแผ่นทอง จนโลหะธาตุธรรมชาติทั้งมวลถูกแปรสภาพเป็น ธาตุสำเร็จ จากการตั้งธาตุ ปรุงธาตุ และหนุนธาตุทั้ง 4 ขึ้นมาจากจิตที่ทรงอภิญญา
เฉพาะ เตโชกสิณ นั้น ท่านเชี่ยวชาญถึงขีดสุด
มงคล วัตถุที่สร้างประกอบด้วย พระพุทธรูปสุโขทัย หน้านาง ขนาด 9 และ 5 นิ้ว พระพุทธนาคปรก ขนาด 9, 5 นิ้ว, พระสังกัจจายน์ ขนาด 9 นิ้ว, รูปหล่อหลวงปู่เผือก ขนาด 9 , 5 นิ้ว , พระนาคปรกแขวนคอ, รูปหล่อหลวงปู่เผือกขนาดแขวนคอ, เหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 พิมพ์ใหญ่ เล็ก, เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อสาลีโข รุ่น 2 ชนวนมวลสารทั้งหมดถูกนำมาประกอบพิธีปลุกเสกในวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 18.00 น. โดยพระคณาจารย์มากมาย มีหลวงปู่เผือกประทับทรง หลวงพ่อสาลีโขเป็นประธาน เมื่อแล้วเสร็จได้จุณเจิมสรรพวัสดุด้วยกระแจะหอม และสวดหนุนด้วยพระพุทธมนต์พิเศษ คือ บทยานี , บทภาณวาร , บทคาถาพัน และอิติปิโสรัตนมาลา ก่อนจะนำแผ่นโลหะทั้งปวงมาหล่อหลอมเป็นชนวนสัมฤทธิ์เพื่อนำไปสร้างเป็นองค์ พระต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 10.08 น. เป็นกำหนดจุดเทียนชัยในพิธีเททอง และเริ่มทำพิธีพุทธาภิเษก วันนี้หลวงพ่อสาลีโขถือเป็นวันสำคัญที่สุดของงาน เพราะเป็นการเชิญชนวนสัมฤทธิ์เข้าสู่เบ้าหลอมหล่อรวมกับโลหะมงคลอื่นๆ แล้วเททองลงหุ่นให้สำเร็จเป็นองค์พระ จากนั้นจึงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ยังเบ้าหลอม
ครั้นทุบหุ่นดินออกก็ อัญเชิญพระปฏิมาลงชุบน้ำศักดิ์สิทธ์จากสถานที่สำคัญเช่น น้ำสรงพระบรมธาตุ , น้ำเมืองเพชร, น้ำสระแก้ว, น้ำบ้านบางปืน ฯลฯ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพานเชิงใบใหญ่เคล้าคละประโปรบด้วยเครื่องหอม กระแจะจันทน์ พร้อมด้วยการเรียกสูตรตั้งนามให้เป็นสิริ ท่ามกลางพิธีมหาพุทธปรมาภิเษก พระมหานาคทั้งสี่เจริญบทมหาจักรพรรดิราช และบทพุทธาภิเษก โดยมีรายนามพระมหาเถระผู้ทรงรัตตัญญู ภาพเข้าร่วมพิธี ดังนี้
1. พระภัทรมุกมุนี (ชิต) วัดเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์
2. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย สุพรรณบุรี
3. หลวงพ่อกุหลาบ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ นนทบุรี
4. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
5. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
6. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ พระนคร
7. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
8. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
9. หลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
11. หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ ธนบุรี
12. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
13. หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย สุโขทัย
14. หลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
15. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
16. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
17. พระครูเมธีวรานุวัตร วัดมหาธาตุ พระนคร
18. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
19. หลวงพ่อจัน วัดสระเกษ พระนคร
20. หลวงพ่อสั้น วัดท่าอิฐ นนทบุรี
21. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา
22. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
23. หลวงพ่อจันทร์ วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา
24. หลวงปู่เส็ง วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี
25. หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
พุทธคุณ สายเหนียวไม่ควรพลาด แคล้วคลาดเป็นเลิศ พระดังแห่งนนทบุรี |